คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ สาขาวิชาเอกนาฏศิลป์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏ

นัยน์ปพร ชุติภาดา
Thailand
สุรีรัตน์ จีนพงษ์
Thailand
คำสำคัญ: คุณลักษณะบัณฑิต, สาขาวิชาเอกนาฏศิลป์ศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏ
เผยแพร่แล้ว: เม.ย. 28, 2025

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ และเพื่อศึกษาแนวทางพัฒนาคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ สาขานาฏศิลป์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏ โดยใช้การวิจัยรูปแบบผสมผสาน การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยด้วยวิธีแบบเจาะจงกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหาร 12 คน อาจารย์ 47 คน ครูผู้สอนนาฏศิลป์ 288 คน นักศึกษาชั้นปีที่ 4 และ5 ที่กำลังฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู 288 คน ศิษย์เก่า 317 คน ผู้ใช้บัณฑิต 86 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ ตรวจสอบคุณภาพแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์โดยผู้เชี่ยวชาญ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน รวมถึงการวิเคราะห์เนื้อหาจากการตอบคำถามแบบปลายเปิดและการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ และนำประเด็นคำตอบที่แยกเป็นหมวดหมู่มาสังเคราะห์สรุปเรียบเรียงประโยคขึ้นใหม่ ผลการวิจัยพบว่าความต้องการคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ในสภาพที่พึงประสงค์ ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (equation  = 4.61) แต่หากจัดเรียงลำดับความต้องการคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ในสภาพที่พึงประสงค์ สามารถเรียงลำดับความสำคัญจากมากไปหาน้อย ได้ดังนี้ 1. ด้านคุณธรรม จริยธรรม มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด (equation  = 4.76) 2. ด้านบุคลิกภาพ อยู่ในระดับมากที่สุด (equation  = 4.73) 3. ด้านทักษะอารมณ์และสังคม อยู่ในระดับมากที่สุด (equation  = 4.72) 4. ด้านพัฒนาตนเอง อยู่ในระดับมากที่สุด (equation  = 4.67) 5. ด้านรักษ์ศิลปะวัฒนธรรมท้องถิ่น อยู่ในระดับมากที่สุด (equation  = 4.66) 6. ด้านการสื่อสาร อยู่ในระดับมากที่สุด (equation  = 4.60) และ 7. ด้านการสอน อยู่ในระดับมากที่สุด (equation  = 4.53) ตามลำดับ ทั้งนี้ผู้ใช้บัณฑิต ครูผู้สอน ศิษย์เก่า ผู้บริหารและอาจารย์ ยังได้ให้ข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาคุณลักษณะบัณฑิต ดังนี้ ส่งเสริมทักษะการเป็นผู้ประกอบการ เพิ่มรายวิชาที่ครอบคลุมไปถึงรายวิชาดนตรี – ศิลปะ ส่งเสริมทักษะการออกแบบการบูรณาการนาฏศิลป์เข้ากับรายวิชาอื่น ๆ จัดหาผู้เชี่ยวชาญที่มีองค์ความรู้ด้านนาฏศิลป์ไทยและนาฏศิลป์สากล การคัดเลือกเยาวชนที่มีความสามารถทางด้านนาฏศิลป์และการให้การสนับสนุนทุนการศึกษา

Downloads

Article Details

How to Cite

ชุติภาดา น., & จีนพงษ์ ส. (2025). คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ สาขาวิชาเอกนาฏศิลป์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏ. วารสารศิลปะและวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำมูล, 14(1), 102–116. https://doi.org/10.14456/acj.2025.8

บท

บทความวิจัย

หมวดหมู่

References

กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2566). แผนปฏิบัติการเชิงยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏ ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 - 2570). สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมแห่งชาติ.

ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562 (2562, 20 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 ตอนพิเศษ 68 ง, 18.

นิวัตต์ น้อยมณี, กัญภร เอี่ยมพญา, อภิชาติ อนุกูลเวช,ดาวประกาย ระโส, และ กนกวรรณ โกนาคม. (2565). แนวทางการพัฒนาคุณลักษณะของครูที่พึงประสงค์สอดคล้องกับสภาวการณ์ตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาชาติ. วารสารสิรินธรปริทรรศน์, 23(1), 103 – 116.

บุญชุม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). สุวีริยาสาส์น.

ฝ่ายข่าวหน้า1. (2566). ดัชนีครูไทย ปี2565 “พลังครูคือ หัวใจของการพลิกโฉมคุณภาพการศึกษา”. https://dusitpoll.dusit.ac.th/UPLOAD_FILES/POLL/2566/PS-2566-1673749811.pdf.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 (2545, 19 ธันวาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 119 ตอนที่ 123 ก, 16.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 (2542, 19 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 116 ตอนที่ 74 ก, 1.

ภูริ วงศ์วิเชียร, สุนทรา โตบัว, และ ศุภชัย จันทร์สุวรรณ์. (2558). อนาคตภาพของคุณลักษณะบัณฑิตวิชาชีพครู สาขานาฏศิลป์ไทย ในทศวรรษหน้า (พ.ศ. 2560 – 2569). Veridian E-Journal, Silpakorn University สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ, 8(2), 613–627.

มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาครุศาสตร์และสาขาศึกษาศาสตร์ (หลักสูตร 4 ปี) พ.ศ. 2562 (2562, 6 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 ตอนพิเศษ 56 ง, 12.

มารยาท โยทองยศ และ ปราณี สวัสดิสรรพ์. (ม.ป.ป). การกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างเพื่อการวิจัย. http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/bitstream/123456789/1580/3/เอกสารหมายเลข2.pdf.

วราภรณ์ ศรีอยุธย์. (2565). การสร้างเสริมคุณลักษณะความเป็นครูของนักศึกษา สาขาวิชาการประถมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร, 13(1), 71 – 82.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). คู่มือประเมินสมรรถนะครูสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2553. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

Australian Institute for Teaching and School Leadership. (2018). Australian Professional Standards for Teachers. https://www.aitsl.edu.au/docs/default-source/national-policy-framework/australian-professional-standards-for-teachers.pdf.

Department of Education. (2011). Teachers’ Standards. https://assets.publishing.service.gov.uk/media/5a750668ed915d3c7d529cad/Teachers_standard_information.pdf.

Dewi, A. E. R., Kalil, N. C., Hidayat, H., & Juniati, S. R. (2024). Exploring the Relationship between Teacher Professional Development and Student Learning Outcomes. Journal of Pedagogi, 1(5), 109 – 116. https://doi.org/10.62872/a5xyk576.

National Institute of Education. (2009). A Teacher Education Model for the 21st Century. https://singteach.nie.edu.sg/wp-content/uploads/TE21-online-version.pdf.