การใช้การจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐานในการสอนการอ่าน

ผู้แต่ง

  • ชวนพิศ อัตเนตร์
  • จิรศุภา ปล่องทอง
  • ปัญญา ทองนิล

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน, การสอนการอ่าน, การจัดการเรียนรู้

บทคัดย่อ

            บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหมาย ลักษณะ ประเภท ขั้นตอน บทบาทของผู้สอน และการวัดประเมินผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน เนื่องจากผู้เรียนจะพัฒนาทักษะการอ่านได้ดีนั้น ต้องเกิดจากการลงมือปฏิบัติและฝึกฝนเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการอ่าน การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานเป็นกิจกรรมที่กระตุ้นความสนใจของผู้เรียนในการอ่าน เป็นการเพิ่มความรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติและการทำงานร่วมกัน โดยผู้สอนจัดเตรียมกิจกรรมการอ่านแล้วเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเลือกใช้กระบวนการในการเรียนรู้และแสวงหาความรู้จากแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลายด้วยตนเอง จากการศึกษาดังกล่าวข้างต้น สามารถสรุปการประยุกต์ใช้การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานในการสอนการอ่าน คือ ขั้นที่ 1 ขั้นสร้างบรรยากาศในชั้นเรียน (creating atmosphere) ขั้นที่ 2 ขั้นกระตุ้นให้เกิดความสนใจ (activating interest) ขั้นที่ 3 ขั้นกำหนดขอบเขต (defining the topic) ขั้นที่ 4 ขั้นวางแผน (planning) ขั้นที่ 5 ขั้นปฏิบัติ (doing the project) ขั้นที่ 6 ขั้นทบทวนความรู้ (reviewing) ขั้นที่ 7 ขั้นนำเสนอ (presenting) และขั้นที่ 8 ขั้นการให้ผลสะท้อนกลับ (processing feedback)

References

ชัชรีย์ บุนนาค. (2561). ปัญหาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในประเทศไทยและข้อเสนอแนะแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ พ.ศ. 2564-2568. ใน การประชุมวิชาการ เสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 2“GRADUATE SCHOOL CONFERENCE 2018 (30 พฤศจิกายน หน้า 235-241). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

ดุษฎี โยเหลา, และคณะ. (2557). การศึกษาการจัดการเรียนรู้แบบ PBL ที่ได้จากโครงการสร้างชุด ความรู้เพื่อสร้างเสริมทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของเด็กและเยาวชน: จากประสบการณ์ความสำเร็จของโรงเรียนไทย. กรุงเทพฯ: ทิพยวิสุทธิ์.

เบญจภัค จงหมื่นไวย์ และคณะ. (2561). เกมมิฟิเคชันเพื่อการเรียนรู้. วารสารโครงงานวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ, 4 (2), 34-43.

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่, สำนักงานจัดการศึกษาทั่วไปและศิลปวิทยาศาสตร์. (2566). ความเป็นพลเมืองกับการพัฒนาท้องถิ่น GEN1306. ค้นเมื่อ กรกฎาคม 31, 2566, จาก http://gened2.cmru.th/ge_learning/src/gen1306/GEN1306-Content3.pdf.

ลัดดา ภู่เกียรติ. (2552). การสอนแบบโครงงานและการสอนแบบใช้วิจัยเป็นฐาน: งานที่ครูประถมทํา ได้. กรุงเทพฯ: สาฮะแอนด์ซัน พริ้นติ้ง.

วิจารณ์ พานิช. (2556). การพัฒนาการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: มูลนิธิไทยพาณิชย์.

สถาบันไทยศึกษา. (2566). ความสำคัญของการอ่าน. ค้นเมื่อ กรกฎาคม 31, 2566, จากhttps://www.facebook.com/ThaiStudiesCU/posts/1336957829776489/

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2579. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

อรรถพล ผิวเหลือง, บัญชา เกียรติจรุงพันธุ์ และณัฐกิตติ์ สิริวัฒนาทากุล. (2563). สภาพการจัดการเรียนรู้ ของครูภาษาไทย : แนวทางในการแก้ปัญหา. วารสารศึกษาศาสตร์ มมร., 8 (2), 95-211.

McDonell, C. (2007). Project-based inquiry units for young children: First step to

research for grades Pre-K-2. Ohio: Linworth Books.

Office of the Vocational Education Commission. (2013). Manual for organizing project- based vocational education. Bangkok: Educational Supervision Unit, Office of the Vocational Education Commission

Ribe, R. & Vidal, N. (1993). Project work: Handbooks for the English classroom. Oxford:

Heinemann International.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

20-09-2024

How to Cite

อัตเนตร์ ช., ปล่องทอง จ. ., & ทองนิล ป. (2024). การใช้การจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐานในการสอนการอ่าน. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, 14(3), 103–115. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/HUSO-J/article/view/3406