การพัฒนาทักษะในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ทฤษฎีบทพีทาโกรัส สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้โปรแกรม GeoGebra ประกอบการจัดการ เรียนรู้แบบ (KWDL)

ผู้แต่ง

  • ศิริลักษณ์ ภักดีรักษ์ นักศึกษาปริญญาตรี สาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์และนวัตกรรมศึกษา มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
  • วรรณธิดา ยลวิลาศ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์และนวัตกรรมศึกษา มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
  • นพคุณ ทองมวล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ สังกัดคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

คำสำคัญ:

KWDL, โปรแกรม GeoGebra, การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาทักษะในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ทฤษฎีบทพีทาโกรัส สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้โปรแกรม GeoGebra ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบ (KWDL) โดยมีจำนวนนักเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 มีคะแนนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ขึ้นไป และ 2) ศึกษาความพึงพอใจในการจัดการเรียนรู้โดยใช้โปรแกรม GeoGebra ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบ (KWDL) กับเกณฑ์ที่กำหนด กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนดงมูลวิทยาคม อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 30 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่มเครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบสอบถามความพึงพอใจ และแบบทดสอบวัดทักษะในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที

ผลการวิจัยพบว่า

1. การพัฒนาทักษะในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ทฤษฎีบทพีทาโกรัส โดยใช้โปรแกรม GeoGebra ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบ (KWDL) โดยมีจำนวนนักเรียนคิดเป็นร้อยละ 100 มีคะแนนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ขึ้นไป

2. ความพึงพอใจที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ทฤษฎีบทพีทาโกรัส โดยใช้โปรแกรม GeoGebra ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบ (KWDL) อยู่ในระดับมาก สูงกว่าเกณฑ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดเเละสาระการเรียนรู้เเกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์(ฉบับปรับปรุง 2560). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรเเห่งประเทศไทย จำกัด.

นัฐฐนิภา ประทุมชาติ. (2560). พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับเทคนิค KWDL เรื่อง เศษส่วนและการประยุกต์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารศึกษาศาสตร์, 28(3).

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1 (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงทพฯ: สุวีริยาสาส์น.พงศักดิ์ วุฒิสันต์. 5 มีนาคม 2560. GeoGebra อีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจของครูคณิตศาสตร์. https://searchlib.utcc.ac.th/library/onlinethesis/264692.pdf

ภัทรวดี สุภัทโรขล. (2557). การพัฒนาบทเรียนปฏิบัติการโดยใช้โปรแกรม The Geometer's Sketchpad (GSP) ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง พาราโบลา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. [วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต, บันฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา]

สมนึก ภัททิยธนี. (2555). การวัดผลการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 9). กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.

สุกฤษฎิ์ ชุมภูจันทร์. (2563). การพัฒนาความสามารถในการเเก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์โดยใช้การจัดการเรียนรู้เเบบนิรนัยร่วมกับโปรเเกรมจีโอจีบร้า เรื่อง การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. [วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต, บันฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหาสารคาม].

Lohitya, U., Mounnamprang, P. & Borvonphongsakul, S. (2012). The result of learning of syndicate and KWDL-technique in development of achievement the problem solving for Prathomsuksa III (in Thai). Journal of Graduate Studies Valaya Alongkorn Rajabhat University, 6(1).

Ogle, D. M. (1986). K-W-L: A teaching model that develops active reading of expository text. Reading Teacher, 39(6).

Preiner, J. (2008). Dynamic Mathematics Software to Mathematics Teachers: The Case of GeoGebra. Dissertation in Mathematics Education, Faculty of Natural Sciences, University of Salzburg.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

12/31/2023