คุณธรรมจริยธรรมในการเรียนการสอนทางการศึกษา
คำสำคัญ:
ศีลธรรม, จริยธรรม, การเรียนการสอน, การศึกษาบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเรื่อง “คุณธรรมจริยธรรมในการเรียนการสอนทางการศึกษา” พบว่า การปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรมแก่เด็ก เพื่อเป็นการอบรมบ่มนิสัยในการพัฒนาจิตใจและสติปัญญาของผู้เรียนตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ตามมาตรา 73 และ มาตรา 8 โดยเน้นผู้เรียน
เป็นศูนย์กลาง เหมาะสม และสอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศแบบยั่งยืน มีหลักสูตรบทเรียนที่แน่นอน วิธีการปลูกฝัง วิธีการถ่ายทอด และวิธีการการประเมินผลอย่างเป็นระบบ มีลักษณะ และแนวความคิดในเรื่องของคุณธรรมจริยธรรมในการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม วิธีปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม
การจัดการเรียนการสอน สถานที่การเรียนการสอน กิจกรรมของผู้เรียน การประเมินผลการเรียนการสอนการสื่อสารกับผู้เรียน พัฒนาการของผู้เรียน และการแก้ไขปัญหาของผู้เรียน มีคุณค่าทางคุณธรรมจริยธรรมในการเรียนการสอนทางการศึกษาเชิงวัตถุวิสัยและอัตวิสัย และคุณค่าทางคุณธรรมจริยธรรมทางธรรมชาตินิยม ตามหลักเกณฑ์ตัดสินวินิจฉัยโดยดูที่มา และวินิจฉัยโดยดูที่ผลที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรม เพื่อเป็นการพัฒนาผู้เรียนหรือนักเรียน ให้มีจิตใจใฝ่ดีและมีพลังใจที่เข้มแข็งพัฒนาตนเอง ไม่ให้ประมาท กระบวนการทางการศึกษา เป็นรากฐานในการพัฒนามนุษย์เพราะการศึกษาเป็นหัวใจของการพัฒนามนุษย์ให้มีความเจริญงอกงามที่ทำให้เป็นผู้รู้จักคิด รู้จักทำ รู้จักแก้ไขปัญหา ในการกำหนดชีวิตที่เน้นผู้เรียนให้รู้จักการสร้างคุณธรรมจริยธรรมให้เกิดขึ้นแก่ตนเอง
References
กรมการศาสนา. (2541). หลักและวิธีการจัดจริยศึกษา และหัวข้อจริยธรรม สำหรับใช้อบรมสั่งสอนนักเรียนนักศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2548). คู่มืออบรมหลักสูตรการส่งเสริมสุขภาพจิตและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตของประชาชนโดยพระสงฆ์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.
กาญจนา นาคสกุล. (2546, กรกฎาคม). ปฏิรูปการศึกษากับปัญหาจริยธรรมในสังคมไทย. วารสารวิชาการ, 6 (7), 2-6.
จำนงค์ อดิวัฒนสิทธิ์. (2545). สังคมวิทยาตามแนวพุทธศาสตร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
เจริญ ภักดีวานิช. (2546). การบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและแก้วิกฤตสังคม. กรุงเทพฯ: ชวนพิมพ์.
ชำเลือง วุฒิจันทร์. (2524). คุณธรรมและจริยธรรม. กรุงเทพฯ: การศาสนา.
ดวงเดือน พันธุมนาวิน. (2543). ทฤษฎีต้นไม้จริยธรรม: การวิจัยและพัฒนาบุคลากร. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทัศนีย์ ทองสว่าง. (2537). สังคมไทย. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
นภาพร และคณะ. (2543). รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์เรื่อง เทคนิคการสอนคุณธรรมสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
นงลักษณ์ เทพสวัสดิ์. (2543). วิเคราะห์ปัญหาสังคมในสังคมไทย (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
บุญชม ศรีสะอาด. (2547). การพัฒนาการสอน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สุวีริยสาส์น.
บำรุง สุขพรรณ์. (2547). เอกสารประกอบการถวายความรู้พระสงฆ์. หลักสูตร “พระสงฆ์ผู้นำการพัฒนาสังคมไทยที่ยั่งยืน”. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ประภาศรี สีหอำไพ. (2535). พื้นฐานการศึกษาศาสนาและจริยธรรม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พระธรรมปิฏก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2541). พุทธวิธีในการสอน. กรุงเทพฯ: มูลนิธิพุทธธรรม.
พระปัญญานันทภิกขุ. (2529). มงคลชีวิตฉบับทางก้าวหน้า. กรุงเทพฯ: บรรณาคาร.
ยนต์ ชุ่มจิต. (2531). ความเป็นครู. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
รุจิร์ ภู่สาระ. (2543). แบบเรียนแนวหน้าชุดพัฒนากระบวนการหลักสูตรใหม่กลุ่มสร้างเสริมลักษณะนิสัย 6. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.
สมภาร พรมทา. (2535). พุทธศาสนากับปัญหาจริยศาสตร์. กรุงเทพฯ: สารมวลชล.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2544). การวัดและประเมินผู้เรียนด้านคุณธรรมจริยธรรม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุรางค์ โค้วตระกูล. (2553). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อังคนา ราชสีห์. (2548). การประเมินโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ: กรณีเฉพาะโรงเรียนเคหะชุมชนลาดกระบัง. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.
Aristotle, R. M. (1931). The basic works of Aristotle. New York: Random House.
Wittgenstein. L. (1963). Philosophical investigations. Oxford: Blackwell.

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม