ความท้าทายต่อการบริหารความมั่นคงพื้นที่ชายแดนในยุคดิสรัปชัน
คำสำคัญ:
ความท้าทาย , การบริหาร , ความมั่นคง, พื้นที่ชายแดน, ดิสรัปชันบทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ความท้าทายต่อความมั่นคงตามพื้นที่ชายแดน
(2) ผลกระทบจากความท้าทายต่อความมั่นคงตามพื้นที่ชายแดน (3) เสนอแนะแนวทางในการสร้างโอกาสและความร่วมมือต่อความมั่นคงตามพื้นที่ชายแดน และ (4) แนวทางและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อกองทัพและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการรองรับกับความท้าทายต่อความมั่นคงตามพื้นที่ชายแดน โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา และการวิเคราะห์เอกสาร ผลการวิเคราะห์พบ 4 ประเด็นสำคัญคือ (1) ด้านความท้าทายมี 4 ประการ คือ (1.1) ความเชื่อมโยงที่เกิดจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและเส้นทางคมนาคม การสร้างกลไกความร่วมมือ และเทคโนโลยีสมัยใหม่ (1.2) ปรากฏการณ์ทางสังคมจากสายสัมพันธ์ความเป็นบ้านพี่เมืองน้องและการเปลี่ยนแปลงเชิงวัฒนธรรม (1.3) ปัญหาความไม่ชัดเจนเรื่องเขตแดน และการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ (1.4) การเคลื่อนย้ายทางการค้าชายแดน/กลุ่มทุนต่างชาติ การลักลอบเข้าเมืองหรือนำเข้า-ส่งออกสินค้าผิดกฎหมาย (2) ด้านผลกระทบจากความท้าทายมี 2 ทางคือ ผลกระทบเชิงบวกจากนโยบายของประเทศมหาอำนาจที่มีต่อประเทศเพื่อนบ้าน และผลกระทบเชิงลบ เช่น เศรษฐกิจโลก การปรับเปลี่ยนนโยบาย ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี การสร้างเขื่อน และปัญหาจากธรรมชาติและการกระทำของมนุษย์ที่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ (3) การสร้างโอกาสและความร่วมมือมี 2 ด้านคือ การสร้างความร่วมมือภายในประเทศกับหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และระดับชุมชน และการสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศกับหน่วยงานทางทหารเพื่อการแก้ปัญหาต่าง ๆ ตามแนวชายแดนผ่านกลไกความร่วมมือในด้านต่าง ๆ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลในการจัดการความมั่นคง และ (4) แนวทางและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายมี 2 แนวทางคือ กองทัพควรเข้ามามีส่วนในการสนับสนุนขีดความสามารถของชุมชนในการพัฒนาความสัมพันธ์ การบูรณาการการจัดทำ ฐานข้อมูล และการเข้ามามีส่วนในการเสริมสร้างความเข้มแข็งเพื่อรับมือกับความท้าทายใหม่ต่อความมั่นคง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ควรนำปมทางประวัติศาสตร์ในอดีตมาสร้างกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในปัจจุบัน และพบอุปสรรคที่มีผลต่อความท้าทายกับการบริหารความมั่นคงพื้นที่ชายแดนที่เป็นหัวใจสำคัญของการรับมือเพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของดิสรัปชัน ฉะนั้นฝ่ายความมั่นคงควรได้รับการพัฒนาในด้านต่าง ๆ เพื่อดึงศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถต่อการบริหารความมั่นคงพื้นที่ชายแดนมากยิ่งขึ้น
References
ชูวงศ์ อุบาลี และคณะ. (2559). กลไกการจัดการปัญหาความมั่นคงรูปแบบใหม่ตามแนวชายแดนภาคตะวันออกไทย – กัมพูชา. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
ธนาวัฒน์ ปัทมฤทธิกุลและคณะ (2562). การวิเคราะห์ทัศนคติ ความต้องการของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเมืองชายแดนเพื่อเชื่อมโยงการท่องเที่ยวในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง: มุกดาหาร-สะหวันนะเขต-กวางตรี. วารสารรัชต์ภาคย์, 13 (30), 245-255.
บรรจง อมรชีวิน และหทัยชนก ศิริวัฒนกุล. (2558). ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของไทยบนเส้นทางการบูรณาการระดับภูมิภาค. วารสารวิทยุสราญรมย์, 15 (58), 160-173.
มนตรี คำวัน และคู่บุญ จารุมณี. (2560). โอกาสและความท้าทายของการพัฒนานครพนมเป็นเมืองท่องเที่ยวริมฝั่งแม่น้ำโขง. วารสารการเมืองการปกครอง, 7
(3 ), 163-178.
วชิรวัชร งามละม่อม. (2561). ประเทศไทยกับการบริหารจัดการลุ่มน้ำโขงว่าด้วยแผนพัฒนาการเดินเรือระหว่างประเทศในแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง พ.ศ. 2558-2568. ใน การประชุมวิชาการบัณฑิตศึกษาระดับชาติ สรรพศาสตร์ สรรพศิลป์ ประจำปี 2561. (28 มิถุนายน หน้า 372-392). กรุงเทพฯ: คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วชิรวัชร งามละม่อม. (2562). กระแสโลกาภิวัตน์กับการปรับตัวของประเทศไทย. วารสารการจัดการและการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 1 (1), 61-83.
_______. (2565). การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ภาครัฐในยุคดิสรัปชั่น. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 42 (1), 132 - 153.
วีรวุธ มาฆะศิรานนท์. (2565). องค์การฉลาดคิดและสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ, ศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์. (2563). กองทัพไทยกับการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการความมั่นคงชายแดนแบบองค์รวมกับประเทศเพื่อนบ้าน: กรณีศึกษาเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตาก. กรุงเทพฯ: ศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์ สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ.
สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ. (2560). นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่งคงของชาติ
(พ.ศ.2560-2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ.
สำนักเลขาธิการอาเซียนแห่งชาติ. (2562). กำเนิดอาเซียน. กรุงเทพฯ: สำนักเลขาธิการอาเซียนแห่งชาติ.
สำนักเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580). กรุงเทพฯ: สำนักเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
Dru, J. (1996). Disruption: Overturning conventions and shaking up the marketplace. New York: John Wiley & Sons.

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม