การพัฒนาคู่มือการจัดสอบคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

ผู้แต่ง

  • กรรณิกา ทองถนอม

คำสำคัญ:

การจัดสอบ, คู่มือ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากระบวนการจัดสอบของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม โดยคู่มือการจัดสอบนี้ใช้เป็นแนวทางในการจัดสอบและแก้ไขปัญหาที่อาจเกิด           ขึ้น ประชากรประกอบด้วยอาจารย์และบุคลากรในคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ที่เกี่ยวข้องกับการสอบกลางภาคของนักศึกษาภาคปกติในภาคเรียนที่ 1/2565 จำนวน 85 คน งานวิจัยนี้สุ่มประชากรกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 70 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยคือ 1) แบบประเมินสภาพปัญหาในการจัดสอบคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2) คู่มือการจัดสอบที่พัฒนาขึ้นมา และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้คู่มือการจัดสอบนี้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ( x ) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)

          สำหรับสภาพปัญหาในการจัดสอบของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ก่อนการจัดทำคู่มือการจัดสอบ ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัญหาที่มากสุดคือ คำชี้แจงเกี่ยวกับการสอบซ้อนซึ่งมีค่าเฉลี่ย 4.13 อยู่ในระดับมาก รองลงมาคือแนวปฏิบัติในการจัดสอบซึ่งมีค่าเฉลี่ย 4.10 อยู่ในระดับมาก อย่างไรก็ตามหลังจากใช้คู่มือการจัดสอบที่พัฒนาขึ้นมา ปัญหาทั้งสองข้อลดลงจากระดับมากเป็นระดับน้อย โดยคำชี้แจงเกี่ยวกับการสอบซ้อนมีค่าเฉลี่ย 1.98และแนวปฏิบัติในการจัดสอบมีค่าเฉลี่ย 2.10 นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้ใช้มีความพึงพอใจต่อเล่มคู่มือการจัดสอบอยู่ในระดับมากที่สุดในทุกด้าน โดยมีความพึงพอใจมากที่สุดจำนวน 2 ข้อ คือขนาดเล่มของคู่มือมีความกะทัดรัด และความพึงพอใจโดยรวมจากที่ได้รับจากคู่มือโดยมีค่าเฉลี่ย 4.72 รองลงมาคือความรู้จากคู่มือสามารถนำไปใช้ในการจัดสอบได้จริงที่มีค่าเฉลี่ย 4.63 นอกจากนี้ผู้ใช้คู่มือการจัดสอบได้แนะนำให้จัดทำลิงก์ดาวน์โหลดไฟล์คู่มือจากเว็บไซต์ของคณะวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

References

กรองกาญจน์ วิวัฒน์วิศวกร. (2554). ระยะห่างระหว่างโต๊ะสอบ เพื่อป้องกันการทุจริต โดยใช้การแลกเปลี่ยนระหว่างความเร็วกับความแม่นยำ. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธนวรรธ ตั้งสินทรัพย์ศิริ. (2550). พฤติกรรมองค์กร. กรุงเทพฯ: บริษัทธนธัชการพิมพ์.

เบญจรัตน์ เดชนุวัฒนชัย. (2541). ศึกษาการพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของความผูกพันต่อองค์กรและการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนมัธยม สังกัดกรมสามัญศึกษากรุงเทพมหานคร.วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พรรณภา วงษ์หงษ์. (2566). รายงานการวิจัยเรื่อง ความคิดเห็นของบุคลากรสายวิชาการต่อการจัดตารางคุมสอบกลางภาคและปลายภาค. พะเยา: มหาวิทยาลัยพะเยา.

สถาบันทดสอบการศึกษาแห่งชาติ (องค์กรมหาชน). (2559). คู่มือกาจัดสอบ GAT/PAT ประจำปีการศึกษา 2560. กรุงเทพ: สถาบันทดสอบการศึกษาแห่งชาติ (องค์กรมหาชน).

สมวาสนา เจตนานุศาสน์. (2550). กระบวนการปฏิบัติงานจัดสอบที่มีคุณภาพ กรณีศึกษา ศูนย์สอบทักษะด้านการจัดการแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะพาณิชยศาสตร์ฯและการบัญชี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการคุณภาพ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยบูรพา. (2564). คู่มือการจัดสนามสอบ การจัดสอบแข่งขันเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2564. ชลบุรี: สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุพานี สุกฤษฎ์วานิช. (2549). พฤติกรรมองค์กรสมัยใหม่: แนวคิด และทฤษฎี. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Downloads

เผยแพร่แล้ว

20-09-2024

How to Cite

ทองถนอม ก. (2024). การพัฒนาคู่มือการจัดสอบคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม . วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, 14(3), 15–32. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/HUSO-J/article/view/3208