จริยธรรมการตีพิมพ์
จริยธรรมของการเผยแพร่ผลงาน (Publication Ethics)
ในการประเมินผลงานที่จะมีการเผยแพร่ในวารสารนั้น ทางกองบรรณาธิการจะแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อพิจารณาคุณภาพของบทความทุกบทความ อย่างน้อย 3 ท่าน ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะสาขาวิชานั้น ๆ หรือใกล้เคียงกับเนื้อหาของบทความ อีกทั้งจะต้องไม่เป็นผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้แต่งบทความนั้น
การประเมินดำเนินการในรูปแบบ double blinded คือ มีการปกปิดชื่อของผู้แต่งบทความแก่ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้เขียนจะไม่ทราบชื่อของผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับมอบหมายให้ประเมินบทความนั้น ๆ
ผลการประเมินมี 4 แบบ คือ 1. ยอมรับการตีพิมพ์บทความ 2. ขอให้มีการแก้ไข 3. ส่งใหม่เพื่อประเมินอีกครั้ง 4. ปฏิเสธการรับตีพิมพ์บทความ ดังนั้น เพื่อให้การเผยแพร่ สื่อสารผลงานทางวิชาการเป็นไปอย่างถูกต้อง สอดคล้องกับมาตรฐานการตีพิมพ์นานาชาติ ทางกองบรรณาธิการจึงได้กำหนดจริยธรรมของการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยไว้สำหรับการดำเนินงานของวารสาร ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะต้องปฏิบัติตามหลักการและมาตรฐานด้านจริยธรรมในการตีพิมพ์อย่างเคร่งครัด ตามบทบาทหน้าที่ ดังนี้
บทบาทหน้าที่ของบรรณาธิการ (Editor Ethic)
1. พิจารณาและตรวจสอบเนื้อหาของบทความที่ส่งมาเพื่อเข้ารับการพิจารณาเผยแพร่ลงในวารสารครุศาสตร์ ราชภัฏเชียงใหม่ ทุกบทความ โดยพิจารณาเนื้อหาบทความที่สอดคล้องกับเป้าหมายและขอบเขตของวารสาร
2. กำหนดผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อย 2-3 ท่าน โดยเลือกให้สอดคล้องกับเนื้อหาบทความที่ส่งเข้าเพื่อรับการเผยแพร่
3. ตรวจสอบคุณภาพบทความในทุกกระบวนการประเมินและคุณภาพบทความก่อนการเผยแพร่
4. ในการพิจารณาบทความทุกครั้งโดยปราศจากอคติที่มีต่อบทความและผู้แต่ง ในด้านเชื้อชาติ เพศ ศาสนา วัฒนธรรม การเมือง และสังกัดของผู้เขียน
5. บรรณาธิการต้องไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้แต่งหรือผู้ทรงคุณวุฒิ และ ไม่นำบทความหรือผลงานทางวิชาการไปใช้ประโยชน์ในเชิงธุรกิจ รวมไปถึงนำไปเป็นผลงานทางวิชาการของตนเอง
6. บรรณาธิการจะต้องไม่แก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงเนื้อหาบทความที่ผู้แต่งได้ส่งมายังวารสาร และผลประเมินของผู้ทรงคุณวุฒิ รวมถึงไม่ปิดกั้นหรือแทรกแซงข้อมูลที่ใช้แลกเปลี่ยนระหว่างผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เขียน
7. บรรณาธิการต้องปฏิบัติตามกระบวนการและขั้นตอนต่าง ๆ ของวารสารอย่างเคร่งครัด
บทบาทหน้าที่ของผู้ทรงคุณวุฒิ(Reviewer Ethic)
1. ผู้ทรงคุณวุฒิจะต้องคำนึงถึงคุณภาพบทความเป็นหลัก พิจารณาบทความภายใต้หลักการและเหตุผลทางวิชาการโดยปราศจากอคติหรือความคิดเห็นส่วนตัว และจะต้องไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้แต่ง
2. ผู้ทรงคุณวุฒิจะต้องไม่แสวงหาผลประโยชน์ หรือผลกำไรจากผลงานทางวิชาการที่ตนเองได้รับมอบหมายให้ทำการประเมิน
3. ผู้ทรงคุณวุฒิต้องตระหนักรู้ว่า ตนเองมีความรู้ ความเข้าใจ ความเชี่ยวชาญ ในเนื้อหาของผลงานวิชาการที่ได้รับมอบหมายให้ทำการประเมินอย่างแท้จริง
4. หากผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาตรวจสอบแล้วพบว่าบทความที่รับมอบหมายให้ประเมินนั้นเป็นบทความที่คัดลอกผลงานชิ้นอื่น ๆ หรือมีเนื้อหาใกล้เคียงกับผลงานอื่น ๆ ผู้ทรงคุณวุฒิต้องแจ้งให้บรรณาธิการทราบทันทีเพื่อตรวจสอบความถูกต้องก่อนการเผยแพร่
5. ผู้ทรงคุณวุฒิต้องรักษาระยะเวลาประเมินตามกรอบเวลาประเมินที่กำหนด รวมถึงไม่เปิดเผยข้อมูลของบทความให้ผู้ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องได้รับรู้
บทบาทหน้าของผู้แต่ง (Author Ethic)
1. ผลงานวิชาการที่ผู้แต่งได้ส่งมาเพื่อพิจารณาเผยแพร่ในวารสารครุศาสตร์ ราชภัฏเชียงใหม่ จะต้องเป็นผลงานที่ไม่เคยได้รับการเผยแพร่มาก่อน และผู้แต่งจะต้องแน่ใจว่าผลงานดังกล่าวนั้นไม่ได้กระทำการคัดลอก ทำซ้ำผลงานของบุคคลอื่น
2. ผู้แต่งจะต้องกระทำการอ้างอิงผลงานของผู้อื่น หากมีการนำผลงานหรือข้อความใด ๆ ก็ตามมาใช้ในผลงานของตนเอง และจัดทำรายการเอกสารอ้างอิงไว้ท้ายบทความ
3. ผู้แต่งจะต้องตรวจสอบการเขียนบทความวิชาการ บทความวิจัย ให้ถูกต้องตามรูปแบบ และประเภทที่วารสารได้กำหนดไว้
4. รายนามของผู้แต่งทั้งหมด ที่ปรากฏในบทความทุกคนต้องเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมในการดำเนินการวิจัยจริง
5. ผู้แต่งจะต้องยินยอมโอนลิขสิทธิ์ให้แก่วารสารครุศาสตร์ ราชภัฏเชียงใหม่ ก่อนการเผยแพร่ และจะต้องไม่นำผลงานที่ส่งมายังวารสารครุศาสตร์ ราชภัฏเชียงใหม่ ไปตีพิมพ์กับแหล่งอื่น ๆ หลังจากที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารครุศาสตร์ ราชภัฏเชียงใหม่แล้ว
6. หากผลงานวิชาการดังกล่าว มีการวิจัยในมนุษย์หรือสัตว์ทดลอง ผู้แต่งจะต้องแนบหนังสือรับรองที่ได้รับอนุญาตให้ดำเนินการวิจัยในมนุษย์หรือสัตว์ทดลองจากคณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ หรือ คณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมการใช้สัตว์ทดลองแล้วแต่กรณี และระบุหมายเลขหรือรหัสการรับรองลงในเนื้อหาในส่วนของ “การพิจารณาด้านจริยธรรม