การปรับตัวคณะแตรวงขวัญนภาในสังคมไทยปัจจุบัน
คำสำคัญ:
การปรับตัว , แตรวงขวัญนภา, ดนตรีชาวบ้านบทคัดย่อ
แตรวงขวัญนภาเป็นดนตรีชาวบ้านที่มีการสืบทอดวัฒนธรรรมดนตรีจากคนรุ่นสู่รุ่น และบุคคลกลุ่มหนึ่งไปสู่บุคคลอีกกลุ่มหนึ่ง ผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบมุขปาฐะ ครูพักลักจำและประสบการณ์ตรงในการปฏิบัติสืบทอดกันมาจนกลายเป็นมรดกวัฒนธรรมทางสังคมที่มีความสัมพันธ์กับวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่น ที่สร้างความบันเทิงและบรรยากาศในงานให้สนุกสนาน แต่ด้วยสภาพสังคมและค่านิยมที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้แตรวงต้องมีการปรับตัวให้เข้ากับสังคมในปัจจุบัน เช่น การบริหารจัดการคนในวงให้มีมุมมองและทัศนคติ มีความรักและสามัคคีที่ดีต่อกัน ปรับเปลี่ยนวิธีการบรรเลงและบทเพลงต่างๆ ให้มีรูปแบบการแสดงที่เหมาะสมสร้างผลงานเชิงประจักษ์ให้เป็นที่ยอมรับของคนในสังคม โดยอาศัยสื่อทางโซเซียลเป็นตัวประชาสัมพันธ์ผลงานได้อย่างกว้างขวาง การปรับตัวให้เข้ากับสังคมไทยในประเด็นต่าง ๆ จะช่วยให้คณะแตรวงขวัญนภาสามารถดำรงอยู่และรับใช้งานสังคมชาวบ้านต่อไปได้
References
คำขวัญ ขำสอน. (2566). สัมภาษณ์. 25 กรกฎาคม.
ณัฏฐนิช นักปี่ และกมลธรรม เกื้อบุตร. (2564). แตรวงในอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.
รณชัย รัตนเศรษฐ (2557). วัฒนธรรมแตรวงชาวบ้าน อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี. ศิลปกรรมบูรพา, 17 (2), 123-143.
สธน โรจนตระกูล. (2559). แตรวง (พิมพ์ครั้งที่ 2.) กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
สมบัติ เวชกามา. (2554). การพัฒนารูปแบบการบรรเลงดนตรีแตรวงชาวบ้านร่วมสมัยในจังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารศรีนครินทรวิโรฒและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 3 (5), 128-146.
สาธิต ขำสอน. (2566). สัมภาษณ์. 20 มิถุนายน.
สายบัว โพธิ์ทอง. (2566). สัมภาษณ์. 28 กรกฎาคม.
อานันท์ นาคคง. (2557). มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม.

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม