ศึกษาผลการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลในการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุทางถนนในช่วงเทศกาล ปีใหม่ตั้งแต่มีการจัดตั้งศูนย์อำนวยความปลอดภัยทางถนน (พ.ศ.2546-ปัจจุบัน) กรณีศึกษา: กองบังคับการตำรวจนครบาล 2

ผู้แต่ง

  • ร้อยตำรวจเอกเมธาศิษฐ์ พัฒนะกิตติพงษ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

อุบัติเหตุทางถนน กองบังคับการตำรวจนครบาล 2 ศูนย์อำนวยความปลอดภัยทางถนน

บทคัดย่อ

             การศึกษาเรื่อง “ศึกษาผลการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลในการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุทางถนนในช่วงเทศกาลปีใหม่ตั้งแต่มีการจัดตั้งศูนย์อำนวยความปลอดภัยทางถนน (พ.ศ.2546-ปัจจุบัน)กรณีศึกษา: กองบังคับการตำรวจนครบาล 2” มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.ศึกษาผลการดำเนินตามนโยบายรัฐบาลการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน ของศูนย์อำนวยความปลอดภัยทางถนน 2.ศึกษามาตรการดำเนินงานการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนของศูนย์อำนวยความปลอดภัยทางถนน 3.ศึกษาความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสียและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีต่อมาตรการในการดำเนินการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ การศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรจากสถานีตำรวจในสังกัดกองบังคับการตำรวจนครบาล 2 จำนวน 11 สถานีแจกแบบสอบถามและสัมภาษณ์สรุปผลการศึกษาได้ดังนี้
1. ผลการดำเนินตามนโยบายรัฐบาลการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนของศูนย์อำนวยความปลอดภัยทางถนน มีการดำเนินการในทั้ง 4 ปัจจัย คือ คน ยานพาหนะ ถนน และสภาพแวดล้อมให้มีความพร้อมอยู่ในสภาพที่ดีอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นสภาพของยานพาหนะ สภาพถนน รวมทั้งผู้ขับขี่ต้องไม่ประมาทในการขับขี่ และไม่ควรดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งจะส่งผลต่ออุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้น
2. มาตรการการดำเนินงานการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนของศูนย์อำนวยความปลอดภัยทางถนน ดำเนินการสร้างภาคีเครือข่ายสร้างความรู้ให้กับประชาชนในการใช้รถ ใช้ถนน และตระหนักถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้นหากไม่เคารพกฎหมาย เพื่อเกิดพฤติกรรมที่ดีของประชาชน
3. ความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสียและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีต่อมาตรการในการดำเนินการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ ควรมีการกวดขันการขับขี่ยานพาหนะ ผู้ขับขี่ไม่ควรดื่มเครื่องดื่มของมึนเมา และไม่ควรประมาทในการขับขี่ยานพาหนะ ตรวจเช็คสภาพรถให้มีสภาพการใช้งานที่ดีและไม่ชำรุด ไม่ดัดแปลงสภาพรถ แก้ไขปัญหาสภาพถนนและไฟจราจรในพื้นที่ต่าง ๆ เจ้าหน้าที่ตำรวจก็ควรมีการตรวจสอบสภาพจราจรให้มีความสะดวกและมีความปลอดภัยแก่ผู้ขับขี่ที่ต้องใช้รถใช้ถนนในพื้นที่นั้น ๆ อยู่เสมอ

References

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย. (2554). แผนที่นำทางเชิงกลยุทธ์ ทศวรรษ แห่งความปลอดภัย ทางถนน พ.ศ. 2554- 2563. กรุงเทพฯ: ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการ ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย.

กองบังคับการตำรวจนครบาล 2. (2559). หน่วยงานในสังกัดกองบังคับการตำรวจนครบาล 2. ค้นเมื่อ สิงหาคม 18, 2559, จาก http://div2.metro.police.go.th/index.php/77-mega-content.

กาญจนา ทองทั่ว และคณะ. (2555) โครงการกระบวนการสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยทางถนนของนักศึกษาและชุมชนรอบมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีระยะที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).

กัลลิกา ฉินวิรุฬห์ศิริทรัพย์. (2557, พฤษภาคม-สิงหาคม). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดื่มสุราของผู้ถูกคุมความประพฤติคดีเมาแล้วขับ. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 25 (2), 91-100.

พรพิไล นิยมถิ่น, พิชัย บุญมีและจินตนา โนนนอก. (2559). การพัฒนารูปแบบการแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุจราจรด้วยเครือข่ายด่านซ้ายปลอดภัย. ค้นเมื่อ สิงหาคม 18, 2559, จาก http://www.niems.go.th/th/Upload/File/255904211516242060_3I0SyTqHDEQdrXCY.pdf

มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.). (2548). เส้นทางอุบัติ....แห่งอุบัติเหตุ. กรุงเทพฯ: B612.

ระเบียบสำนักนายรัฐมนตรีว่าด้วยการป้องกันและลดอุบัติเหตุบนถนน พ.ศ. 2554. (2554). ราชกิจจานุเบกษา (เล่มที่ 128). ตอนพิเศษ 4 ง (14 มกราคม).

ศิริแข ขันทองคำ. (2553). โครงการศึกษาและพัฒนาสถานศึกษาต้นแบบการดำเนินงานลดอุบัติเหตุทางถนนกรณีศึกษา: โรงเรียนมหศิราธิบดีและวิทยาลัยนครราชสีมา. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).

ศูนย์กลางรวบรวมข้อมูลข่าวสารความปลอดภัยทางถนน. (2559). สถิติอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ 2551-2558. ค้นเมื่อ สิงหาคม 18, 2559, จาก http://www.accident.or.th/datacenter/index.php/2015-10-13-04-59-29/133-2551-2559

สถาบันพระปกเกล้า. (2548). รายงานสรุปผลช่วงเทศกาลปีใหม่ 2548. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).

สำนักข่าวอิสรา. (2559). อุบัติเหตุกับผลต่อสุขภาพของคนไทย. ค้นเมื่อ สิงหาคม 18, 2559, จาก http://www.isranews.org/isra-news/item/42298-roads.html.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2559). เทศกาลไทยกับภัยอุบัติเหตุ. ค้นเมื่อ สิงหาคม 18, 2559, จาก http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/citizen/news/news_songkran.jsp

สุรางค์ศรี ศีตมโนชญ์และคณะ. (2548). การประเมินรูปแบบการแก้ไขปัญหาการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจร อย่างส่วนร่วมโดยอาศัยทรัพยากรและศักยภาพในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตและกระบี่.กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.)

ึกษาผลการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลในการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุทางถนนในช่วงเทศกาล ปีใหม่ตั้งแต่มีการจัดตั้งศูนย์อำนวยความปลอดภัยทางถนน (พ.ศ.2546-ปัจจุบัน) กรณีศึกษา: กองบังคับการตำรวจนครบาล 2 - photo

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-06-2021

How to Cite

พัฒนะกิตติพงษ์ ร. (2021). ศึกษาผลการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลในการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุทางถนนในช่วงเทศกาล ปีใหม่ตั้งแต่มีการจัดตั้งศูนย์อำนวยความปลอดภัยทางถนน (พ.ศ.2546-ปัจจุบัน) กรณีศึกษา: กองบังคับการตำรวจนครบาล 2. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, 11(1), 1–16. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/HUSO-J/article/view/1026