ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 (2021): วารสารวิจัยธรรมศึกษา ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2564)

					ดู ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 (2021): วารสารวิจัยธรรมศึกษา ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2564)

วารสารวิจัยธรรมศึกษา ศูนย์วิจัยธรรมศึกษา สำนักเรียนวัดอาวุธวิกสิตาราม ฉบับที่ 2 ปี พ.ศ. 2564 นี้ กองบรรณาธิการได้ดำเนินการบริหารจัดการวารสารให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน TCI เหมือนกับทุกฉบับที่ผ่านมา ดังนั้น ในเชิงการพิจารณาบทความต่างๆ เพื่อตีพิมพ์ในครั้งนี้ จึงมีความเข้มข้นเหมือนเดิม สำหรับวารสารวิจัยธรรมศึกษาฉบับนี้ได้นำเสนอผลงานของนักวิชาการจากหน่วยงานต่างๆ ที่น่าสนใจดังนี้

1. รูปแบบกิจกรรมตามแนวคิดการศึกษาแบบใช้พื้นที่เป็นฐานผ่านกิจกรรมการเรียนภาษาอังกฤษเพื่อเสริมสร้างสำนึกรักพื้นที่ สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา จังหวัดนครนายก (ACTIVITIES MODEL BASED ON PLACE-BASED EDUCATION THROUGH ENGLISHLEARNING ACTIVITIES TO ENHANCE SENSE OF PLACE FOR SECONDARY STUDENTS IN NAKHON NAYOK PROVINCEโดย ปิยะดา จุลวรรณา ปิยลักษณ์ อัครรัตน์ และอัจฉราวรรณ จันทร์เพ็ญศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ผลการวิจัย พบว่า 1) รูปแบบกิจกรรมตามแนวคิดการศึกษาแบบใช้พื้นที่เป็นฐานผ่านกิจกรรมการเรียนภาษาอังกฤษเพื่อเสริมสร้างสำนึกรักพื้นที่ ประกอบด้วย 5 กิจกรรมตามแนวคิดการเรียนรู้แบบใช้พื้นที่เป็นฐาน 2) ผลการใช้รูปแบบกิจกรรมตามแนวคิดการศึกษาแบบใช้พื้นที่เป็นฐานผ่านกิจกรรมการเรียนภาษาอังกฤษพบว่า ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีค่าเฉลี่ย ด้านความรู้ ทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ และการมีสำนึกรักพื้นที่จังหวัดนครนายกสูงกว่าก่อนการเข้าร่วมกิจกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

2. จริยธรรมของผู้ประกอบการโรงสีข้าวในเขตพื้นที่ภาคกลาง (Ethics of rice mill operators in the central region) โดย พชรมณ บุญแสน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก ผลการศึกษา พบว่า (1) ระดับจริยธรรมด้านการบริหารอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีการใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหาร มีการคำนึงถึงผลประโยชน์ขององค์การ มีความเป็นธรรม ยุติธรรม การเคารพในปัจเจกบุคคล มีความรับผิดชอบต่อความสำเร็จขององค์การและมีการกำหนดนโยบายในการจ้างงานอยู่ในระดับมาก มีการปฏิบัติตามกฎระเบียบขององค์?การ มีการสร้างความเข้าใจให้พนักงาน มีการรับฟังความคิดเห็น มีความเข้าใจในสิทธิและหน้าที่ของพนักงานและมีการกระจายอำนาจหรือการมอบหมายงานอยู่ในระดับปานกลาง (2) ระดับจริยธรรมด้านความรับผิดชอบต่อสังคมอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีการกำกับดูแลกิจการที่ดี มีความรับผิดชอบต่อผู้บริโภคสินค้าและมีการเคารพสิทธิมนุษยชนอยู่ในระดับมาก มีการร่วมพัฒนาชุมชนและสังคม มีการเลือกคู่ค้าและหุ้นส่วน มีความรับผิดชอบต่อชุมชนใกล้เคียง มีการคำนึงถึงสุขภาพและความปลอดภัย มีการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม มีการสร้างนวัตกรรมและการเผยแพร่และมีการจัดการทรัพยากรอยู่ในระดับปานกลาง จริยธรรมด้านการบริหารส่งผลต่อจริยธรรมด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้ประกอบการโรงสีข้าวร้อยละ 65.00 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

