การออกแบบสื่อดิจิทัลสำหรับศูนย์การเรียนรู้สมุนไพรและภูมิปัญญาสุขภาพชุมชน บ้านศาลาดิน ตำบลมหาสวัสดิ์ อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม

พรพิมล ศักดา
Thailand
https://orcid.org/0009-0006-1885-6108
วรารัตน์ วัฒนชโนบล
Thailand
https://orcid.org/0009-0009-5205-8144
คำสำคัญ: สื่อดิจิทัล, ศูนย์การเรียนรู้, บ้านศาลาดิน
เผยแพร่แล้ว: เม.ย. 27, 2025

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและออกแบบสื่อดิจิทัลสำหรับศูนย์การเรียนรู้สมุนไพรและภูมิปัญญาสุขภาพชุมชนบ้านศาลาดิน ประเมินความเหมาะสม และประเมินความพึงพอใจสื่อดิจิทัลสำหรับศูนย์การเรียนรู้ ด้วยวิธีการวิจัยแบบผสมผสาน มีวิธีดำเนินการวิจัย ได้แก่ ศึกษาบริบทและอัตลักษณ์ของพื้นที่จากเอกสาร การสัมภาษณ์  และการสำรวจพื้นที่ เพื่อวิเคราะห์โจทย์การออกแบบ กำหนดองค์ประกอบกราฟิกทางทัศนศิลป์และการออกแบบ สร้างแนวคิดการออกแบบ และออกแบบสื่อดิจิทัลสำหรับศูนย์การเรียนรู้ โดยผู้แทนชุมชน และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน เข้ามามีส่วนร่วมให้ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ และประเมินความเหมาะสม เพื่อการปรับปรุงผลงาน จากนั้นทำการประเมินความพึงพอใจ โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากตัวอย่าง จำนวน 115 คน ด้วยการเลือกแบบบังเอิญ วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เพื่อแปลผลระดับความพึงพอใจ ผลการวิจัย พบว่า การออกแบบชุดสื่อดิจิทัล ได้ประยุกต์ใช้โทนสีหลักจากอัตลักษณ์ชุมชน คือ สีเขียวบัวหลวง และสีน้ำตาลข้าวตังและเรือมาด ผลงานออกแบบประกอบด้วย ตราสัญลักษณ์ การ์ตูนคาแรคเตอร์ดีไซน์ ระบบป้าย นิทรรศการ งานตกแต่ง และสื่อการเรียนรู้ โดยผลงานการออกแบบชุดสื่อดิจิทัล มีความเหมาะสมระดับมากที่สุดทุกด้าน (Mean = 4.77, S.D. = 0.42) และมีความพึงพอใจระดับมากที่สุด (Mean = 4.64, S.D. = 0.51) ซึ่งได้มีข้อเสนอแนะเพิ่มเติม คือ ควรเพิ่มเนื้อหาของพืชสมุนไพรที่พบได้ทั่วไปในชีวิตประจำวัน และการใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือนและความเป็นจริงเสริมเข้ามาช่วยเสริมการจำลองการเดินชมสวนสมุนไพร หรือการแสดงวิธีการใช้สมุนไพรแบบ 3 มิติ และควรมีคู่มือการบำรุงรักษาศูนย์การเรียนรู้ เพื่อช่วยทำให้ให้ชุมชนสามารถดูแลรักษาและซ่อมแซมเบื้องต้นได้ด้วยตนเอง

Downloads

Article Details

How to Cite

ศักดา พ., & วัฒนชโนบล ว. (2025). การออกแบบสื่อดิจิทัลสำหรับศูนย์การเรียนรู้สมุนไพรและภูมิปัญญาสุขภาพชุมชน บ้านศาลาดิน ตำบลมหาสวัสดิ์ อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม. วารสารศิลปะและวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำมูล, 14(1), 57–71. https://doi.org/10.14456/acj.2025.5

บท

บทความวิจัย

หมวดหมู่

References

ชไมพร ดิสถาพร, สุมลนิตย์ เกิดหนุนวงศ์, กัมปนาท บริบูรณ์, มิ่งขวัญ คงเจริญ, และ ชนันภรณ์ อารีกุล. (2564). การพัฒนาแหล่งการเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้. เอกสารประกอบการสอน. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์. (2565). การพัฒนาสื่อสังคมออนไลน์ ผลิตภัณฑ์ไข่เค็มคุณป้า ชุมชนบ้านศาลาดิน นครปฐม. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 4(2), 29 – 44.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2563). การวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS (พิมพ์ครั้งที่ 18). เอส อาร์ พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.

