การพัฒนาแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคลแบบมีส่วนร่วมสำหรับเด็กพิเศษในภาวการณ์ระบาดไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019

ผู้แต่ง

  • อทิตยา ใจเตี้ย โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
  • สามารถ ใจเตี้ย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

คำสำคัญ:

แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล, ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019, เด็กพิเศษ

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธีนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินผลสัมฤทธิ์แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคลสำหรับเด็กพิเศษในภาวะการณ์ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 โดยการมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้อง กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กพิเศษห้องเรียนเด็กพิเศษ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 8 คน และผู้ส่วนได้เสียในการจัดการเรียนการสอนเด็กพิเศษ จำนวน 11 คน เครื่องมือการวิจัยเป็นแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคลสำหรับเด็กพิเศษ และแบบประเมินพัฒนาเด็กที่มีความต้องการพิเศษ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติทดสอบ Wilcoxon Signed Rank Test

ผลการวิจัยพบว่า ค่าคะแนนพัฒนาการทั้ง 6 ด้านเฉลี่ยหลังทดลองใช้แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคลสำหรับเด็กพิเศษการเพิ่มขึ้นก่อนทดลองใช้แผนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 (p = 0.012) จึงอาจสรุปได้ว่าแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคลสำหรับเด็กพิเศษที่พัฒนาขึ้นอาจจะช่วยเสริมสร้างพัฒนาการของเด็กพิเศษในภาวะการณ์ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ได้

References

ปิยะวรรณ ปานโต. (2566). การจัดการเรียนการสอนของไทยภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID–19). https://library.parliament.go.th/th/radioscript/rr2563-jun5

นภาวัลย์ ซิ่วนัส ทรงศรี ตุ่นทอง และทิพวัลย์ คำคง. (2562). การพัฒนาแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคลเพื่อพัฒนาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 6 จังหวัดลพบุรี. วารสารลวะศรี, 3(1).

มานพ พูลสำราญ .(2550). ความสำคัญของการจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล. http://www.specialed-center1.com/page/wichakaniep.html

สมเกตุ อุทธโยธา. (2552). การพัฒนาการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมระหว่างเด็กที่มีความต้องการพิเศษกับเด็กปกติในโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. เชียงใหม่. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

อทิตยา ใจเตี้ย. (2554). การพัฒนาแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคลสำหรับเด็กพิเศษโดยการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้อง: ศูนย์พัฒนาการมนุษย์และบุคคลที่มีความพิการ คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. วารสารวิจัยราชภัฏเชียงใหม่, 12(2).

Ackin, F. N. (2020). Identification of the processes of preparing individualized education programs (IEP) by special education teachers, and of problems encountered therein. Education Research and Reviews, 17(1). https://doi:10.5897/ERR2021.4217

Christine A. C., & Mitchell L. Y. (2010). Individualized education programs: legal requirements and research findings. A Special Education Journal, 18(3). https://doi.org/10.1080/09362835.2010.491740

Jordan, A. F., Lisa, A. R., & John, H. M. (2022). Individualized education program quality for transition age students with autism. Research in Autism Spectrum Disorders, 91, 101900. https://doi.org/10.1016/j.rasd.2021.101900

Kate, Julie, N. C., Mary, R., & Patrick, R. (2017). Rethinking the individualized education plan process: voices from the other side of the table. Disability & Society, 32(3). https://doi.org/10.1080/09687599.2017.1294048

Nastiti, A., & Azizah, N. (2019). A review on individualized educational program in some Countries. https://www.researchgate.net/publication/332837030_A_Review_on_Individualized_Educational_Program_in_Some_Countries

University of Washington. (2022). What is an Individualized Education Plan?. https://www.washington.edu/accesscomputing/what-individualized-education-plan

Downloads

เผยแพร่แล้ว

12/31/2023