การสร้างแนวทางการประเมินศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเมืองเก่าลำพูน

ผู้แต่ง

  • ยุทธศักดิ์ ฉัตรแก้วนภานนท์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ทรงสุข บุญทาวงค์ มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น

คำสำคัญ:

ศักยภาพเชิงพื้นที่, การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม, ทรัพยากรหลักสำหรับการท่องเที่ยว, สิ่งประกอบสร้างเพื่อการท่องเที่ยว, การขับเคลื่อนการท่องเที่ยว

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นการนำเสนอ “แนวทางการประเมินศักยภาพพื้นที่” เพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ซึ่งเป็นการเตรียมเครื่องมือสำหรับใช้ในการประเมินศักยภาพเพื่อการยกระดับการท่องเที่ยวจากเชิงศาสนาไปสู่เชิงวัฒนธรรมของพื้นที่เมืองเก่าลำพูน โดยสร้างแนวทางการวิเคราะห์ศักยภาพพื้นที่ผ่านการวิเคราะห์แนวคิดการประเมินพื้นที่ขั้นพื้นฐาน 5As ร่วมกับขีดความสามารถทางด้านการตลาดของพื้นที่ จากนั้นจึงทำการสังเคราะห์ร่วมกับรูปแบบ
การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เพื่อให้ได้แนวทางการประเมินศักยภาพที่แท้จริงของพื้นที่ บทความนี้นำเสนอแนวทางการประเมินพื้นที่เพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เป็น 3 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มทรัพยากรหลักสำหรับการท่องเที่ยว 2) กลุ่มสิ่งประกอบสร้างเพื่อการท่องเที่ยว และ 3) กลุ่มการขับเคลื่อนการท่องเที่ยว โดยกลุ่มที่ 1 คือ “ผลิตภัณฑ์หลัก” ที่รวมถึงทรัพยากรและกิจกรรมต่าง ๆ ในพื้นที่ที่สามารถยกระดับไปสู่ทรัพยากรการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ที่สามารถสร้าง “ประสบการณ์ด้านวัฒนธรรม” ให้แก่นักท่องเที่ยว กลุ่มที่ 2 คือ “ผลิตภัณฑ์เสริม” หรือสิ่งประกอบสร้างที่สะท้อนศักยภาพการเป็นจุดหมายการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ที่สามารถสร้าง “ประสบการณ์การท่องเที่ยว” ในพื้นที่ให้กับนักท่องเที่ยวได้ และกลุ่มที่ 3 เป็นการอธิบายถึงองค์ประกอบที่ช่วยให้พื้นที่นั้นสามารถเป็นจุดหมายการท่องเที่ยวได้ และทำให้กลุ่มเป้kหมายกลายมาเป็นนักท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมได้สำเร็จ

References

จังหวัดลำพูน. (2561). ลำพูน-เสน่ห์แห่งล้านนา-"เมืองต้องห้าม"...พลาด. ค้นเมื่อ ธันวาคม 4, 2564, จาก http://www.lamphun.go.th

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. (2540). การท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

เทศบาลเมืองลำพูน. (2560). เอกสารสรุปการพัฒนาเมืองเก่าลำพูน. ลำพูน: กองวิชาการและแผนงาน เทศบาลเมืองลำพูน.

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2555). การจัดการด้านการตลาดอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. นนทบุรี: พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

มิ่งสรรพ์ ขาวสะอาด และคมสัน สุริยะ. (2551). รายงานการวิจัยการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงบูรณาการที่ยั่งยืนในลุ่มแม่น้ำโขง. เชียงใหม่: สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สรัสวดี อ๋องสกุล. (2554). ประวัติศาสตร์ล้านนา (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: อมรินทร์

สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. (2535). วัฒนธรรมกับการเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ.

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2553). แผนแม่บทและผังแม่บทการอนุรักษ์และพัฒนาบริเวณเมืองเก่าลำพูน. กรุงเทพฯ: กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

สุบัน พรเวียง และคณะ. (2560). รายงานการวิจัยการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างยั่งยืนของชาวกะเหรี่ยงบ้านวุ้งกะสัง จังหวัดกำแพงเพชร. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม.

ห้าวหาญ ทวีเส้ง และคณะ. (2563). ศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์จังหวัดสตูล. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย, 15 (1), 1-16.

Ageeva, E. & Foroudi, P. (2019). Tourists' destination image through regional tourism: From supply and demand sides perspectives. Journal of Business Research, 101, 334-348.

Armstrong, G. & Kotler, P. (2009). Marketing, an introduction (9th ed.). New Jersey: Pearson Prentice Hall.

Chatkaewnapanon, Y. (2012), A tourism history of Koh Samui: Change and adaptation in the tourism period. Saarbrucken: Lambert Academic Publishing.

Chatkaewnapanon, Y. et al. (2017). The place identity and the attractiveness of rural Thailand: An approach for sustainable tourism development of Mae Klang Luang in Northern Thailand. International Journal of Asian Social Science, 7 (9), 708-717.

Dickman, S. (1996). Tourism: An introductory text. Sydney: Hodder Education.

Kotler, P. (1997). Marketing management: analysis, planning implementation and control. (9th ed.). New Jersey: Asimmon & Schuster

Kotler, P. (2003). Marketing management (11th ed.). Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall.

Fill, C. (1999). Marketing communications: Contexts, contents and strategies. (2nd Ed.). Barcelona, Spain: Prentice-Hall, Europe.

Formica, S. (2000). Destination attractiveness as a function of supply and demand interaction, Unpublished Doctoral Dissertation, the Virginia Polytechnic Institute and State University, Virginia.

Gardener, E. & Trivedi, M. (1998). A communications framework to evaluate sales promotion strategies. Journal of Advertising Research, 38, 67-71.

Hanpachern, R. & Chatkaewnapanon, Y. (2013). Understanding a tourist destination: tourism history approach. International Journal of asian social science, 3 (12), 2399-2408.

Hanpachern, R. & Chatkaewnapanon, Y. (2014). Managing tourism in the greater mekong region (GMS): A case study of Chiang Khan community, Northeast Thailand. Eurasian Journal of social science, 2 (1), 20-29.

Lovelock, C. & Wirtz, J. (2007). Services marketing people, technology. strategy.

(16th Ed.). New Jersey: Pearson Education.

Manhas, P. S., Manrai, L. A. & Manrai, A. K. (2016). Role of tourist destination development in building its brand image: A conceptual model. Journal of economics, finance and administrative science. Retrieved June 19, 2019, form http://dx.doi.org/10.1016/j.jefas.2016.01.001

Sommano, S. R. Suksathan, R, Wongnak, M. & Chatkaewnapanon, Y. (2017). Edible flowers in Northern Thailand (Rainy Season): from natural habitats, locally grown vegetables, to culture, food and tourism. Chiang Mai: RPP ALL.

Tangtenglam, S. et al. (2020). The possibility of Amazing Thailand Safety & Health Administration logo usage by tourism industry entrepreneurs in Southeast Asian Nations. Solid State Technology, 63 (5), 1354-1361.

UNWTO. (1997). Tourism 2020 vision. Madrid: UNWTO.

การสร้างแนวทางการประเมินศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเมืองเก่าลำพูน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

23-03-2023

How to Cite

ฉัตรแก้วนภานนท์ ย., & บุญทาวงค์ ท. (2023). การสร้างแนวทางการประเมินศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเมืองเก่าลำพูน. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, 13(1), 145–159. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/HUSO-J/article/view/1016