การพัฒนาฐานข้อมูลจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

ผู้แต่ง

  • ลัดดา บุญเปลี่ยนพล

คำสำคัญ:

ฐานข้อมูล , จดหมายเหตุ , จดหมายเหตุมหาวิทยาลัย

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาฐานข้อมูลจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม และ 2) ประเมินความพึงพอใจการใช้ฐานข้อมูลจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการพัฒนาฐานข้อมูลจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม คือ ผู้ใช้บริการ จำนวน 10 คน การสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ประเมินความพึงพอใจการใช้ฐานข้อมูลจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ใช้บริการเข้าใช้ฐานข้อมูลจดหมายเหตุ จำนวน 375 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินความพึงพอใจการใช้ฐานข้อมูลจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 

          ผลการวิจัยพบว่า

         1. ผลการพัฒนาฐานข้อมูลจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ทำให้ได้ระบบสำหรับใช้งาน 2 ส่วน ได้แก่ 1) ส่วนผู้ดูแลสามารถเพิ่ม ลบ หรือแก้ไขข้อมูลได้ และ 2) ส่วนผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงสารสนเทศในฐานข้อมูลได้หลากหลายรูปแบบ เช่น ตัวอักษร รูปภาพ วิดีโอ ที่ใช้งานง่าย

         2. ผลประเมินความพึงพอใจการใช้ฐานข้อมูลจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการสืบค้นข้อมูลและการแสดงผล และด้านการออกแบบ มีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับมาก สำหรับฐานข้อมูลจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ที่พัฒนาขึ้นเป็นประโยชน์ต่อการศึกษา ค้นคว้า วิจัย โดยให้บริการผ่านอินเทอร์เน็ตสามารถสืบค้นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ในแง่มุมต่าง ๆ เช่น ประวัติ พัฒนาการ การดำเนินงานของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมในแต่ละช่วงเวลา

References

คม กันชูลี. (2561). รายงานวิจัยสถาบันเรื่อง การพัฒนาคลังสารสนเทศดิจิทัลสำหรับงานวิจัยของ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามด้วยโอเพนซอร์สดรูปัล.

พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

คมกริช รุมดอน และคณะ. (2566). การพัฒนาฐานข้อมูลหอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. ในงานการประชุมวิชาการระดับชาติ

PULINET ครั้งที่ 13 มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (18-20 มกราคม หน้า 43-55). อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

พาลี่, นอย. (2564). การจัดการจดหมายเหตุเสียง: กรณีศึกษาห้องสมุดเสียง มหาวิทยาลัยศิลปากร. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ

จดหมายเหตุและสารสนเทศมรดกทางวัฒนธรรม แผน ก แบบ ก 2 ระดับ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

นาริสา ทับทิม. (2564). การพัฒนาคลังจดหมายเหตุดิจิทัลส่วนบุคคลของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสารสนเทศ

ศึกษา บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

บุญเลิศ อรุณพิบูลย์. (2556). Omeka Portable สื่อเรียนรู้การพัฒนาระบบนำเสนอผลงานผ่านเว็บ. ค้นเมื่อ กุมภาพันธ์ 11, 2565, จาก

https://www.slideshare.net boonlert/digital-collection-with-omeka

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2541). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 7 ฉบับปรับปรุงใหม่ล่าสุด). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มยุรี รัตนเสริมพงศ์. (2561). รายงานการวิจัยศึกษาการพัฒนาระบบฐานข้อมูลเอกสารจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี. ลพบุรี: คณะมนุษยศาสตร์และ

สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. (2564). ประวัติมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. ค้นเมื่อ มกราคม 11, 2565, จาก http://arit.npru.ac.th/info/npru_profile.php

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ. (2564). ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ. ค้นเมื่อ พฤษภาคม 20, 2565, จาก

http://arit.npru.ac.th/info/npru_profile.php

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน. (2566). รายงานประจำปี พ.ศ. 2565. นครปฐม: สำนักส่งเสริมวิชาการและงาน

ทะเบียน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526. (2565). ราชกิจจานุเบกษา (เล่มที่ 122). ตอนพิเศษ 99 ง (11 กุมภาพันธ์).

สิทธิชัย บวชไธสง. (2557). การพัฒนาระบบฐานข้อมูลดิจิทัลจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา

บรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

Best, J. W. & Kahn, J. V. (1986). Research in education (5th ed.). Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

20-09-2024

How to Cite

บุญเปลี่ยนพล ล. (2024). การพัฒนาฐานข้อมูลจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, 14(3), 1–13. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/HUSO-J/article/view/2965