การศึกษาสภาพปัญหาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาจีน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

ผู้แต่ง

  • นัฎฤดี ปั้นกิจวานิชเจริญ
  • วิภาวี วันละ
  • อารยา ศรีโภคา

คำสำคัญ:

การฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู, นักศึกษาสาขาวิชาภาษาจีน

บทคัดย่อ

        การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู สาขาวิชาภาษาจีน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู สาขาวิชาภาษาจีน จํานวน 30 คน และครูพี่เลี้ยง จำนวน 10 คน ซึ่งได้มาโดยการวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม โดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ข้อมูลทั่วไป สภาพปัญหาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู สาขาวิชาภาษาจีน และความคิดเห็นอื่น ๆ เกี่ยวกับการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) นักศึกษา ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ให้ความเห็นว่าปัญหาในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูที่พบอยู่ในระดับมาก คือ เรื่อง ตํารา หนังสือ เอกสารประกอบการเรียนการสอน (x ̅= 3.67) สื่อการจัดการเรียนรู้ (x ̅= 3.70) และการส่งการบ้านงาน ที่ได้รับมอบหมายของผู้เรียน (x ̅= 4.27) นอกจากนั้นสถานศึกษาหลายแห่งขาดตําราภาษาจีน และงบประมาณสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนภาษาจีน 2) ครูพี่เลี้ยงสะท้อนว่า เรื่อง สื่อ/กิจกรรมการจัดการเรียนรู้ (x ̅= 3.60) และการจัดการเรียนรู้ (x ̅= 3.50) ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู สาขาวิชาภาษาจีนพบปัญหาอยู่ในระดับมาก ทั้งนี้นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูมักใช้เอกสาร ตำรา และพาวเวอร์พ้อยท์ (Microsoft PowerPoint) ในการจัดการเรียนการสอนเป็นหลัก เน้นการสอนแบบบรรยาย มีสื่อการเรียนรู้ ที่น่าสนใจน้อย มีการอ่านออกเสียงผิด หลักไวยากรณ์ผิด แต่ด้านการครองตน นักศึกษา เป็นผู้มีจิตอาสา ช่วยเหลือกิจกรรม งานของโรงเรียนเป็นอย่างดี

References

กิตติมา เก่งเขตรกิจ, เกียรติศักดิ์ ล้วนมงคล, และอรอุมา สอนง่าย. (2563). การศึกษาสภาพปัญหาของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู สาขาศิลปศึกษา คณะ

ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. วารสารวิจัยรามคำแหง (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 23(1), 1-10.

ภัทรพร สิงห์ชัย และยุรวัฒน์ คล้ายมงคล. (2563). การวิจัยและพัฒนารูปแบบการเสริมสมรรถนะ การฝึกประสบการวิชาชีพครู สำหรับหน่วยฝึกประสบการณ์

วิชาชีพในโรงเรียน. คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. (2566). แผนยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม 2566-2570. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

มหาวิทยาลัยพะเยา, วิทยาลัยการศึกษา. (2562). คู่มือการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 3 หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษา (หลักสูตร 4 ปี ).

มหาวิทยาลัยพะเยา.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2559). รายงานการวิจัยเพื่อพัฒนาระบบการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทยสังเคราะห์ภาพรวม. พริกหวาน

กราฟฟิค.

American Association of Colleges for Teacher Education. (2010). The clinical preparation of teachers: A policy brief. American

Association of Colleges for Teacher Education.

Manzar-Abbas, S. S. & Lu, L. (2013). Keeping the practicum of Chinese preservice teacher education in world’s perspective.

International Journal of Academic Research in Business and Social Sciences, 3(4), 172-186.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-01-2025

How to Cite

ปั้นกิจวานิชเจริญ น. ., วันละ ว. . ., & ศรีโภคา อ. . (2025). การศึกษาสภาพปัญหาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาจีน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, 15(1), 67–78. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/HUSO-J/article/view/3800