การจัดการสิ่งแวดล้อมในคลองเจดีย์บูชา ตามแนวทางของศูนย์อำนวยการจิตอาสาพระราชทานจังหวัดนครปฐม
คำสำคัญ:
การจัดการสิ่งแวดล้อม, คลองเจดีย์บูชา, ศูนย์อำนวยการจิตอาสา , จิตอาสาพระราชทานบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ จิตอาสาพระราชทานและจิตอาสา 904 จำนวน 12 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) คลองเจดีย์บูชาได้รับผลกระทบจาก การเปลี่ยนแปลงในสังคมปัจจุบัน ทำให้สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมและพบกับปัญหาหลายประการ ได้แก่ 1.1) ปัญหาลำคลองตื้นเขิน 1.2) ปัญหาการถูกรุกล้ำ 1.3) ปัญหาการแพร่กระจายของวัชพืช เช่น ผักตบชวา 1.4) ปัญหาน้ำเน่าเสีย และคุณภาพน้ำเสื่อมโทรม 2) ศูนย์อำนวยการจิตอาสาพระราชทานจังหวัดนครปฐมนำจิตอาสาพระราชทาน ร่วมกิจกรรมจิตอาสาพัฒนาคลองเจดีย์บูชาในโครงการ ต่าง ๆ ของจังหวัดนครปฐม จิตอาสาทั้งหมดร่วมกันทำความสะอาดบริเวณริมคลองเจดีย์บูชา ร่วมกันปรับภูมิทัศน์ ตัดแต่งกิ่งไม้ ตัดหญ้า การกำจัดวัชพืชและผักตบชวา เก็บขยะ กำจัดวัชพืชภายในคลองเจดีย์บูชาให้มีความสะอาดสวยงาม รวมทั้งเติมจุลินทรีย์ และ EM Ball เพื่อปรับสภาพน้ำให้มีคุณภาพดีขึ้น ศูนย์อำนวยการจิตอาสาพระราชทานจังหวัดนครปฐมสนับสนุนให้การจัดการสิ่งแวดล้อมในคลองเจดีย์บูชาสามารถดำเนินการตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และ 3) ศูนย์อำนวยการจิตอาสาพระราชทาน จังหวัดนครปฐม มีแนวทางในการจัดการสิ่งแวดล้อมในคลองเจดีย์บูชา ตามแผนแม่บทบริหารจัดการ และพัฒนาคลองเจดีย์บูชาอย่างยั่งยืน ในระยะเวลา 3 ปี (พ.ศ. 2564-2566)
References
คณะกรรมการจัดทำแผนแม่บทบริหารจัดการและพัฒนาคลองเจดีย์บูชาอย่างยั่งยืน. (2563). แผนแม่บทการพัฒนาคลองเจดีย์บูชาอย่างยั่งยืน ระยะ 3 ปี
(พ.ศ.2564-2566). ม.ป.พ.
ญาณภัทร ยอดแก้ว. (2563, กรกฎาคม 9-10). การอนุรักษ์คลองเจดีย์บูชา: สืบสานและรักษาสายน้ำแห่งพระราชศรัทธาสู่ความยั่งยืน [เอกสารนำเสนอ]. การ
ประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 12 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, นครปฐม, ประเทศไทย.
ณัฐวุฒิ รัพยูร และปรารถนา หลีกภัย. (2566). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการการท่องเที่ยวอุทยานธรณีสตูล. วารสารวิชาการ
มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, 13(1), 67-83.
ธัญลักษณ์ สาวันดี. (2558). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการสิ่งแวดล้อมตามแนวพุทธขององค์การบริหารส่วนตำบลเพ จังหวัดระยอง [วิทยานิพนธ์
ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ปฐมพงษ์ จงศักดิ์สวัสดิ์. (2560). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์คลองเจดีย์บูชาบริเวณชุมชนริมคลอง เทศบาลนครนครปฐม จังหวัดนครปฐม.
[วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหิดล.
พระคำหล้า ชยวงศ์. (2561). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการน้ำของชุมชนบ้านศาลาดิน ตำบลมหาสวัสดิ์ อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม
[วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
แพรภัทร ยอดแก้ว. (2565, กรกฎาคม 7-8). แนวทางส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาคลองเจดีย์บูชา ตามแผนแม่บทบริหารจัดการและพัฒนาคลอง
เจดีย์บูชาอย่างยั่งยืน ระยะ 3 ปี (พ.ศ.2564-2566) [เอกสารนำเสนอ]. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 14.มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, นครปฐม,
ประเทศไทย.
ภัทรวรรธน์ วรเสฏฐ์ฐากูร (2562). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลจังหวัดบุรีรัมย์ [วิทยานิพนธ์ปริญญา
มหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.
วัชรินทร์ ครุฑชา. (2564). กระบวนการพัฒนาจิตอาสาอย่างยั่งยืนของชุมชนยายชา อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต].
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วายุภักษ์ วงศ์ศักดิรินทร์. (2565). ข้อเสนอเชิงนโยบายการจัดการพื้นที่คลองเจดีย์บูชาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของจังหวัดนครปฐม [วิทยานิพนธ์
ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2565). แผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2566 – 2570. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อม.
หน่วยราชการในพระองค์. (2566). ความเป็นมาของจิตอาสาพระราชทานตามแนวพระราชดำริ. https://www.royaloffice.th/

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม