การจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน

ผู้แต่ง

  • ปฏิญญา จันทร์เพ็ญ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • ภัทรพรรณ พรหมคช คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

คำสำคัญ:

ห้องเรียนกลับด้าน, การสอนภาษาอังกฤษ, การจัดการเรียนรู้

บทคัดย่อ

        ภาษาอังกฤษถือเป็นภาษาที่สำคัญในการสื่อสารปัจจุบันและเป็นวิชาที่สำคัญของหลายประเทศ ส่งผลให้เกิดการคิดแนวการสอนภาษาอังกฤษมากมายซึ่งห้องเรียนกลับด้าน (flipped classroom) เป็นแนวการสอนที่เพิ่งเกิดขึ้นใหม่ในปี ค.ศ. 2007 และมีการกระบวนการสอนที่ตรงข้ามกับการสอนแบบเดิมอย่างสิ้นเชิง ซึ่งเป็นวิธีการสอนที่ให้ผู้เรียนเรียนรู้เนื้อหาจากที่บ้านและกลับมาทำกิจกรรมที่โรงเรียน ดังคำกล่าวที่ว่า “เรียนที่บ้านทำการบ้านที่โรงเรียน” รูปแบบการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านสามารถนำไปจัดการเรียนการสอนได้หลากหลายวิชา รวมทั้งวิชาภาษาอังกฤษซึ่งเป็นภาษาที่ต้องใช้เวลาในการเรียนและฝึกทักษะทางภาษาลักษณะของรูปแบบการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านจะเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (child-centered learning) เนื่องจากนักเรียนเรียนรู้เนื้อหาเมื่อใด เวลาใดก็ได้ที่บ้าน และเป็นการเรียนผ่านการลงมือปฏิบัติ (active learning) โดยนักเรียนจะได้ลงมือปฏิบัติเข้าร่วมการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในห้องเรียน ที่ครูได้ออกแบบไว้เพื่อเป็นการสรุปและนำความรู้ที่ได้จาการศึกษามาประยุกต์ใช้เป็นผลงานหรือทักษะทางภาษา แต่อย่างไรก็ตามการสอนภาษาอังกฤษตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน ต้องคำนึงถึงปัจจัยหลาย ๆ อย่าง ต้องอาศัยความสามารถของครูเป็นอย่างมากรวมถึงการปรับตัวและความผิดชอบของนักเรียน เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนนั้นประสบความสำเร็จ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

03/31/2023