การพัฒนาความสามารถการอ่านจับใจความสำคัญ โดยใช้เทคนิคบันได 6 ขั้น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านดอนเดื่อ อำเภอสร้างคอม จังหวัดอุดรธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพของแบบฝึกการพัฒนาความสามารถการอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้เทคนิคบันได 6 ขั้นให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/ 80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในการอ่านจับใจความสำคัญ โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้เทคนิคบันได 6 ขั้น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านดอนเดื่อ จำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การอ่านจับใจความสำคัญ โดยใช้เทคนิคบันได 6 ขั้น จำนวน 5 แผน รวม 5 ชั่วโมง และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การอ่านจับใจความสำคัญ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถการอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้เทคนิคบันได 6 ขั้น มีประสิทธิภาพ 84.71/ 82.35 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้วิชาภาษาไทย เรื่อง การอ่านจับใจความสำคัญ โดยใช้เทคนิคบันได 6 ขั้น หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ เนื้อหา และข้อมูลที่ลงตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารศิลปะและวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำมูล ถือเป็นทัศนะ ข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความโดยตรง กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และไม่รับผิดชอบในบทความนั้น
บทความทั้งหมดที่เผยแพร่แบบเปิดจะเปิดให้ทุกคนอ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความได้ฟรีทันทีและถาวร อนุญาตให้เข้าถึงได้โดยไม่ต้องขออนุญาตล่วงหน้าจากผู้จัดพิมพ์หรือผู้แต่งและสิ่งพิมพ์ต้นฉบับต้องมีการอ้างอิงอย่างถูกต้องและเหมาะสม
เจ้าของ (สำนักงานศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์) ขอสงวนสิทธิ์ในการขอเปลี่ยนแปลงการตีพิมพ์เผยแพร่ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงระยะเวลาการตีพิมพ์แม้ว่าจะมีการตอบรับแล้วก็ตาม วารสารขอสงวนสิทธิ์ที่จะไม่ตีพิมพ์ผลงานหากการตีพิมพ์ดังกล่าวส่งผลความผิดทางกฎหมายหรือการละเมิดจริยธรรมการตีพิมพ์ผลงานในวารสารวิชาการ และหากวารสารตัดสินใจที่จะไม่เผยแพร่ผลงาน จะไม่มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ (APC) หรือค่าธรรมเนียมอื่นใด และหลังจากที่วารสารการปฏิเสธการตีพิมพ์ ผู้นิพนธ์มีสิทธิ์ที่จะส่งบทความไปยังวารสารอื่นได้
References
จุไรรัตน์ ลักษณะศิริ และ บาหยัน อิ่มสำราญ. (2548). ภาษากับการสื่อสาร. กรุงเทพฯ : คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พิชชาอร มินทยักษ์ และ น้ำทิพย์ องอาจวาณิชย์. (2566). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์การอ่านจับใจความสําคัญด้วยการจัดการเรียนรู้รูปแบบการอ่านด้วยเทคนิคบันได 6 ขั้น ร่วมกับแบบฝึกหัดออนไลน์บนแพลตฟอร์มไลฟ์เวิร์กชีตสําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 10(1), 27 - 40.
ฤดี กมลสวัสดิ์. (2564). สื่อการเรียนการสอนสำหรับครูภาษาไทยยุคใหม่. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.
วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. (2553). นวัตกรรมตามแนวคิดแบบ Backward Design. มหาสารคาม : ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สุนันทา มั่นเศรษฐวิทย์. (2545). หลักและวิธีการสอนอานภาษาไทย. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.
สุรศักดิ์ แย้มอุ่ม. (2564). การวิจัยในชั้นเรียนที่มุ่งพัฒนาสมรรถนะการอ่านด้วยเทคนิคบันได 6 ขั้น ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านอ่างทอง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วิทยานิพนธ์. ครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาภาษาสันสกฤต. เพชรบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.
เสกสันต์ ผลวัฒนะ. (2564). คู่มือฝึกอบรมพัฒนาสมรรถนะการอ่านขั้นสูงสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.