การพัฒนาทักษะการปฏิบัติรำวงมาตรฐาน รายวิชานาฏศิลป์โดยใช้สื่อวีดิทัศน์ร่วมกับ ห้องเรียนกลับด้าน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านริมใต้

ผู้แต่ง

  • กิตติยา จารุจินดา นักศึกษาปริญญาโท สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่
  • วีระศักดิ์ ชมภูคำ รองศาสตราจารย์ ดร. ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะสังคมและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่

คำสำคัญ:

ทักษะการปฏิบัติรำวงมาตรฐาน , สื่อวีดิทัศน์ , ห้องเรียนกลับด้าน

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและประเมินความเหมาะสมของสื่อวีดิทัศน์ร่วมกับห้องเรียนกลับด้าน สำหรับพัฒนาทักษะการปฏิบัติรำวงมาตรฐาน รายวิชานาฏศิลป์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านริมใต้และ 2) ศึกษาผลการพัฒนาทักษะการปฏิบัติรำวงมาตรฐานหลังการใช้สื่อวีดิทัศน์ร่วมกับห้องเรียนกลับด้าน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านริมใต้ โดยใช้รูปแบบการวิจัยปฏิบัติการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านริมใต้ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 25 คน โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) สื่อวีดิทัศน์ร่วมกับห้องเรียนกลับด้าน  2) แบบประเมินความเหมาะสมของสื่อวีดิทัศน์ร่วมกับห้องเรียนกลับด้าน  3) แบบประเมินทักษะการปฏิบัติรำวงมาตรฐานแบบรูบริค สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

          ผลการวิจัยพบว่า 1) ความเหมาะสมของสื่อวีดิทัศน์ร่วมกับห้องเรียนกลับด้าน สำหรับพัฒนาทักษะการปฏิบัติรำวงมาตรฐาน มีรายประเมินได้แก่ ด้านเนื้อหาสาระ ด้านกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านสื่อการเรียนรู้ ด้านการวัดและประเมินผล ด้านรูปแบบของสื่อวีดิทัศน์ร่วมกับห้องเรียนกลับด้าน จำนวน 5 ชุด แต่ละชุดมีค่าเฉลี่ยรวมมากกว่า 4.8 และทุกชุดมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานไม่เกิน 0.5  2) การพัฒนาทักษะการปฏิบัติรำวงมาตรฐานหลังการใช้สื่อวีดิทัศน์ร่วมกับห้องเรียนกลับด้าน มีค่าคะแนนเฉลี่ยรวมการปฏิบัติท่ารำวงมาตรฐานของนักเรียนในแต่ละทักษะอยู่ในระดับดีมาก 4 ทักษะ ได้แก่ (1) ทักษะการปฏิบัติท่าเอียงศีรษะและลำตัว (gif.latex?\bar{x} = 41.20, S.D. = 0.96) (2) ทักษะการปฏิบัติท่ามือ (gif.latex?\bar{x}= 40.28, S.D. = 1.34)  (3) ทักษะการปฏิบัติท่าเอียงศีรษะ ลำตัวและมือ (gif.latex?\bar{x} = 40.56, S.D. = 1.33) (4) ทักษะการปฏิบัติท่ารวมศีรษะจรดเท้า (gif.latex?\bar{x} = 40.96, S.D. = 1.02) และ อยู่ในระดับดี 1 ทักษะ ได้แก่ ทักษะการปฏิบัติท่าเท้า (gif.latex?\bar{x} = 39.64, S.D. = 1.63) โดยทุกทักษะท่ารำวงมาตรฐานมีค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานใกล้เคียงกัน

Downloads

References

กระทรวงวัฒนธรรม. (2557). ประกาศกระทรวงวัฒนธรรม เรื่อง ขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ของชาติ ประจำปีพุทธศักราช 2557. https://www.ich-thailand.org/api/v1/uploads/unsorted/20230404145606_06-pii-2557-cchamnwn-68-raaykaar.pdf

กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ(ฉบับที่ 4) พ.ศ.2562. https://www.moe.go.th

ทรูปลูกปัญญาดอทคอม. (2564). รำวงมาตรฐานเพลงคืนเดือน. https://www.trueplookpanya.com/learning/detail/12747

พิชญ์สินี ชมภูคำ. (2565). การวิจัยหลักสูตรและการสอน. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาร์อิสเทอร์น.

พิมพ์พรลภัส ลักษณะวิเชียร, ทิพรัตน์ สิทธิวงศ์, และกิตติพงษ์ พุ่มพวง. (2562). ห้องเรียนกลับด้าน :นาฏศิลป์ไทยในศตวรรษที่ 21. วารสารกลุ่มมนุษยศาสตร์ – สังคมศาสตร์, 2(2). 56–66.https://ejournals.swu.ac.th/index.php/cemt/article/view/11998

มณิศา วศินารมณ์. (2565). อำนาจ วัฒนธรรม : รำวงมาตรฐาน. วารสารวิพิธพัฒนศิลป์, 2(2). 49–67. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/WIPIT/issue/view/17316

รุสนี กาแมแล. (2564). สื่อวีดิทัศน์เพื่อการศึกษา. https://elearning.yru.ac.th/home/pluginfile.php/20788/modresource/content/2/หน่วยที่2 สื่อวิดีทัศน์เพื่อการศึกษา

สรัญญา จันทร์ชูสกุล และพินดา วราสุนันท์. (2563). การประเมินทักษะการปฏิบัติ : จากหลักการสู่แนวทางการปฏิบัติ. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 26(2). 36 – 56.

ส่วนเทคโนโลยีทางการศึกษา ฝ่ายนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ สสวท. (2562, 11 เมษายน). คู่มือปฏิบัติงานการผลิตวีดิทัศน์. http://ita.ipst.ac.th/wp-content/uploads/sites/77/2019/06/คู่มือการผลิตวีดิทัศน์-ฝ่ายนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้.pdf

สำนักการสังคีต. (2562). รำวงมาตรฐาน. https://www.finearts.go.th/performing/view/6954-รำวงมาตรฐาน.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2566). แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ.2566- 2580 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม. http://nscr.nesdc.go.th/master-plans/

อภัสรา ไชยจิตร์ และณมน จีรังสุวรรณ. (2558). Flipped Classroom : เรียนที่บ้านทำการบ้านที่โรงเรียน. วารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา, 27(94). 21-26.

James Bellanca, & Ron Brandt. (2010). 21st Century Skills : Rethinking How Students Learn. http://dspace.vnbrims.org:13000/jspui/bitstream/123456789/4209/1/21stCentury Skills Rethinking How Students Learn.pdf

Jonathan Bergmann, &Aron Sams. (2012). Flip your classroom : reach every student in every class every day. International Society for Technology in Education. https://www.rcboe.org/cms/lib/ga01903614/centricity/domain/15451/flip_your_classroom.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

04/23/2024

How to Cite

จารุจินดา ก. ., & ชมภูคำ ว. . (2024). การพัฒนาทักษะการปฏิบัติรำวงมาตรฐาน รายวิชานาฏศิลป์โดยใช้สื่อวีดิทัศน์ร่วมกับ ห้องเรียนกลับด้าน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านริมใต้. วารสารครุศาสตร์ ราชภัฏเชียงใหม่, 3(1), 71–88. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/cmredujo/article/view/3859