การวิเคราะห์งานวรรณกรรมเรื่องนอกเหตุเหนือผลของพระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท) ด้วยพื้นฐานการตีความ

Main Article Content

วิพจน์ วันคำ
เอกพงศ์ พัฒนากุล
กานต์ กาญจนพิมาย

บทคัดย่อ

บทความชิ้นนี้มีจุดประสงค์เพื่อวิเคราะห์งานวรรณกรรมเรื่องนอกเหตุเหนือผลของพระโพธิญาณเถร                 (ชา สุภทฺโท) ด้วยพื้นฐานการตีความ จากการศึกษาพบว่า หลักในการตีความที่ใช้เป็นพื้นฐานในการวิเคราะห์นั้น แบ่งออกเป็น 3 หัวข้อ คือ 1) เจตนาในการส่งสาร ประกอบด้วยรูปแบบประโยคบอกเล่าและคำถาม 2) การใช้ถ้อยคำ ประกอบด้วยการหาความหมาย 3 แบบ คือ ความหมายตรง ความหมายโดยนัยและความหมายเปรียบเทียบ และ 3) ทัศนคติ มี 4 หัวข้อย่อยคือ การประชดประชัน การประณาม การชื่นชม และการปลุกเร้า ซึ่งหลักการทั้ง 3 ข้อนี้ส่งผลให้การตีความงานวรรณกรรมจากบันทึกคำสอนของพระโพธิญาณเถระนั้นตรงกับเจตนาและความหมายที่ท่านได้สื่อทิ้งไว้ให้เข้าใจได้ไม่ผิดประเด็น

Downloads

Article Details

How to Cite
วันคำ ว., พัฒนากุล เ., & กาญจนพิมาย ก. (2022). การวิเคราะห์งานวรรณกรรมเรื่องนอกเหตุเหนือผลของพระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท) ด้วยพื้นฐานการตีความ. วารสารศิลปะและวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำมูล, 11(2), 49–57. https://doi.org/10.14456/acj.2022.11
บท
บทความวิชาการ
Bookmark and Share

References

ดียู ศรีนราวัฒน์. (2559). ภาษาและภาษาศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท). (2559). 48 พระธรรมเทศนา มรดกธรรมเล่มที่ 37. นครปฐม : สาละพิมพการ.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2548). พจนานุกรมศัพท์ปรัชญาอังกฤษ – ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ : ศักดิโสภาการพิมพ์.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2554). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : นานมีบุคส์พับลิเกชัน.

สมบัติ พรศิริเจริญพันธ์. (2559). เฮอร์เมนูติกส์: ศาสตร์แห่งการตีความและศิลปะแห่งการเข้าใจ. นนทบุรี : วัชรินทร์ พี.พี.

โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์. (2552). ปรัชญาภาษา. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.