การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านขาว อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • ภูริชาญ สิงห์นิล วิทยาลัยพิชญบัณฑิต
  • บุญเหลือ บุบผามาลา วิทยาลัยพิชญบัณฑิต

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วม, แผนพัฒนา, องค์การบริหารส่วนตำบล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการพัฒนาในองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านขาว อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านขาว จำนวน 384 คน โดยใช้สูตรของ Taro Yamane เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามประกอบไปด้วยเนื้อหา 3 ส่วน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือสถิติพรรณนาได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสำหรับข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง สถิติเชิงอนุมานได้แก่ T-test และ F-test สำหรับเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านขาว อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี ที่จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือน
ผลการวิจัย พบว่า การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านขาว อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X} = 3.72, S.D.= 0.72) และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ (gif.latex?\bar{X} = 3.99, S.D.= 0.51) รองลงมาคือด้านการมีส่วนร่วมประเมินผล ( gif.latex?\bar{X}= 3.68, S.D.= 0.76) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือด้านการมีส่วนร่วมรับผลประโยชน์ (gif.latex?\bar{X} = 3.39, S.D.= 3.39) และการเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านขาว อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี ที่จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือน โดยภาพรวมพบว่าประชาชนที่มีเพศ ระดับการศึกษา และรายได้ต่อเดือน ที่แตกต่างกัน จะมีส่วนร่วมต่อการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านขาว อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี ที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนประชาชนที่มีอายุ และอาชีพ ที่แตกต่างกัน จะมีส่วนร่วมต่อการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านขาว อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี ที่ไม่แตกต่างกัน

References

โกวิทย์ พวงงาม. (2549). มิติใหม่การปกครองท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : เสมาธรรม.

นิติพงษ์ พงศ์วิทยเวคิน. (2551). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย.

พรทิพย์ ทบัแว่ว. (2554). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น: กรณีศึกษำเทศบาลตำบลบ้านเกาะ อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขานโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ปวีณา วีรยางกูร. (2554). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น : กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลอ้อมเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. การค้นคว้าอิสระ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุมาลี ขำจาด. (2553). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการวางแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลหนองกระโดน อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

สิทธิ์ธนัชท์ วารุณสหรัชภณ. (2559). การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการบริหารงานปกครองส่วนท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบลตลาดจินดา อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. การค้นคว้าอิสระ รัฐศาสตรมหาบัณฑิต (การเมืองการปกครอง) สาขาวิชาการเมืองการปกครองสำหรับนักบริหาร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

สุเทพ อินทร. (2553). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลแม่นาจร อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Yamane. (1967). Taro Statistic: An Introductory Analysis. New York: Harper &row.

วารสารวิจัยธรรมศึกษา

Downloads

เผยแพร่แล้ว

12/11/2021