การศึกษาพิธีกรรมความเชื่อหมอช้างของกลุ่มชาวไทยกูย จังหวัดสุรินทร์

Main Article Content

พระอำนวย มงฺคลิโก
พระอนุชา อภิชาโน
ธีรชัย สมใจ
ยโสธารา ศิริภาประภากร
เกริกวุฒิ กันเที่ยง
สุริยา คลังฤทธิ์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและหาแนวทางการอนุรักษ์พิธีกรรมแซนปะกำช้างของชาวไทยกูย อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ โดยกลุ่มเป้าหมายเป็นชุมชนชาวไทยกูยที่อยู่บ้านตากลาง ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ ผลการศึกษา พบว่า วิถีชีวิตของกลุ่มชนชาวไทยกูยนี้มีความเชื่อในอำนาจเหนือธรรมชาติและดวงวิญญาณบรรพบุรุษด้วย ได้ปรากฏพิธีกรรมของกลุ่มชนเรียกว่า “พิธีแกลมอ” เป็นพิธีสื่อสารดวงวิญญาณมีสัญลักษณ์ในพิธี และรูปแบบในพิธีที่มีความเกี่ยวข้องกับควาญช้าง และเส้นปะกำช้างที่ปรากฏบนศีรษะของผู้เข้าในพิธี จนกลายเป็นอัตลักษณ์ของชาวไทยกูย ความเกี่ยวข้องกับช้าง คือ การเลี้ยงและการฝึกช้าง โดยจะต้องมีความเชื่ยวชาญ ได้แก่  1) การจับช้าง 2) ทำเครื่องมือที่เกี่ยวกับช้าง 3) การประกอบพิธีกรรม 4) การฝึกบังคับช้าง 5) การทำนายลักษณ์ของช้าง และ 6) การรักษาด้วยพืชสมุนไพร สำหรับพิธีกรรมแซนปะกำช้างเป็นพิธีกรรมเซ่นไหว้ที่มีการสืบทอดมานานโดยเชื่อว่าจะทำให้ความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงานและมีความโชคดี แนวทางการอนุรักษ์ พบว่า 1) ควรมีการส่งเสริมให้มีฐานข้อมูลบริการความรู้แก่นักท่องเที่ยวและผู้สนใจ 2) ควรรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับพิธีกรรมและความเชื่อต้องบริการให้ความรู้แก่นักท่องเที่ยว 3) ควรมีการจัดความร่วมมือในชุมชน ได้แก่ ชุมชน โรงเรียน และวัด 4) จัดกิจกรรมเสริมความรู้ 5) จัดกิจกรรมนำเสนอเรื่องราวและวิถีชาวกูยเพื่อสร้างความภาคภูมิใจแก่ชุมชน 6) จัดทำหลักสูตรท้องถิ่นเพื่อสอนในชั้นเรียน 7) จัดกิจกรรมแซนปะกำช้างให้ขึ้นมีพื้นที่และสร้างนวัตกรรมทางความเชื่อที่ได้จากช้าง เป็นต้น

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิชาการ
Bookmark and Share

References

กฤษนันท์ แสงมาศ และ ยโสธารา ศิริภาประภากร. (2562). พิธีแซนอาหยะจูยประจำปีของปราสาทบ้านโพธิ์ศรีธาตุ ตำบลเกาะแก้ว อำเภอสำโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์. วารสารวิชาการ มจร บุรีรัมย์, 4(1), 110 - 124.

ทิตยาวดี อินทรางกูร, ยโสธารา ศิริภาประภากร, สำเริง อินทยุง, สุริยา คลังฤทธิ์. (2562). “พิธีแซนกะโมจ” กับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์บนรากฐานทางวัฒนธรรมของกลุ่มชนชาวไทยกูย จังหวัดสุรินทร์. ใน การประชุมสัมมนาวิชาการระดับชาติ “เวทีวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมศึกษา ครั้งที่ 2”, 23 สิงหาคม 2562. 383 - 388. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ธีรชัย สมใจ. (2565). โครงการศึกษาพิธีกรรมความเชื่อหมอช้างของกลุ่มชาวไทยกูย จังหวัดสุรินทร์ [ภาพถ่าย]. 16 มีนาคม 2565. สุรินทร์ : บ้านตากลาง ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์.

พระครูพิมลกัลยาณธรรม กลฺยาโณ. (2563). การอนุรักษ์พิธีกรรมแซนปะกำช้างของชาวกูย อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 8(2), 711 - 725.

ยโสธารา ศิริภาประภากร และ สนอง สุขแสวง. (2563). บทบาทของ “กรูช้าง” จังหวัดสุรินทร์. ใน การประชุมสัมมนาวิชาการระดับชาติ “เวทีวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมศึกษา ครั้งที่ 3”, 14 สิงหาคม 2563. 198 - 205. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ยโสธารา ศิริภาประภากร, สุพัตรา วะยะลุน, พระวัชระ วชิรญาโน. (2562). “ประกำปลอ” ความสัมพันธ์ในการประกอบพิธีกรรมสำคัญในกลุ่มชาวไทยกูย [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 22 สิงหาคม 2565, จาก http://www.qasurin.mcu.ac.th/wp-content/uploads/2019/02/บทความ-ประกำปลอ-ดร.ยโสธารา.pdf.

ยโสธารา ศิริภาประภากร. (2560). ปะกำช้าง : ความเชื่อในพลังศักดิ์สิทธิ์ของกลุ่มชาวไทยกูยในจังหวัดสุรินทร์. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ มจร วิทยาเขตแพร่, 3(2), 77 – 86.

วริศรา โกรทินธาคม. (2565). ตำนานครูปะกำ : การบอกเล่ามูลเหตุกำเนิดสรรพสิ่งและตำราพฤฒิบาศ. วารสารดำรงวิชาการ, 21(1), 91 - 114.

สุขใจ สมพงษ์พันธุ์. (2555). นิเวศวัฒนธรรมในวิถีชีวิตชาวกูยเลี้ยงช้างจังหวัดสุรินทร์. วารสารศิลปะและวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำมูล, 7(1), 65 - 75.

สุทัศน์ กองทรัพย์. (2558). วิถีชีวิตคนกับช้างเมืองสุรินทร์. วารสารศิลปะและวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำมูล, 10(2), 8 - 12.

สุริยา คลังฤทธิ์, ยโสธารา ศิริภาประภากร, ฉัตราภรณ์ จันทร์แจ่มธารี. (2562). การจัดการส่งเสริมการท่องเที่ยวกลุ่มชาวกูย. วารสารวิจัยวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 3(1), 52 – 53.

อัชราพร สุขทอง. (2554). การพัฒนานาฏกรรมคล้องช้าง โดยการถอดความจากกระบวนการคล้องช้างของชาติพันธุ์กูยในจังหวัดสุรินทร์. วารสารศิลปะและวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำมูล, 6(1), 50 - 58.