3. ระดับจริยธรรมและการแสดงออกทางจิตสำนึกที่มีต่อการขาดวินัยของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร (ETHICS LEVEL AND CONSCIOUS EXPRESSION TO THE LACK OF DISCIPLINE IN SOCIETY IN ORDER TO FIND MEANS TO RAISE THE OF ETHICS OF UNDERGRADUATE STUDENTS IN BANGKOKโดย พชรมณ บุญแสน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก ผลการวิจัย พบว่า การแบ่งจริยธรรมในสังคมไทยแบ่งเป็น 2 ระดับ ดังนี้ 1) ระดับจริยธรรมตามหลักคำสอนทางศาสนา ได้แก่ความประพฤติตามครรลองการดำเนินชีวิตของศาสนิกเพื่อการอยู่ร่วมกันในสังคมและสิ่งแวดล้อม ที่ก่อให้เกิดประโยชน์และความสงบสุขร่วมกัน และความประพฤติที่เป็นไปตามครรลองการดำเนินชีวิตของ ศาสนิกชนเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายสูงสุดของศาสนาของแต่ละคน 2) ระดับจริยธรรมตามรูปแบบความสัมพันธ์ของการอยู่ร่วมกันในสังคม ได้แก่ ความสัมพันธ์ระหว่างปัจเจกต่อสังคมโดยรวม และสิ่งแวดล้อม แบ่งเป็น (1) ระดับที่ยึดส่วนตัวเป็นหลัก (2) ระดับที่ยึดส่วนรวมคือสังคมและสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก สาเหตุของการขาดจิตสำนึกที่ดีมาจากปัจจัยต่างๆ ทั้งด้านตัวบุคคล และสิ่งแวดล้อม กล่าวคือ ผู้ที่ขาดจิตสำนึกอาจเป็นเพราะบุคคลไม่ได้รับการสั่งสอนที่ถูกต้องจากครอบครัว ไม่ได้รับการสั่งสอนศีลธรรมที่มากพอตั้งแต่วัยเด็ก ส่งผลให้บุคคลมีจิตใต้สำนึกที่ไม่ดีและมีพฤติกรรมที่อาจเบี่ยงเบนไปจากความถูกต้องหรือเหมาะสมตามที่สังคมยอมรับ แต่ในทางกลับกันถ้าบุคคลได้รับการอบรมสั่งเรื่องศีลธรรมความดีงามอยู่เป็นประจำสม่ำเสมอ ตั้งแต่วัยเด็กจะทำให้บุคคลซึมซับความถูกผิด ดีชั่ว มีมโนธรรมในใจ มีจิตใต้สำนึกที่ดี ซึ่งจะส่งผลมาถึงการมีจิตสำนึกที่ดี ส่งผลต่อการเลือกตัดสินใจที่จะกระทำหรือไม่กระทำในสิ่งที่เป็นความถูกผิดดีชั่ว ควรทำหรือไม่ควรทำ

4. การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านขาว อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี (PUBLIC PARTICIPATION TOWARDS THE DEVELOPMENT OF BAN KHAO SUBDISTRICT ADMINISTRATIVE ORGANIZATION MUEANG UDON THANI DISTRICT UDON THANI PROVINCEโดย ภูริชาญ สิงห์นิล และบุญเหลือ บุบผามาลา วิทยาลัยพิชญบัณฑิต ผลการวิจัย พบว่า การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านขาว อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= 3.72, S.D.= 0.72) และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ (= 3.99, S.D.= 0.51) รองลงมาคือด้านการมีส่วนร่วมประเมินผล (= 3.68, S.D.= 0.76) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือด้านการมีส่วนร่วมรับผลประโยชน์ (= 3.39, S.D.= 3.39) และการเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านขาว อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี ที่จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือน โดยภาพรวมพบว่าประชาชนที่มีเพศ ระดับการศึกษา และรายได้ต่อเดือน ที่แตกต่างกัน จะมีส่วนร่วมต่อการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านขาว อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี ที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนประชาชนที่มีอายุ และอาชีพ ที่แตกต่างกัน จะมีส่วนร่วมต่อการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านขาว อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี ที่ไม่แตกต่างกัน

5. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยขององค์การบริหารส่วนตำบลโพนสูง อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี (PUBLIC PARTICIPATION IN DISASTER PREVENTION AND MITIGATION OF PHON SUNG SUBDISTRICT ADMINISTRATIVE ORGANIZATION, BAN DUNG DISTRICT, UDON THANI PROVINCE) โดย เจษฎาวัตร โพธิ์ชัยศรี และโกศล สอดส่อง วิทยาลัยพิชญบัณฑิต ผลการวิจัย พบว่า การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยขององค์การบริหารส่วนตำบลโพนสูง อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (= 3.48, S.D.= 0.63) และ เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือด้านการฝึกอบรม (= 3.58, S.D.= 0.71) รองลงมาคือด้านการช่วยเหลือผู้ประสบภัย (= 3.50, S.D.= 0.74) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือด้านการช่วยเหลือส่วนราชการและสังคม (= 3.35, S.D.= 0.83) ผลการเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยขององค์การบริหารส่วนตำบลโพนสูง อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี ที่จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล โดยภาพรวมพบว่า อายุและ ระดับการศึกษา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  ส่วนด้านเพศ อาชีพ และ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน พบว่าไม่แตกต่างกัน ข้อเสนอแนะ แนวทางพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยขององค์การบริหารส่วนตำบลโพนสูง อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี ได้แก่ ควรมีการสนับสนุน การพัฒนา ความรู้และทักษะของพนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในองค์การบริหารส่วนตำบลโพนสูง อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี อย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี

