ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการสำรวจข้อมูลพรรณไม้ให้สีสำหรับย้อมผ้าไหมในจังหวัดสุรินทร์

วนมพร พาหะนิชย์
Thailand
สุพัตรา วะยะลุน
Thailand
https://orcid.org/0009-0004-8449-8228
คำสำคัญ: การสำรวจพรรณไม้ให้สีธรรมชาติ, แอพชีต, โนโค้ดแอปพลิเคชัน, ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
เผยแพร่แล้ว: เม.ย. 29, 2025

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการสำรวจข้อมูลพรรณไม้ให้สีธรรมชาติในจังหวัดสุรินทร์ด้วยโนโค้ดแอปพลิเคขัน และหาประสิทธิภาพของระบบ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ สำหรับสำรวจความหนาแน่นและพิกัดของแหล่งพรรณไม้ให้สีธรรมชาติในชุมชนตามแนวคิด         เอสดีแอลซี 7 ขั้นตอน แพลตฟอร์มที่ใช้ในการพัฒนา คือ แอพชีตและใช้ฐานข้อมูล คือ กูเกิลชีต กลุ่มตัวอย่าง มี 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มผู้ให้ข้อมูล และตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลพรรณไม้ ได้แก่ ภูมิปัญญาชาวบ้าน ช่างทอผ้า และผู้เชี่ยวชาญด้านวิชาการ จำนวน 3 ท่าน โดยทำการคัดเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง 2) กลุ่มผู้ประเมินประสิทธิภาพของระบบ ได้แก่ ตัวแทนชุมชน นักวิชาการจากสถาบันอุดมศึกษาจำนวน 5 ท่าน ซึ่งทำการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง และ 3) กลุ่มผู้ใช้งาน 30 คน ได้แก่ นักศึกษาจำนวน 10 คน และกลุ่มผู้นำชุมชน จำนวน 20 คน ซึ่งคัดเลือกด้วยวิธีการ      สุ่มอย่างง่าย นอกจากนี้เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินประสิทธิภาพ และแบบประเมินความพึงพอใจ ซึ่งค่ามีความเชื่อมั่น 0.85 นอกจากนี้ได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูล โดยสถิติพรรณนา ค่าเฉลี่ย      ส่วนเบนมาตรฐาน โดยผลการศึกษาพบว่า ชุมชนสามารถบันทึกข้อมูลพรรณไม้ให้สีธรรมชาติ สามารถระบุตำแหน่งที่ตั้ง ถ่ายภาพ ส่วนของพรรณไม้ให้สี สีที่ได้ วิธีการสกัดและย้อมผ้า และรายละเอียดผู้เก็บข้อมูล ในระบบสามารถเพิ่ม ลบ แก้ไข ค้นหา และรายงานข้อมูลแบบเรียลไทม์ได้ จากการประเมินประสิทธิภาพของระบบจากผู้เชี่ยวชาญและค่าเฉลี่ยความพึงพอใจของผู้ใช้งานในภาพรวมอยู่ในระดับดีมากมีค่าเฉลี่ย 4.55 และ 4.75 ตามลำดับ สรุปได้ว่าระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์นี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อการจัดการฐานข้อมูลพรรณไม้ให้สีธรรมชาติ ซึ่งจำเป็นมากสำหรับชุมชน  ทอผ้าไหมสีธรรมชาติ เพราะปัจจุบันทรัพยากรดังกล่าวต่างก็ลดน้อยถอยลงไปเป็นจำนวนมาก. ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีประโยชน์อย่างยิ่งในการแสดงฐานข้อมูลพิกัดพรรณไม้ให้สีธรรมชาติที่ยังคงอยู่ในชุมชน. แดชบอร์ดรายงานความหนาแน่นของพรรณไม้ให้สีธรรมชาติ เป็นสารสนเทศที่ช่วยในการตัดสินใจเพื่อให้ชุมชนสามารถนำไปวางแผนส่งเสริมการปลูกทดแทน และอนุรักษ์ไว้ให้คงอยู่กับชุมชนได้ต่อไป

Downloads

Article Details

How to Cite

พาหะนิชย์ ว., & วะยะลุน ส. (2025). ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการสำรวจข้อมูลพรรณไม้ให้สีสำหรับย้อมผ้าไหมในจังหวัดสุรินทร์. วารสารศิลปะและวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำมูล, 14(1), 143–158. https://doi.org/10.14456/acj.2025.11

บท

บทความวิจัย

หมวดหมู่

References

กรมหม่อนไหม. (ม.ป.ป). สารานุกรมและศัพท์หม่อนไหม. https://www.qsds.go.th/encyclopedia/main.php?

