การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนเและหลังเรียนวรรณคดีไทย เรื่อง ราชาธิราช ตอน กำเนิดมะกะโทโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT ร่วมกับเกมการศึกษาออนไลน์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบริบาลภูมิเขตต์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4

Main Article Content

วัลลภา ศิริพละ
วนิดา พรมเขต

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังเรียนวรรณคดีไทยเรื่อง ราชาธิราช ตอน กำเนิดมะกะโท ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT ร่วมกับเกมการศึกษาออนไลน์ 2)เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT และเกมการศึกษาออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/2 จำนวน 34 คน ได้มาโดย การสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง ราชาธิราช ตอนกำเนิดมะกะโท โดยใช้เทคนิค TGT และเกมการศึกษาออนไลน์ จำนวน 5 แผน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังเรียนเรื่องราชาธิราช ตอนกำเนิดมะกะโท จำนวน 20 ข้อ ชนิด 4 ตัวเลือก 3)แบบประเมินความพึงพอใจ แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับจำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ ค่าประสิทธิภาพ และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยในครั้งนี้พบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดีไทยเรื่องราชาธิราชตอนกำเนิดมะกะโท ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT และเกมการศึกษาออนไลน์ มีผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนเฉลี่ย 7.5 คิดเป็นร้อยละ 38 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGTและเกมการศึกษาออนไลน์ โดยมีค่าเฉลี่ย 4.8 อยู่ในระดับมากที่สุด

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
ศิริพละ ว., & พรมเขต ว. (2024). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนเและหลังเรียนวรรณคดีไทย เรื่อง ราชาธิราช ตอน กำเนิดมะกะโทโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT ร่วมกับเกมการศึกษาออนไลน์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบริบาลภูมิเขตต์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4. วารสารศิลปะและวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำมูล, 13(2), 28–40. https://doi.org/10.14456/acj.2024.9
บท
บทความวิจัย
Bookmark and Share

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานภาษาไทยชุดภาษาเพื่อชีวิต วรรณคดีลำนำ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. (พิมพ์ครั้งที่ 15). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ สกสค.ลาดพร้าว.

คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ชัชพล ทรงสุนทรวงศ์. (2559). นวัตกรรมการบริการ : กลยุทธ์ที่สร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันขององค์การธุรกิจบริการ. วารสารการจัดการสมัยใหม่, 14(2), 13 - 24.

มนัสรินทร์ บุญญคง. (2561). ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคกลุ่มการแข่งขัน เรื่อง ทวีปอเมริกาเหนือ ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และทักษะการทำงานร่วมกัน ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย สตูล. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ, 11(1), 196 – 211.

มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2564). การอธิบายคุณค่าของเรื่องที่อ่าน [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2566, จาก https://dltv.ac.th/teachplan/episode/39801.

วัชรา เล่าเรียนดี. (2547). เทคนิควิธีการจัดการเรียนรู้สำหรับครูมืออาชีพ. นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วัฒนาพร ระงับทุกข์. (2542). แผนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : คอมพิวเตอร์กราฟฟิค.

วิไลพร อุ่นอกพันธุ์, ทัศนา ประสานตรี, มนตรี อนันตรักษ์. (2557). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่องสมการและการแก้สมการการคิดวิเคราะห์ และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างการจัดการเรียนรู้ แบบ TGT กับ แบบ 4 MAT. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 4(1), 53 - 59.

สมยศ บุญรักษ์. (2563). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาพระพุทธศาสนา เรื่อง วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค TGT. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 3(2), 50 – 59.

สารสิน เล็กเจริญ. (2554). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการสอนโดยการเรียนแบบร่วมมือ เทคนิคTGT กับการสอนแบบปกติ. วิทยานิพนธ์. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สิรีธร ลาพรม, สุทัตตา สินชัย, สุภัสสร เศษจันทร์, วีรวัฒน์ ไทยขำ. (2565). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เกมที่สร้างขึ้นจาก Wordwall เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ทฤษฎีบทพีทาโกรัส ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 14 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, 7 – 8 กรกฎาคม 2565. 2048 – 2057. นครปฐม : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

สุวิทย์ มูลคํา และ อรทัย มูลคํา. (2547). 19 วิธีจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะ. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์ภาพพิมพ์.

หนูฤทธิ์ ราชบุตร และ นพคุณ คุณาชีวะ. (2564). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยเรื่องชนิดและหน้าที่ของคำ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการสอนโดยการเรียนแบบร่วมมือ เทคนิคTGT กับการสอนโดยการเรียนแบบปกติ. วารสารวิชาการ The New Viridian Journal of Arts, Humanities and Social Sciences, 1(2), 45 – 56.

อิสระพงษ์ โสภาใฮ. (2560). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและพฤติกรรมการทำงานกลุ่มโดยใช้การเรียนรู้ด้วยเทคนิค TGT สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนมหาวิชานุกุล. วิทยานิพนธ์. ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการเรียนการสอน. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.