ความต้องการการพัฒนาตนเองของเจ้าหน้าที่คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • นภธีดี เขียวกลม มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

เจ้าหน้าที่, การพัฒนาตนเอง, ความต้องการ, คณะศิลปกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยขอนแก่น

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการการพัฒนาตนเองและวิธีการพัฒนาตนเองของเจ้าหน้าที่คณะศิลปกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรจำนวน 28 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) ด้านความรู้ทั่วไป พบว่า มีระดับความต้องการเพิ่มทักษะภาษาอังกฤษ เช่น ฟัง พูด อ่าน และเขียน (ค่าเฉลี่ย=4.25 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน=0.74) และการเพิ่มทักษะการใช้โปรแกรม Photoshop มากที่สุด (ค่าเฉลี่ย=4.25 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน=0.78) 2) ด้านบุคลิกภาพ พบว่า มีระดับความต้องการเพิ่มทักษะการพัฒนาทัศนคติที่ดีต่อการทำงาน การเพิ่มทักษะการพัฒนาการแต่งกายให้เหมาะสม และการเพิ่มทักษะการพัฒนาร่างกาย เพื่อรูปร่างที่ดี มากที่สุด(ค่าเฉลี่ย=4.29 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน=0.80) 3) ด้านการศึกษาต่อ พบว่า มีระดับความต้องการให้สำนักงานสนับสนุนให้สามารถลาศึกษาต่อแบบเต็มเวลามากที่สุด (ค่าเฉลี่ย=4.11 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน=0.90) 4) ด้านการฝึกอบรมหรือศึกษาดูงาน พบว่า มีระดับความต้องการฝึกอบรมความรู้เกี่ยวกับตำแหน่งงานที่ได้รับมอบหมาย (ค่าเฉลี่ย=4.50 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน=0.68) และการฝึกอบรมการเพิ่มความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ (ค่าเฉลี่ย=4.50 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน=0.63) 5) ความต้องการพัฒนาด้านอื่น ๆ ได้แก่ ด้านการทำวิจัยในสถาบันหรือคณะเพื่อการพัฒนาตนเองและองค์กรด้านการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ด้านทักษะการให้การบริการแก่นักศึกษา หรือบุคลากรภายนอกที่เข้าใช้บริการ ด้านการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและด้านการร่วมมือกันภายในองค์กร

References

กัญชพร ศรมณี. (2559). การจัดการทรัพยากรมนุษย์ท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 8 (1), 275-287.

ธาดา รัชกิจ. (2563). การบริหารจัดการคนเก่งในองค์กร. ค้นเมื่อ กรกฎาคม 19, 2564, จาก https://th.hrnote.asia/orgdevelopment/190114-th-

talentmanagment/

บุญส่ง ลีละชาต. (2559). ความต้องการในการพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. การค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต

สาขาวิชาการเมืองการปกครองสำหรับนักบริหาร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ประเวศน์ มหารัตน์สกุล. (2551). การจัดการทรัพยากรมนุษย์มุ่งสู่อนาคต. กรุงเทพฯ: พิมพ์ตะวัน.

ภัททิยะ ผันประเสริฐ. (2557). ความต้องการในการพัฒนาตนเองของบุคลากรในสังกัดสำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี. งานนิพนธ์รัฐประศาสน

ศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ละเอียด ศิลาน้อย และ กันฑิมาลย์ จินดาประเสริฐ. (2562). การใช้มาตรประมาณค่าในการศึกษาวิจัยทางสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ การโรงแรม และการท่องเที่ยว.

วารสารบริหารศาสตร์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 8 (15), 112-126.

วรรณภา วรรณสาร. (2564). ความต้องการของบุคลากรสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่นในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน. วารสารการบริหารการศึกษา

มมร.วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 1 (2), 25-31.

สุจิตรา แนใหม่ และชญชา สุดเวหา. (2562). ความต้องการการสวัสดิการของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยเอกชนในจังหวัดปทุมธานี. วารสารวิจัยและพัฒนา

วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 14 (3), 255-261.

สุธินี ฤกษ์ขำ. (2558). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์: หลักการและการประยุกต์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อดุลย์ ทองจำรูญ. (2556). ปัจจัยจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรที่ปฏิบัติงานในเทศบาลเขตพื้นที่อำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ. นครราชสีมา: โครงงานสาขาวิชา

วิศวกรรมโยธา สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

Monday, R. W. & Noe, R. M. (2005). Human Resource Management. Upper Saddle River,NJ: Prentice-Hall.

Swanson, R. & Holton, III E. (2001). Foundation of Human Resource Development. San Francisco: Berrett Koehler Publisher Inc.

2.3 ความต้องการการพัฒนาตนเองของเจ้าหน้าที่คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-12-2021

How to Cite

เขียวกลม น. . (2021). ความต้องการการพัฒนาตนเองของเจ้าหน้าที่คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, 11(2), 27–39. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/HUSO-J/article/view/1038