การถวายผ้าพระกฐินประทานจากสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมสนับสนุน และอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีการทอดกฐิน ซึ่งเป็นหน้าที่ของชาวพุทธพร้อมนำหลักธรรมไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสมและถูกต้อง และเพื่อศึกษาระดับการรับรู้การถวายผ้าพระกฐินประทานจากสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ใช้วิธีการดำเนินการวิจัยแบบผสมผสาน ดำเนินการตั้งแต่เดือนกันยายน ถึง เดือนพฤศจิกายน 2566 ใช้สถิติพื้นฐานในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า มีบุคลากรของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์และประชาชนทั่วไปเข้าร่วมกิจกรรมและมีผู้ตอบแบบประเมินจำนวน 116 คน ผลการวิเคราะห์ระดับความรู้ความเข้าใจในโครงการถวายผ้าพระกฐินประทานจากสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ณ วัดพยุงสุข (อภิรักษ์สุขวนาราม) ตำบลโชคนาสาม อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ โดยภาพรวมตอบถูก จำนวน 67 คน คิดเป็นร้อยละ 57.76 และผลการวิเคราะห์ระดับการรับรู้การถวายผ้าพระกฐินประทานจากสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ณ วัดพยุงสุข (อภิรักษ์สุขวนาราม) ตำบล โชคนาสาม อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ โดยภาพรวมมีการรับรู้อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.47) ทั้งนี้ผลการดำเนินงานครั้งนี้ได้สร้างแนวปฏิบัติที่ดีสำหรับการจัดกิจกรรมและเป็นแนวทางสำหรับการนำไปใช้และสามารถบูรณาการร่วมกับกิจกรรมอื่นที่มีลักษณะเดียวกันได้
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ เนื้อหา และข้อมูลที่ลงตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารศิลปะและวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำมูล ถือเป็นทัศนะ ข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความโดยตรง กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และไม่รับผิดชอบในบทความนั้น
บทความทั้งหมดที่เผยแพร่แบบเปิดจะเปิดให้ทุกคนอ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความได้ฟรีทันทีและถาวร อนุญาตให้เข้าถึงได้โดยไม่ต้องขออนุญาตล่วงหน้าจากผู้จัดพิมพ์หรือผู้แต่งและสิ่งพิมพ์ต้นฉบับต้องมีการอ้างอิงอย่างถูกต้องและเหมาะสม
เจ้าของ (สำนักงานศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์) ขอสงวนสิทธิ์ในการขอเปลี่ยนแปลงการตีพิมพ์เผยแพร่ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงระยะเวลาการตีพิมพ์แม้ว่าจะมีการตอบรับแล้วก็ตาม วารสารขอสงวนสิทธิ์ที่จะไม่ตีพิมพ์ผลงานหากการตีพิมพ์ดังกล่าวส่งผลความผิดทางกฎหมายหรือการละเมิดจริยธรรมการตีพิมพ์ผลงานในวารสารวิชาการ และหากวารสารตัดสินใจที่จะไม่เผยแพร่ผลงาน จะไม่มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ (APC) หรือค่าธรรมเนียมอื่นใด และหลังจากที่วารสารการปฏิเสธการตีพิมพ์ ผู้นิพนธ์มีสิทธิ์ที่จะส่งบทความไปยังวารสารอื่นได้
References
จันทร แสงสุวรรณวาว. (2561). สามัคคีธรรม ในงานบุญกฐิน. วารสารวิชาการสถาบันพัฒนาพระวิทยากร, 1(1), 67 – 79.
บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น. 228 หน้า.
พระสมุห์สุรพล สุทธิญาโณ (ดอนเตาเหล็ก). (2562). พลวัตประเพณีการทําบุญกฐินของชาวภูไทในตําบลบุ่งเลิศ อําเภอเมยวดี จังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์. พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. อยุธยา : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ภาณุมาศ ทองสุขศรี. (2560). การศึกษาพฤติกรรมและความพึงพอใจของนักศึกษาและบุคลากร ที่มีต่อการจัดงานกฐินพระราชทานของมหาวิทยาลัยมหิดล. วารสาร Mahidol R2R e-Journal, 4(1), 23 – 42.
ศิลาลัย พัดโบก และ ประดิพัทธุ์ เลิศรุจิดำรงค์กุล. (2565). การศึกษารูปลักษณ์ทางสัญญะในพิธีกรรมทางพุทธศาสนา สู่การสื่อความหมายและการแปรรูปใหม่เพื่อสร้าง มิติทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญา. วารสาร มจร พุทธศาสตร์ปริทรรศน์, 6(3), 133 – 153.
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ปยุตฺโต). (2563). กฐินพระองค์เดียว. นครปฐม : วัดญาณเวศกวัน.
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์. (2566). การประกอบพิธีถวายผ้าพระกฐิน ณ อุโบสถวัดพยุงสุข [ภาพถ่าย]. 18 พฤศจิกายน 2566. สุรินทร์ : วัดบ้านพยุงสุข ตำบลโชคนาสาม อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์.