การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของทักษะการทำงานที่หลากหลายของบุคลากรสายสนับสนุน

ผู้แต่ง

  • พรพรรณ ยอดเมือง คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก
  • วิชาดา พิมสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก
  • ธนัญญา เสริมชูธรรม คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก
  • วรัญญา อุบลคำ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก
  • ณัฐกานต์ ประจันบาน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก

คำสำคัญ:

การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน, โมเดลองค์ประกอบ, ทักษะที่หลากหลาย, บุคลากรสายสนับสนุน

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโมเดลองค์ประกอบการพัฒนาทักษะการทำงานที่หลากหลายของบุคลากรสายสนับสนุนในมหาวิทยาลัยนเรศวร และเพื่อตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของโมเดลองค์ประกอบการพัฒนาทักษะการทำงานที่หลากหลายของบุคลากรสายสนับสนุนในมหาวิทยาลัยนเรศวร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นบุคลากรสายสนับสนุนในมหาวิทยาลัยนเรศวร จำนวน 350 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 25 ข้อ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.851 และทำการวิเคราะห์ตรวจสอบองค์ประกอบเชิงยืนยันด้วยโปรแกรม M-plus

ผลการวิจัยพบว่า โมเดลการวัดทักษะการทำงานที่หลากหลายของบุคลากรสายสนับสนุนในมหาวิทยาลัยนเรศวร ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ทักษะการสื่อสารด้านภาษา 2) ทักษะการคิดวิเคราะห์ 3) ทักษะการบริหารจัดการ 4) ทักษะการทำงานเป็นทีม และ 5) ทักษะด้านการใช้สื่อและเทคโนโลยี ซึ่งมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาจากค่าดัชนีความสอดคล้อง คือ = 75.447, df = 59, p–value = 0.0732, RMSEA = 0.028, CFI = 0.998, TLI = 0.991, SRMR = 0.040 มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบตั้งแต่ 0.340 ถึง 0.999 และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทุกตัว แสดงว่าโมเดลการวัดทักษะการทำงานที่หลากหลายของบุคลากรสายสนับสนุนในมหาวิทยาลัยนเรศวร   มีความตรงเชิงโครงสร้าง และองค์ประกอบแต่ละตัวร่วมกันอธิบายความผันแปรได้ร้อยละ 11.6 ถึง 99.8

References

จุฑามาศ เตชะภัททวรกุล. (2563). แนวทางการเตรียมความพร้อมเพื่อส่งเสริมทักษะการทำงานที่หลากหลายของนักศึกษาครูในยุคดิจิทัล [วิทยานิพนธ์ปริญญาโท]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. https://shorturl.at/frLOU

ชุติมา ไชยแสน. (2563). การศึกษาทักษะที่พึงประสงค์ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ประจำปีการศึกษา 2562 [วิทยานิพนธ์ปริญญาโท]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. http://sutir.sut.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/8677

Daniel Soper. (2023). A-priori Sample Size Calculator for Structural Equation Models. https://www.danielsoper.com/statcalc/calculator.aspx?id=89

Jobmyway. (2566). ทำยังไงให้กลายเป็นคนที่มี Multi-skill. https://shorturl.at/kDHOU

JobsDB. (2565). ทำงานแบบ Multitasking คืออะไร? เหมาะกับใคร เราควรทำงานแบบนี้ไหมนะ. https://rb.gy/egpry1

Downloads

เผยแพร่แล้ว

05/01/2024