การเปรียบเทียบแนวคิดทางการเมือง การเคลื่อนไหวทางการเมืองและข้อเรียกร้องของนักศึกษา และปัญญาชน: กรณีศึกษาเปรียบเทียบเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 และพฤษภาทมิฬ 2535
คำสำคัญ:
14 ตุลาคม, พฤษภาทมิฬ, ปัญญาชน, แนวคิดทางการเมือง, การเคลื่อนไหวทางการเมืองบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการเคลื่อนไหวทางการเมืองของนักศึกษาและปัญญาชนในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 และเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ 2535ซึ่งศึกษาใน 2 ด้าน คือ 1) ด้านแนวคิดทางการเมือง และ 2) ด้านการเคลื่อนไหวทางการเมืองและข้อเรียกร้องของนักศึกษา ผลการศึกษาพบว่า 1) ด้านแนวคิดทางการเมือง ทั้ง 2 เหตุการณ์มีความต้องการเหมือนกัน คือ นักศึกษาและปัญญาชนต้องการนายกรัฐมนตรีที่ไม่ได้มาจากรัฐประหาร 2) ด้านการเคลื่อนไหวและการใช้ความรุนแรงทางการเมืองของนักศึกษาและปัญญาชน ในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 กลุ่มผู้ประท้วงมีการล่าลายเซ็นของกลุ่มนักศึกษาและเหล่าปัญญาชนจำนวน 100 คน เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับถาวรภายใน 6 เดือน โดยการชักชวนให้นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์หยุดสอบและชุมนุมเพื่อทำการประท้วง พร้อมทั้งเรียกร้องให้สถาบันอื่น ๆร่วมมือ ส่วนเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ 2535 ประชาชนมีการบุกเผาสถานีตำรวจนครบาลนางเลิ้งและเริ่มก่อความไม่สงบเพื่อต่อต้านรัฐบาลโดยกลุ่มจักรยานยนต์หลายพื้นที่ในกรุงเทพมหานคร ดังนั้น ผู้เขียนจึงต้องการสะท้อนให้เห็นถึงการมีส่วนร่วมทางการเมืองของนักศึกษาและปัญญาชนรวมถึงประชาชนที่ต้องการเรียกร้องให้เกิดประชาธิปไตยโดยแท้จริงคือเป็นประชาธิปไตยที่มาจากประชาชนและเพื่อประชาชน
References
ก้องเกียรติ คงคา และคณะ. (2556). บันทึกเหตุการณ์14 ตุลา ผ่าน 13 กบฏ. กรุงเทพฯ: มาตาการพิมพ์.
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. (2546). 14 ตุลา: บันทึกประวัติศาสตร์. กรุงเทพฯ: พิฆเฌศ.
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. (2549). จาก 14 ถึง 6 ตุลา และทองปาน. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.
ณัฐพล ใจจริง. (2548, กันยายน– ธันวาคม). บทวิจารณ์หนังสือ เรื่อง “และแล้วความเคลื่อนไหวก็ปรากฏ: การเมืองวัฒนธรรมของนักศึกษาและปัญญาชนก่อน 14 ตุลา”. วารสารสถาบันพระปกเกล้า, 3 (3), 6.
ธงทอง จันทรางศุ. (2516). บันทึกลับจากทุ่งใหญ่. กรุงเทพฯ: ชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ.
ดำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ และชาญวิทย์ เกษตรศิริ. (2544). จาก 14 ถึง 6 ตุลา. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.
นรนิติ เศรษฐบุตร. (2559, กันยายน– ธันวาคม). พระบารมี. วารสารสถาบันพระปกเกล้า, 14 (3), 38-39.
พรภิรมณ์ เชียงกูล. (2536). เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ 2535: วิเคราะห์ในมิติทางประวัติศาสตร์. กรุงเทพฯ: ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ยุทธศาสตร์ หน่อแก้ว. (2563). รัฐธรรมนูญของประชาชนและผลักดันแบบจำลองประชานิยมที่สนับสนุนพลเมืองรากหญ้าในสังคมไทย. เชียงราย: สาขาวิชา รัฐประศาสนศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. (2550). กรุงเทพฯ: สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.
ลิขิต ธีรเวคิน. (2554). วิวัฒนาการการเมืองการปกครองไทย. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุวิชชา เพียราษฎร. (2553). ก้าวข้ามวิกฤตชาติ. กรุงเทพฯ: บ้านพระอาทิตย์.

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม