การพัฒนาความสามารถในการคิดคำนวณทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและการลบจำนวนเต็ม โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบอุปนัยร่วมกับการใช้ บทเรียนมัลติมีเดีย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

ผู้แต่ง

  • เบญจมาศ สิงห์ธวัช นักศึกษาปริญญาตรี สาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์และนวัตกรรมการศึกษา มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
  • วรรณธิดา ยลวิลาศ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์และนวัตกรรมการศึกษา มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้แบบอุปนัย, บทเรียนมัลติมีเดีย, ความสามารถในการคิดคำนวณทาง คณิตศาสตร์, การบวกจำนวนเต็ม, การลบจำนวนเต็ม

บทคัดย่อ

 งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดคำนวณทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและการลบจำนวนเต็ม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบอุปนัยร่วมกับการใช้บทเรียนมัลติมีเดีย ให้มีคะแนนอย่างน้อยร้อยละ 70 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัยมศึกษาปีที่ 1/3 จำนวน 30 คน โรงเรียนนามนพิทยาคม อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้มีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 4.83-4.96 2) แบบทดสอบความสามารถในการคิดคำนวณทาง 3) แบบบันทึกหลังการสอน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 

 ผลการวิจัยพบว่า ความสามารถในการคิดคำนวณทางคณิตศาสตร์ หลังการจัดการเรียนรู้แบบอุปนัยร่วมกับการใช้บทเรียนมัลติมีเดียเพิ่มขึ้น โดยในวงจรปฏิบัติการที่ 1 มีนักเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 จำนวน 22 คน คิดเป็นร้อยละ 73.33 วงจรปฏิบัติการที่ 2 มีนักเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 จำนวน 25 คน คิดเป็นร้อยละ 83.33 และวงจรปฏิบัติการที่ 3 มีนักเรียนผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 70 จำนวน 28 คน คิดเป็นร้อยละ 93.33 การจัดการเรียนรู้แบบอุปนัยร่วมกับการใช้บทเรียนมัลติมีเดีย สามารถช่วยพัฒนาความสามารถในการคิดคำนวณทางคณิตศาสตร์เรื่องการบวกและการลบจำนวนเต็มของนักเรียนให้ดีขึ้น

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

โครงการ PISA ประเทศไทย สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2556). ผลการประเมิน PISA 2012 คณิตศาสตร์ การอ่าน และวิทยาศาสตร์ บทสรุปสำหรับผู้บริหาร. กรุงเทพฯ: แอดวานซ์ พริ้นติ้ง เซอร์วิส จำกัด.

ชาญชัย ยมดิษฐ์. (2548). เทคนิคและวิธีการสอนร่วมสมัย. กรุงเทพฯ: หลักพิมพ์.

ณรงค์ ปุณนิ่ม. (2563) ครูมืออาชีพ https://ajnawarut .files. เวิร์ดเพรส.คอมณรงค์ ปุณนิ่ม.

ทิศนา แขมมณี. (2553). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มนัสนิต ใจดี, ชนัฎนภา พิทยานุรักษ์ และวิมาน ใจดี. (2563). ผลการใช้ m-Learning วิชาเทคโนโลยี (วิทยาการ คำนวณ) ร่วมกับการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐานเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสงวนหญิง. ศึกษาศาสตร์ มมร, 10(1), 308.

ยศธร ศรีเมือง และสาวิตรี ราญมีชัย. (2566). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์เรื่องทศนิยม โดยการจัดการเรียนรู้แบบอุปนัยร่วมกับแบบฝึกทักษะ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และนวัตกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์, 2(2), 11.

วิไลวรรณ พงษ์ชุบ. (2553). การเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานกับแบบสืบเสาะหาความรู้. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา พระนครศรีอยุธยา.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2566). สรุปผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2565.

http://www.newonetresult.niets.or.th/AnnouncementWeb/PDF/SummaryONETM3_2565

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2551). ตัวอย่างการประเมินผลวิทยาศาสตร์นานาชาติ: PISA และ TIMSS. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์

สำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้. (2550). การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน. กรุงเทพมหานคร: สำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้.

Hergenhahn, B. R. (1993). dan Olson. MH.

Kemmis, S and McTaggart, R. (1988). The Action Research Planer (3rd ed.). Victoria: Deakin University.

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. (2007). Summary Report of research project TIMSS 2007. Bangkok, Thailand.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

05/01/2024