พรวนา รัตนชูโชค. (2563). ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อจัดการข้อมูลพรรณไม้และแสดงข้อมูลพรรณไม้ด้วยเทคโนโลยีคิวอาร์โค้ดในพื้นที่สวนรุกขชาติห้วยแก้ว. วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้, 12(1), 160 – 172. https://doi.org/10.14456/jstel.2021.12.

พุฒพรรณี ศีตะจิตต์. (2550). การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อจัดทําฐานข้อมูลอาคารและสิ่งก่อสร้างที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ในเทศบาลนครภูเก็ต. วารสารการวิจัยและการศึกษาสถาปัตยกรรม/การวางแผน, 5(2), 25 - 40. https://doi.org/10.56261/jars.v5i2.169150.

สมชญา ศรีธรรม, วสา วงศ์สุขแสวง, และ ประดิภา ปานสันเทียะ. (2563). ความหลากชนิดของไม้ต้นและการใช้ประโยชน์ด้านการให้สีย้อมธรรมชาติ : กรณีศึกษาป่าชุมชนในจังหวัดสุรินทร์. วารสารเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี, 1(2), 17 - 32.

สหัสวรรษ งามทรง, สวรินทร์ ฤกษ์อยู่สุข, และ สอาด วงศ์ใหญ่. (2564). การสร้างโมบายแอปพลิเคชันแบบไม่ต้องเขียนโปรแกรมเพื่อการสํารวจข้อมูลจากภาคสนามสำหรับงานบริหารจัดการภาษีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสารวิชาการเพื่อการพัฒนานวัตกรรมเชิงพื้นที่, 2(3), 57 – 58.

สํานักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสุรินทร. (2565, 23 พฤษภาคม). สีสันของธรรมชาติ ลดเคมีลดต้นทุน เพิ่มมูลค่า[Video]. YouTube. https://www.youtube.com/watch?v=KPKWiYaFQcg&t=1s.

อัตภาพ มณีเติม, นวรัตน์ ประทุมตา, และ วัชรีย์ กิ่งทอง. (2563). การพัฒนาระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์แหล่งเพาะปลูกพืชและไม้ผลเพื่อการผลิตอาหารและการท่องเที่ยวเชิงเกษตร จังหวัดเพชรบุรี. วารสารวิทยาการสารสนเทศและเทคโนโลยีประยุกต์, 2(1), 1 – 18. https://doi.org/10.14456/jait.2020.1.

โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์. (2560). การวิเคราะห์และออกแบบระบบ (ฉบับปรับปรุงเพิ่มเติม). ซีเอ็ดยูเคชั่น.

Appsheet. (n.d). Supercharge Your Work with No-code. https://about.appsheet.com/home.

Chang, A. Y., Parrales, M. E., Jimenez, J., Sobieszczyk, M. E., Hammer, S. M., Copenhaver, D. J., & Kulkarni, R. P. (2009). Combining Google Earth and GIS Mapping Technologies in a Dengue Surveillance System for Developing Countries. International Journal of Health Geographics, 8(1), 49. https://doi.org/10.1186/1476-072X-8-49.

Google Sheets. (n.d.). Collaborative Spreadsheets Online. https://workspace.google.com/products/sheets.id_group=3&tagW=&pagesizeW=5&pageW=2#jquerytabs2-page-1.

Likert, R. (1932). A Technique for the Measurement of Attitudes. Archives of Psychology, 140, 1 – 55.

Looker Studio. (n.d.). Looker Studio, Your Data is Beautiful, Use It. https://lookerstudio.google.com/overview.