ภาพคุณลักษณะความเป็นครู: การศึกษาเนื้อหาและภาษาในหนังสือพิมพ์วิทยาจารย์ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
คำสำคัญ:
ภาพสะท้อน, ระดับข้อความ, ภาพคุณลักษณะความเป็นครู, วิทยาจารย์บทคัดย่อ
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีสิ่งพิมพ์ชื่อว่า “วิทยาจารย์” ที่เป็นเสมือนกับคู่มือครูในสมัยนั้นเพราะช่วยเสริมทั้งความรู้และวิธีการสอน บทความวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาพของคุณลักษณะความเป็นครูผ่านการศึกษาเนื้อหาและภาษาที่ปรากฏในหนังสือพิมพ์วิทยาจารย์
สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยใช้กรอบแนวคิดระดับข้อความ (discourse) ภาพสะท้อน คุณลักษณะความเป็นครูและการปฏิรูปการศึกษาสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผลการศึกษาพบว่า ประเด็นเนื้อหาที่ปรากฏ ได้แก่ การให้ข้อมูลทั้งความรู้และข่าวสารทั่วไป
ที่เกี่ยวกับแวดวงการศึกษา ส่วนลักษณะภาษาพบการใช้กลุ่มคำหรือข้อความที่เป็นการชี้นำ การแนะนำและการให้เหตุผล ภาพคุณลักษณะของความเป็นครูที่ปรากฏ 3 ด้าน ได้แก่ ภาพด้านใฝ่รู้ รู้รอบ ด้านคุณธรรม จริยธรรม และด้านการติดตามข่าวสาร
References
ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ. 2556. (2556). ราชกิจจานุเบกษา. (เล่ม 130). ตอนพิเศษ 130 ง. หน้า 72-74 (4 ตุลาคม)
ครูอาชีพดอทคอม. (2563). สรุปจรรยาบรรณวิชาชีพครู ล่าสุด พ.ศ. 2556. ค้นเมื่อ พฤศจิกายน 9, 2564 จาก https://www.kruachieve.com/เรื่องราวน่าสนใจ/สรุปจรรยาบรรณวิชาชีพครู/
คุรุสภา. (2564). สารบัญ. วิทยาจารย์, 120 (2), 4. ค้นเมื่อ พฤศจิกายน 2564 จาก http://www.withayajarn.com/e-book/september2564/index.html#page=4
คุรุสภา. (ม.ป.ป.). ความเป็นมาของคุรุสภา.ค้นเมื่อ กันยายน 1 2564จาก https://kurusapa.com/ความเป็นมาของคุรุสภา/
จันทิมา อังคพณิชกิจ. (2557). การวิเคราะห์ข้อความ (Discourse Analysis). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ชุติมันต์ เหลืองทองคำ. (2560). การวิเคราะห์วิถีครูไทยในยุคปฏิรูปการศึกษาสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว : ปรีชาญาณพระยาศรีสุนทรโวหาร
(น้อย อาจารยางกูร) วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บทความ-ลักษณะครูที่ดี. (2009). ค้นเมื่อ กันยายน 1 2564 จากhttps://educ105.wordpress.com/บทความ-ลักษณะครูที่ดี/
ผกามาศ ชูสิทธิ์. (2556). รายงานวิจัยเรื่อง ศึกษาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษาครุศาสตร์ อุตสาหกรรมที่ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ในระดับอาชีวศึกษาตามความ
คิดเห็นของสถานศึกษา กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
พงศ์อินทร์ ศุขขจร. (2528). สามัคยาจารย์สมาคม. สารานุกรมศึกษาศาสตร์(เล่ม 2 หน้า 168-171). กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พจมาลย์ สกลเกียรติ. (2562). การศึกษาคุณลักษณะของครูที่พึงประสงค์ ตามทัศนะของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน วิทยาลัยครุศาสตร์
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ใน งานประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 10 (12-13 กรกฎาคม หน้า 82-83). สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
พิชญาภา ยืนยาว และธีรวุธ ธาดาตันติโค. (2561). รายงานวิจัยการวิเคราะห์องค์ประกอบคุณลักษณะของครูมืออาชีพในศตวรรษที่ 21 นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏ
นครปฐม.
วุฒิชัย มูลศิลป์. (2529). การปฏิรูปการศึกษาในสมัยพระบามสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนพานิช.

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม