ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • เนตรนภิส สุขปลั่ง นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • สีตลา สิงห์มโน นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • ณัฐวุฒิ บุญนาค นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • ชาญชัย วงศ์สิรสวัสดิ์ ที่ปรึกษา อาจารย์ประจำสาขาวิชานวัตกรรมการบริหารการศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

คำสำคัญ:

ทักษะการบริหาร, ผู้บริหารสถานศึกษา, ความต้องการจำเป็น

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพที่เป็นจริงและสภาพที่ควรจะเป็นในการพัฒนาทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี และ 2) จัดลำดับความต้องการจำเป็นในการพัฒนาทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี โดยกำหนดขนาดตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยโดยใช้ตารางของ de Vaus ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 250 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ชนิด 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิธีการวิเคราะห์ PNImodified

ผลการวิจัยพบว่า

  1. ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาทักษะของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี ในสภาพที่เป็นจริงและสภาพที่ควรจะเป็น มีความแตกต่างกัน โดยสภาพที่ควรจะเป็นมีค่าเฉลี่ยมากกว่าสภาพที่เป็นจริงทั้งภาพรวมและรายด้าน
  2. ผลการจัดลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นในการพัฒนาทักษะของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี พบว่า ค่าดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นมากที่สุด คือ (1) ทักษะทางมนุษย์ รองลงมาคือ (2) ทักษะด้านความรู้ความคิด (3) ทักษะทางความคิดรวบยอด (4) ทักษะทางด้านเทคนิค และ (5) ทักษะทางการศึกษาและการสอน ตามลำดับ

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). แนวทางการเปิดเรียน On site. https://drive.google.com/file/d/1CHRDdjCGcNSDr1JxKeo6kybynDx_KdnR/view

คำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. (2564, 15 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา.

โชษิตา ศิริมั่น. (2564, 24 มีนาคม). ทักษะการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารในภาวะวิกฤตโควิด-19 ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31 [เอกสารนำเสนอ]. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 8: เรื่อง สู่ชีวิตวิถีใหม่ด้วยงานวิจัยทางสุขภาพและบริการ, นครราชสีมา, ประเทศไทย.

วิทยา คีรีกุลไพศาล และธีรศักดิ์ อุปไมยอธิชัย. (2565). ความต้องการจําเป็นด้านทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาในสถานการณ์โควิดสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 2. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(2), 299-310.

สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). คู่มือการจัดการโรงเรียนรับมือโควิด-19. ออนไลน์. https://drive.google.com/file/d

Harris, B. M. (1963). Supervisory Behavior in Education. New Jersey: Prentice-Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

05/01/2024