6. การทำงานเป็นทีมของบุคลากรทางการแพทย์ โรงพยาบาลหนองบัวลำภู (TEAMWORK OF MEDICAL PERSONNEL NONG BUA LAMPHU HOSPITALโดย ศาสตร์ตรา สารราษฎร์ และโกศล สอดส่อง วิทยาลัยพิชญบัณฑิต ผลการวิจัย พบว่า การทำงานเป็นทีมของบุคลากรทางการแพทย์ โรงพยาบาลหนองบัวลำภู โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (= 3.49, S.D.= 0.46) และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือด้านการกำหนดภารกิจและเป้าหมายของทีมงาน (= 3.55, S.D.= 0.72) รองลงมา คือด้านการกระจายความเป็นผู้นำ (= 3.54, S.D.= 0.78) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือด้านการสื่อสารกันอย่างเปิดเผย (= 3.39, S.D.= 0.74) ผลการเปรียบเทียบการทำงานเป็นทีมของบุคลากรทางการแพทย์ โรงพยาบาลหนองบัวลำภู ที่จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน และประสบการณ์การทำงาน โดยภาพรวม พบว่า เพศ ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน และประสบการณ์การทำงาน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  ส่วนด้านอายุ พบว่าไม่แตกต่างกัน ข้อเสนอแนะ แนวทางพัฒนาการทำงานเป็นทีมของบุคลากรทางการแพทย์ โรงพยาบาลหนองบัวลำภู ได้แก่ ควรมีการพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมการอบรมเพิ่มเติมความรู้ในสายงาน หรือส่งเสริมการเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้น

7. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลโพนสูง อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี (PUBLIC PARTICIPATION IN THE PREPARATION OF THE DEVELOPMENT PLAN OF PHON SUNG SUBDISTRICT ADMINISTRATIVE ORGANIZATION, BAN DUNG DISTRICT, UDON THANI PROVINCEโดย สุรีย์พร โพธิ์ชัยศรี และโกศล สอดส่อง วิทยาลัยพิชญบัณฑิต ผลการวิจัย พบว่า การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลโพนสูง อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= 3.82, S.D.= 0.59) และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน (= 3.88, S.D.= 0.72) รองลงมาคือด้านการบริหารงานในองค์การบริหารส่วนตำบล (= 3.85, S.D.= 0.72) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือด้านการจัดหารายได้ (= 3.73, S.D.= 0.72) ผลการเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลโพนสูง อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี ที่จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล โดยภาพรวมพบว่า เพศแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนด้านอายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน พบว่าไม่มีความแตกต่างกัน ข้อเสนอแนะ แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลโพนสูง อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี ได้แก่ ควรเปิดเผยข้อมูลข่าวสารโดยการประกาศแผนพัฒนาให้ประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ

8. การจัดสวัสดิการสังคมให้ผู้สูงอายุในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ (Satisfaction of the elderly towards social welfare provision in the Center for Social Welfare Development Social Welfare for the Elderly) โดย งามรดา ประเสริฐสุข และพิชัยรัฐ หมื่นด้วง วิทยาลัยพิชญบัณฑิต ผลการวิจัย พบว่า 1. ระดับความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่มีต่อการจัดสวัสดิการสังคมในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ มีค่าเฉลี่ยโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านความมั่นคงทางสังคม ครอบครัว ผู้ดูแล และการคุ้มครอง ด้านการให้บริการของเจ้าหน้าที่ ด้านที่พักและศูนย์บริการ ด้านสุขภาพและการรักษาพยาบาล ด้านการศึกษา และด้านนันทนาการ ตามลำดับ 2. เปรียบเทียบระดับความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่มีต่อการจัดสวัสดิการสังคมในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ และจำแนกเพศ อายุ ระดับการศึกษา และสถานภาพ พบว่า ผลการเปรียบเทียบระดับความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่มีต่อการจัดสวัสดิการสังคมในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ โดยจำแนกตามเพศ อายุระดับการศึกษา และอาชีพ โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ และเมื่อพิจารณารายด้านพบว่า โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 3. เสนอแนะแนวทางความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่มีต่อการจัดสวัสดิการสังคมในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ ซึ่งรัฐควรเน้นการทำงานแบบมีส่วนร่วม มีการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวก ควรส่งเสริมดำเนินการให้มีการจัดตั้งชมรมหรือเครือข่ายของผู้สูงอายุ สนับสนุนให้ผู้สูงอายุมีงานทำและมีรายได้ เพิ่มเงินเบี้ยยังชีพรายเดือน

9. การมีส่วนร่วมของเยาวชนในการแก้ไขปัญหายาเสพติดขององค์การบริหารส่วนตำบลเชียงพิณอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี (The participation of youth in solving the drug problem of the Organization Chiang Phin Subdistrict Administration, Mueang District Udon Thani Province) โดย บรรณารักษ์ ฝั้นสิม และโกศล สอดส่อง วิทยาลัยพิชญบัณฑิต ผลการวิจัย พบว่า 1. ระดับส่วนร่วมของเยาวชนประชาชนในการแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่ขององค์การบริหาร ส่วนตำบลเชียงพิณ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี มีค่าเฉลี่ยโดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก แต่เมื่อเรียงลำดับเป็นรายด้านจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย สามารถเรียงลำดับได้ดังนี้ ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผล ด้านการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการ และด้านการมีส่วนร่วมในผลประโยชน์ ตามลำดับ 2. เปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมของเยาวชนในการแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลเชียงพิณ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี และจำแนกเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ พบว่า ผลการเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลเชียงพิณ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี โดยจำแนกตามเพศ อายุระดับการศึกษาและอาชีพ โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ และเมื่อพิจารณารายด้านพบว่า โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 3. เสนอแนะแนวทางการมีส่วนร่วมของเยาวชนในการแก้ไขปัญหายาเสพติดขององค์การบริหารส่วนตำบลเชียงพิณ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลเชียงพิณควรสนับสนุนให้มีการจัดตั้งกลุ่มหรือองค์กรชุมชน ควรให้ความรู้ ความสำคัญ การดำเนินงานการป้องกันและจัดกิจกรรมการรณรงค์ต่อต้านเกี่ยวกับปัญหา

10. วิเคราะห์หลักตรรกศาสตร์ในพระพุทธศาสนา (Analysis of Logic in Buddhism) โดย กฤตสุชิน พลเสน พระสุริยัน ทีปธมฺโม (ผึ่งผาย) และสิริพร ครองชีพ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย สรุปว่า การนำเสนอบทความวิชาการในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของหลักตรรกศาสตร์กับพระพุทธศาสนา ตรรกศาสตร์เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยกฎเกณฑ์การใช้เหตุผล และเป็นเครื่องมือสำคัญที่นำไปอธิบายความคิดทางปรัชญาให้มีความสมเหตุสมผล มีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น ดังนั้นตรรกศาสตร์จึงมิใช่ตัวความรู้และมิใช่ตัวความจริง แต่เป็นเครื่องมือหรือเป็นตัวนำเราไปสู่ความรู้ความจริงนั้น ผลการศึกษาคือถ้าหากปราศจากการคิดหาเหตุผลโดยวิธีการทางตรรกศาสตร์แล้ว ก็เป็นการยากอย่างยิ่งที่มนุษย์จะเข้าถึงทั้งความรู้ความจริงนี้ได้ ทั้งพระพุทธศาสนาและตรรกศาสตร์ต่างเกี่ยวข้องกับความจริงที่มนุษย์ควรแสวงหา พระพุทธศาสนาเห็นว่าชีวิตมีทุกข์ การขจัดความทุกข์ได้คือนิพพานนั่นคือการบรรลุความจริงสูงสุดของมนุษย์ ส่วนตรรกศาสตร์ทำหน้าที่วางระเบียบวิธีคิดเพื่อให้เข้าใจความจริง พระพุทธศาสนาไม่ได้ปฏิเสธว่ามนุษย์ไม่คิดแบบตรรกศาสตร์ ทั้งพระอริยบุคคลและปุถุชนต่างก็คิดแบบตรรกศาสตร์ด้วยกันทั้งหมด และการศึกษายังพบอีกว่าบางครั้งใช้ข้อแน่ใจและบางครั้งใช้ประสบการณ์เป็นฐานการคิดเช่นกัน เพราะการคิดทั้ง 2 แบบเป็นธรรมชาติหรือปกติวิสัยของมนุษย์ทุกคน ดังนั้น จะเห็นว่าทั้งพระพุทธศาสนาและตรรกศาสตร์นั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างลึกซึ้งเลยทีเดียว

เผยแพร่แล้ว: 02/13/2022

บทความวิจัย

บทความวิชาการ