การศึกษาการรับรู้วัฒนธรรมอาหารพื้นเมืองจังหวัดสุรินทร์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
จังหวัดสุรินทร์เป็นจังหวัดหนึ่งที่มีเสน่ห์ด้านอาหารพื้นเมืองเนื่องจากติดบริเวณชายแดนระหว่างประเทศไทยและประเทศกัมพูชา อาหารพื้นเมืองในจังหวัดสุรินทร์ จึงมีคุณค่า และมีความหลากหลายทางภูมิปัญญา วัฒนธรรม กลุ่มชาติพันธุ์ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาการรับรู้วัฒนธรรมอาหารพื้นเมืองจังหวัดสุรินทร์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ 2. เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อการรับรู้วัฒนธรรมอาหารพื้นเมืองจังหวัดสุรินทร์ และ 3. เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการบริโภคอาหารพื้นเมืองจังหวัดสุรินทร์ที่ส่งผลต่อการรับรู้วัฒนธรรมอาหารพื้นเมืองจังหวัดสุรินทร์ ทำการศึกษาโดยใช้กลุ่มตัวอย่าง นักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ที่ลงทะเบียนเรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 377 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ โดยใช้แบบสอบถาม และวิเคราะห์ค่าสถิติโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าทดสอบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า การรับรู้วัฒนธรรมอาหารพื้นเมืองจังหวัดสุรินทร์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ โดยรวมอยู่ในระดับ มาก ผลการเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า เพศ และภูมิลำเนา ที่แตกต่างกันมีผลต่อการรับรู้วัฒนธรรมอาหารพื้นเมืองจังหวัดสุรินทร์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และผลการเปรียบเทียบพฤติกรรมการบริโภคอาหารพื้นเมืองจังหวัดสุรินทร์ที่ พบว่า พฤติกรรมการเคยทาน เคยทำ และเคยขายอาหารพื้นเมืองจังหวัดสุรินทร์ที่แตกต่างกันมีผลต่อการรับรู้วัฒนธรรมอาหารพื้นเมืองจังหวัดสุรินทร์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ เนื้อหา และข้อมูลที่ลงตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารศิลปะและวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำมูล ถือเป็นทัศนะ ข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความโดยตรง กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และไม่รับผิดชอบในบทความนั้น
บทความทั้งหมดที่เผยแพร่แบบเปิดจะเปิดให้ทุกคนอ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความได้ฟรีทันทีและถาวร อนุญาตให้เข้าถึงได้โดยไม่ต้องขออนุญาตล่วงหน้าจากผู้จัดพิมพ์หรือผู้แต่งและสิ่งพิมพ์ต้นฉบับต้องมีการอ้างอิงอย่างถูกต้องและเหมาะสม
เจ้าของ (สำนักงานศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์) ขอสงวนสิทธิ์ในการขอเปลี่ยนแปลงการตีพิมพ์เผยแพร่ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงระยะเวลาการตีพิมพ์แม้ว่าจะมีการตอบรับแล้วก็ตาม วารสารขอสงวนสิทธิ์ที่จะไม่ตีพิมพ์ผลงานหากการตีพิมพ์ดังกล่าวส่งผลความผิดทางกฎหมายหรือการละเมิดจริยธรรมการตีพิมพ์ผลงานในวารสารวิชาการ และหากวารสารตัดสินใจที่จะไม่เผยแพร่ผลงาน จะไม่มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ (APC) หรือค่าธรรมเนียมอื่นใด และหลังจากที่วารสารการปฏิเสธการตีพิมพ์ ผู้นิพนธ์มีสิทธิ์ที่จะส่งบทความไปยังวารสารอื่นได้
References
กชนิภา อุดมทวี, โศภิษฐ์ เวทยสุภรณ์, น้องนุช สารภี, จุฑามาส อยู่มาก, ปิยรัตน์ มีแก้ว. (2564). ความหลากหลายของปลาหมักพื้นบ้านกลุ่มชาติพันธุ์ไทย-ลาว ไทย-เขมร และไทย-กูยในจังหวัดสุรินทร์. วารสาร PSRU Journal of Science and Technology, 6(3), 60 - 75.
เกศณีย์ สัตตรัตนขจร, สนธิญา สุวรรณราช, กาญขนา คุมา. (2563). การพัฒนาอาหารท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วมเพื่อหนุนเสริม การท่องเที่ยวสร้างสรรค์เชิงวัฒนธรรมของจังหวัดลำปาง. วารสารอารยธรรมศึกษา โขง-สาละวิน, 11(1), 153 - 173.
คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ. (2544). วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญาจังหวัดสุรินทร์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
ชลิตา แย้มศรีสุข, จีรณา จินดาพล, อัญญาณี ลีลา. (2563). กระบวนการกลายเป็นสินค้าของอาหารพื้นเมือง : ภูเก็ตสู่การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหาร. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง, 9(1), 142 - 153.
ชูชัย สมิทธิไกร. (2556). พฤติกรรมผู้บริโภค. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทิพย์วดี โพธิ์สิทธิพรรณ และอภิไทย แก้วจรัส. (2564). พฤติกรรมและการรับรู้ของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ที่มีต่ออาหารพื้นถิ่นของจังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี, 17(4), 34 - 46.
บุญชม ศรีสะอาด. (2543). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
เปลวเทียน เจษฎาชัยยุทธ์ และอมรฉัฐ เสริมชีพ. (2564). “ไค” พืชภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่การกลายเป็นอาหารอัตลักษณ์ในเมืองมรดกโลกหลวงพระบาง และผลกระทบจากการพัฒนา. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 29(2), 139 - 159.
เพียงใจ ใจไว. (2557). การรับรู้และพฤติกรรมการบริโภคตามกระแสเกาหลีนิยมของประชาชนในเขตเทศบาลนครลำปาง อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยเนชั่น.
สมนึก รัตนกำเหนิด. (2557). อาหารพื้นเมือง : ซันลอตราวด๊ะไตรยอัง (แกงเผือกใส่ปลาย่าง). วารสารศิลปะและวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำมูล, 9(1), 118 - 120.
สมนึก รัตนกำเหนิด. (2558ก). อาหารพื้นเมือง : เบ๊าะเมือนด๊ะสวาย (ตาไก่ใส่มะม่วง). วารสารศิลปะและวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำมูล, 10(1), 120 - 122.
สมนึก รัตนกำเหนิด. (2558ข). อาหารพื้นเมือง : เบ๊าะตร๊อบจังกอม (ตำมะเขือพวง). วารสารศิลปะและวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำมูล, 10(2), 117 - 118.
เสรี วงษ์มณฑา. (2542). การวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ : ธรรมสาร.
อมรรัตน์ ยุวกุลกำธร. (2559). พฤติกรรมการบริโภคอาหารเจและความต้องการใช้บริการอาหารเจจัดส่งแบบถึงที่ในช่วงเทศกาลกินเจของผู้บริโภค ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี. การศึกษาอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ : มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.
อัศวิน แสงพิกุล. (2556). ระเบียบวิธีวิจัยด้านการท่องเที่ยวและการโรงแรม. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
Bryła, P. (2020). Who Reads Food Labels? Selected Predictors of Consumer Interest in Front-of-Package and Back-of-Package Labels during and after the Purchase. Nutrients, 12(9), 1 - 20. https://doi.org/10.3390/nu12092605
Chakraborty, J. S., Parida, B. R., Singh, N. (2021). Future Food Sustainability Can Be Traced Back into Local People’s Socio-Cultural Roots in Uttarakhand Himalaya, India. Sustainability, 13, 1 - 18. https://doi.org/10.3390/su13137060.