นุพงษ์ กองพิมพ์. (2563). ศึกษาอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมชุมชนบ้านขาว อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา เพื่อจัดทำเส้นทางท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์]. PSU Knowledge Bank. https://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17689.

พรพิมล ศักดา. (2561). องค์ประกอบศิลป์. เอกสารประกอบการสอน. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.

พรรคพล เจรณาเทพ. (2565). เทคโนโลยีการสร้างสรรค์สื่อดิจิทัล. มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์. https://library.wu.ac.th/km/เทคโนโลยีการสร้างสรรค์.

พีรยา บุญประสงค์. (2562). อัตลักษณ์ของถิ่นที่ในกระบวนการเปลี่ยนแปลงการใช้สอยของอาคารเก่าในเขตเมืองเก่า. Journal of Architectural/Planning Research and Studies, 16(2), 31 – 48. https://doi.org/10.56261/jars.v16i2.175256.

วงศ์วรุตม์ อินตะนัย, พีรพงษ์ พันธะศรี, และ บัญชา จุลุกุล. (2564). การออกแบบสื่อประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โดยมีแรงบันดาลใจจากวิถีชีวิต ภูมิปัญญาท้องถิ่น และอัตลักษณ์ของการแสดงพื้นบ้านที่ปรากฏในพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา. วารสารวิชาการ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 8(1), 124 – 140.

วรพงศ์ ผูกภู่. (2563). องค์ประกอบการพัฒนาแหล่งการเรียนรู้. อาร์แอนด์ดี ครีเอชั่น.https://www.randdcreation.com/content/2992.

วัชรียา ขลากระโทก. (2565). โครงการออกแบบอัตลักษณ์องค์กรพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านหนองบัวโคก อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

ศิริลักษณ์ เมฆอ่อน และ มนสิชา เพชรานนท์. (2556). ผลกระทบการท่องเที่ยวต่ออัตลักษณ์ชุมชน : กรณีศึกษาชุมชนแหล่งท่องเที่ยวอัมพวา. วารสารสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย, 12(2), 1 – 19.

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2550). อัตลักษณ์. http://legacy.orst.go.th/?knowledges=อัตลักษณ์-๑๖-มิถุนายน-๒๕.

สิริลักษณ์ พฤทธิอานันต์. (2559). การออกแบบอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงไทยอย่างยั่งยืน [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร]. Silpakorn University Repository. https://sure.su.ac.th/xmlui/handle/123456789/14439

สุพัตรา คำแหง, จิราภรณ์ ถมแก้ว, หยาดพิรุฬห์ พิทักษ์ศักดานนท์, อมรรัตน์ ธนาวุฒิ, และ นารียา แข็งแรง. (2561). การสร้างผู้ประกอบการใหม่ภายใต้อัตลักษณ์ชุมชน. วารสารศาสตร์การศึกษาและการพัฒนามนุษย์, 2(2), 121 - 130.

สุริยะ ฉายะเจริญ. (2557). (พื้นฐานของ) “สื่อ” ดิจิทัล. https://jumpsuri.blogspot.com/2014/02/blog-post_8390.html.

สุวุฒิ วรวิทย์พินิต, วรรณวีร์ บุญคุ้ม, และนรินทร์ สังข์รักษา. (2560). การพัฒนารูปแบบการจัดการศูนย์การเรียนรู้วิถีเมืองเพชรตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, Silpakorn University สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ, 10(2), 1657 - 1674.

อาวิน อินทรังษี. (2564). โครงการออกแบบอัตลักษณ์เพื่อสร้างมูลค่าให้กับแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชนตลาดน้ำยะกังอำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส. The New Viridian Journal of Arts, Humanities and Social Sciences, 1(2), 1 - 17.