การสร้างสรรค์การแสดง ชุด ระบำทำนาชาวสุรินทร์ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้วิถีชีวิตการปลูกข้าวของเกษตรกร ในโรงเรียนประสาทวิทยาคาร อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์
คำสำคัญ:
การสร้างสรรค์การแสดง, ส่งเสริมการเรียนรู้วิถีชีวิต, การปลูกข้าวของเกษตรกรบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากระบวนการปลูกข้าว ทำนา ของเกษตรกรในจังหวัดสุรินทร์ 2) เพื่อสร้างการแสดงชุด ระบำทำนาชาวสุรินทร์ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้วิถีชีวิตการปลูกข้าว ของเกษตรกร เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ที่เน้นการสร้างสรรค์นาฏศิลป์และการวิเคราะห์ ผลที่ได้จากการตอบแบบสอบถามการเรียนรู้ของนักเรียนมีเครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์องค์ความรู้จากการแสดง โดยมีกลุ่มตัวอย่าง/กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 3 จำนวน 30 คน แล้วนำข้อมูลที่รวบรวมได้จากแบบสอบถามมาวิเคราะห์ โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการปลูกข้าวในอดีตโดยเริ่มจากการไถนา การหว่านเมล็ดพันธุ์ การถอนต้นกล้า การปักดำนา การเกี่ยวข้าว การฟาดข้าว การสีข้าว และการฝัดข้าวแยกแกลบ นำมาสู่ผลการศึกษาที่ 2) ผลการสร้างสรรค์การแสดงชุดระบำทำนาชาวสุรินทร์ เป็นการนำเสนอขั้นตอนวิธีการทำนาปลูกข้าวในรูปแบบของการแสดง เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้วิถีชีวิตการปลูกข้าวของเกษตรกร ในโรงเรียนประสาทวิทยาคาร อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์
References
กัญญา อ่อนศรี, ผู้ใหญ่บ้าน. (2560). สัมภาษณ์. 18 มีนาคม.
ชมนาด กิจขันธ์. (2564). นาฏศิลป์สร้างสรรค์กับการพัฒนาวิทยฐานะของครู (ตอนที่ 1). วารสารพัฒนศิลปวิชาการ, 5(1), 5.
ณรงค์ชัย ปิฎกรัชต์. (2562). ทฤษฎีการสร้างสรรค์ศิลป์. วารสารวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 6(2), 246.
ธนวรรณ ธวัชวิบูลย์ และนิภาพร เฉลิมนิรันดร. (2561). ระบบการสอนของ สงัด อุทรานันท์ เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ทฤษฎีดนตรี สำหรับนักเรียนดุริยางค์ทหารอากาศ
ชั้นปีที่ 1. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, 9(2), 209-210.
นุจรินทร พลแสน และณุทชากร เกชณียาบุตร. (2564). การสร้างสรรค์ฟ้อนแพรวากาฬสินธุ์. วารสารพัฒนศิลปวิชาการ, 5(1), 83.
ปิยะดา เนียมสุวรรณ. (2564). การศึกษาการจัดการการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ในรูปแบบวิถีชีวิตใหม่ [สารนิพนธ์ปริญญา
มหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหิดล.
ภัคคพร พิมสาร และนราพงษ์ จรัสศรี. (2562). แนวทางสร้างสรรค์การออกแบบอุปกรณ์ประกอบการแสดงจากผลงานนาฏยศิลป์สร้างสรรค์ของนราพงษ์ จรัสศรี.
วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 11(2), 3.
มาเรียม นิลพันธุ์. (2558). วิธีวิจัยทางการศึกษา. ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ยุภาพร ไชยเมือง. (2557). ความสามารถในการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดในเขตภาคตะวันออกเฉียง
เหนือตอนล่าง [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.
ศศิมา นนทโส และนิตยา เปลื้องนุช. (2554). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยรูปแบบการสอนแบบทางตรง ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความคิดริเริ่ม
และความคิดเห็นของนักเรียน หน่วยการเรียนรู้เรื่อง การสร้างชิ้นงานจากโปรแกรมไมโครซอฟต์พับบลิชเชอร์ 2003 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น (มอดินแดง). วารสารศึกษาศาสตร์ฉบับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 5(2), 122-129.
สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จังหวัดสุรินทร์. (2567). ข้อมูลพื้นฐานจังหวัดสุรินทร์. https://surinlocal.go.th/public/list/data/ i
ndex/menu/1142
สุรพล วิรุฬห์รักษ์. (2543 ). นาฏยศิลป์ปริทรรศน์. ห้องภาพสุวรรณ.

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม