บทความย้อนหลัง

  • วารสารวิจัยธรรมศึกษา ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 (มกราคม - มิถุนายน 2567)
    ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 (2024)

    สำหรับการดำเนินการของวารสารวิจัยธรรมศึกษา ฉบับที่ 9 นี้ เป็นการปรับปรับและพัฒนาให้ชัดเจนขึ้นเพื่อให้เป็นไปตามประกาศเกณฑ์การประเมินคุณภาพวารสารวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูล TCI รอบที่ 5 พ.ศ. 2568-2572 ของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai Journal Citation Index Centre)  ในหัวข้อเกณฑ์หลัก ลำดับที่ 2 วารสารมีเลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร (ISSN) ที่จดทะเบียนตามชื่อภาษาอังกฤษที่ถูกต้องตามหลักสากล โดยทางกองบรรณาธิการวารสารได้ทำการขอยกเลิกหมายเลข ISSN หมายเลข 2730-1753 กับสำนักหอสมุดแห่งชาติ และขอจดหมายเลขใหม่ให้สอดคล้องกับเกณฑ์การประเมินคุณภาพวารสารวิชาการ เป็น ISSN 3027-8457 (Online) ต่อไป ฉะนั้น ในวารสารฉบับนี้ ก็ยังเต็มไปด้วยบทความที่ทรงคุณค่าและมีคุณภาพอีกเช่นเคย ซึ่งเหมือนกับฉบับก่อน ๆ ที่ได้ตีพิมพ์เผยแพร่ไปแล้ว 

  • วารสารวิจัยธรรมศึกษา ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม 2566)
    ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 (2023)

    วารสารวิจัยธรรมศึกษา ศูนย์วิจัยธรรมศึกษา สำนักเรียนวัดอาวุธวิกสิตาราม ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566 ปีที่ 6 กองบรรณาธิการได้บริหารจัดการทุกบทความในวารสารให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน TCI อย่างเข้มข้นเหมือนเดิม ทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณให้เป็นที่เรียบร้อยและให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากที่สุดจากผู้ทรงคุณวุฒิจากหลายหน่วยงานที่ได้ให้ความร่วมมือรับเชิญเป็นผู้ตรวจประเมิน โดยเป็นการประเมิน 3 รูป/คน ในทุกบทความที่ได้รับการเผยแพร่ในครั้งนี้

    วารสารวิจัยธรรมศึกษาฉบับนี้ได้นำเสนอผลงานของนักวิชาการจากหน่วยงานต่างๆ ที่น่าสนใจดังนี้

  • วารสารวิจัยธรรมศึกษา ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2566)
    ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 (2023)

    พ.ศ. 2566 เป็นปีที่ 6 ในการจัดพิมพ์วารสารวิจัยธรรมศึกษา ศูนย์วิจัยธรรมศึกษา สำนักเรียนวัดอาวุธวิกสิตาราม กองบรรณาธิการได้บริหารจัดการวารสารให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน TCI มีการตรวจประเมินผลงานวิชาการทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณให้เรียบร้อยและมีประสิทธิภาพประสิทธิผลจากผู้ทรงคุณวุฒิจากหลายหน่วยงาน จำนวน 3 รูป/คน ต่อ 1 ผลงานวิชาการ

    วารสารวิจัยธรรมศึกษาฉบับนี้ได้นำเสนอผลงานของนักวิชาการจากหน่วยงานต่างๆ ที่น่าสนใจดังนี้

  • วารสารวิจัยธรรมศึกษา ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2565)
    ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 (2022)

    การจัดพิมพ์วารสารวิจัยธรรมศึกษา ศูนย์วิจัยธรรมศึกษา สำนักเรียนวัดอาวุธวิกสิตาราม ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2565 ปีที่ 5 ทางกองบรรณาธิการได้บริหารจัดการวารสารให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน TCI อย่างเข้มข้นเหมือนเดิม โดยได้มีการตรวจประเมินผลงานวิชาการทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณให้เป็นที่เรียบร้อยและมีประสิทธิภาพประสิทธิผลจากผู้ทรงคุณวุฒิจากหลายหน่วยงาน

    วารสารวิจัยธรรมศึกษาฉบับนี้ได้นำเสนอผลงานของนักวิชาการจากหน่วยงานต่างๆ ที่น่าสนใจดังนี้

  • วารสารวิจัยธรรมศึกษา ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2565)
    ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 (2022)

    พ.ศ. 2565 เป็นปีที่ 5 ในการจัดพิมพ์วารสารวิจัยธรรมศึกษา ศูนย์วิจัยธรรมศึกษา สำนักเรียนวัดอาวุธวิกสิตาราม เพื่อเป็นการส่งเสริมการสร้างผลงานทางวิชาการออกสู่สังคม และที่ผ่านมาวารสารวิจัยธรรมศึกษา โดยทางกองบรรณาธิการได้บริหารจัดการวารสารให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน TCI มีการตรวจประเมินผลงานวิชาการทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณให้เรียบร้อยและมีประสิทธิภาพประสิทธิผลจากผู้ทรงคุณวุฒิจากหลายหน่วยงาน

    วารสารวิจัยธรรมศึกษาฉบับนี้ได้นำเสนอผลงานของนักวิชาการจากหน่วยงานต่างๆ ที่น่าสนใจดังนี้

    1. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ทางสุขภาพเกี่ยวกับการป้องกันการสูบบุหรี่ของนักศึกษาพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง กรุงเทพมหานคร (Factors Related to Health Literacy on Smoking Prevention among Nursing Students in the University, Bangkok Metropolis) โดย บุริศร์ ยอดนางรอง พีรยา จันทร์ศรีทอง กุลภรณ์ เศวตจิตรไกรสร วนิดา สิงหาเทพ และ อารยา ทิพย์วงศ์ วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา ผลการวิจัย พบว่า นักศึกษาพยาบาลมีความรอบรู้ทางสุขภาพอยู่ในระดับดี ร้อยละ 87.0 มีความรอบรู้ด้านสุขภาพระดับพอใช้ ร้อยละ 13.0  และมีค่าเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับดี ( = 168.30, S.D. = 17.03) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความรอบรู้ทางสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ เพศ (?= .122, p < .05 ) และ ระดับชั้นปี (?= .102, p < .05)  ส่วนปัจจัยในด้านเกรดเฉลี่ยสะสมล่าสุด  (r = .020, p > .05) การสูบบุหรี่ของบุคลในครอบครัว/ผู้ที่อาศัยด้วย (? = .002, p > .05) การได้รับ หรือ สัมผัสควันบุหรี่ (?= .060, p < .05) และ พฤติกรรมการสูบบุหรี่ (?= .017, p > .05) พบว่าเป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความรอบรู้ทางสุขภาพอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ข้อค้นพบนี้เป็นข้อมูลสำคัญในการวางแผนดำเนินการเพื่อเพิ่มพูนความรอบรู้ทางสุขภาพและส่งเสริมการป้องกันการสูบบุหรี่ให้กับนักศึกษาในสถานศึกษาต่อไป
    2. วิถีคหกรรมศาสตร์ : บริบทอัตลักษณ์ของคุณค่าอาหาไทย (Home Economics Method: The Identity Context of Thai Food Values) โดย จุตพล กิจทวี คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ สาขาอาหารและโภชนาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ บทความวิชาการนี้เป็นการอธิบายถึงวิถีคหกรรมศาสตร์ : บริบทอัตลักษณ์ของคุณค่าอาหาไทย ซึ่งประกอบด้วย รสชาติ ราคา คุณค่าต่อสุขภาพ (Health foods) อีกทั้งจะต้องมีความสะดวกในการบริโภค เป็นอาหารสำเร็จรูป กึ่งสำเร็จรูป และปรุงสด รสชาติให้ถูกรสนิยมของผู้บริโภคในแต่ละประเทศ เน้นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ มุ่งเจาะตลาดเฉพาะ และการสร้างตราสินค้า การใช้บรรจุภัณฑ์ที่จะทำให้ผลิตภัณฑ์เป็นที่น่าสนใจและสอดคล้องกับความนิยมของผู้บริโภค เน้นจุดขายที่มีความเป็นเอกลักษณ์ โดยเฉพาะวัฒนธรรมไทยด้านคุณภาพของอาหารไทย ในเรื่องอาหารไทยมีรสชาติที่อร่อยถูกปาก ที่มีผลต่อการบริโภคอาหารไทย ซึ่งอาหารไทยนั้น ประกอบด้วยรสชาติเข้มข้น มีเครื่องปรุงหลายอย่างรสชาติอาหารแต่ละอย่างมีรสเฉพาะตัว ดังนั้น การทำ อาหารไทยให้อร่อยต้องใช้ความชำนาญ และประสบการณ์ตลอดจนกรรมวิธีในการประกอบอาหารไทย ผู้ทำจะต้องพิถีพิถัน ประณีต เพื่อให้อาหารน่ารับประทาน ทำให้นึกถึงเรื่องอาหารไทยเป็น มรดกทางวัฒนธรรมของชาติ บ่งบอกถึงอัตลักษณ์คุณค่าของอาหารไทยนอกจากรสชาติอาหารอร่อย ที่มาพร้อมความสมบูรณ์แบบในการจัดเสิร์ฟแล้ว อีกหนึ่งสิ่งที่ขาดไม่ได้ คือ การตกแต่งอาหารให้ออกมาดูดี น่ารับประทาน ซึ่งการจัดจานถือเป็นศิลปะอย่างหนึ่งในการสร้างสรรค์ผลงานให้ออกมาดูน่ารับประทานมากยิ่งขึ้น อีกทั้งช่วยสร้างความประทับใจให้กับแขกได้ดีอีกด้วย บ่งบอกถึงความสวยงาม ความน่ารับประทาน ความน่าสนใจของรูปแบบการจัดอาหาร เป็นการสร้างมูลค่าให้กับอาหารอีกทั้งยังเป็นการเพิ่มมูลค่าการส่งออกทางวัฒนธรรมได้อีกทางหนึ่ง
    3. A Study of English Teaching Method of Teacher in Khmer Buddhist High School at Tra Vinh Province in Vietnam by Kim Rach Ta Na Veerakarn Kanokkmalade and Nilratana Klinchan Department of Foreign Language, Faculty of Humanities, Mahachulalongkornrajavidyalaya University, The results of this research found that 1. According to interviews with teachers who had in English teaching method in 4 skills in a general test of teachers who are teaching in Khmer Buddhist high school at Tra Vinh in Vietnam. While the English speaking had 7 participants, 5 participants are in English writing and reading, and 3 participants are in English listening, and consisting of 5 participants are liked on English conversation, while 7 participants are liked on English grammar, and 4 participants are liked on English vocabulary and pronunciation, which general test in English teaching method that most teachers are liked on English speaking and English conversation method. 2. The discovering interview questions with teachers at Khmer Buddhist high school, all of the teachers still get the problems while they were teaching English in the class. When they explained to students, they used the Khmer language 50% and English language 50% while they are teaching, they tried to translate from English into their mother tongue that was the big problem. The solution English teaching needed the students to read understand all the passages but did not force them to translate them. English teacher had created the group to give an idea when they finished class. They had found out the problems how to make students interested and pay attention while they were teaching.
    4. รูปแบบการประยุกต์ใช้พุทธอรรถปริวรรตศาสตร์ว่าด้วยเรื่องกฎแห่งกรรมเพื่อการแก้ปัญหาเยาวชนในสังคมหลังนวยุค (The Application Model of Buddhist Hermeneutics on The Laws of Karma for The Youth Problem-Solving in The Postmodern Society) โดย พระมหาอุบล จรธมฺโม (ดวงเนตร) สมบูรณ์ บุญโท และ สวัสดิ์ อโณทัย สาขาวิชาปรัชญาและศาสนา มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น ผลการวิจัยพบว่า เยาวชนและวัยรุ่น คือ คนหนุ่มสาวที่มีอายุไม่เกิน 25 ปี ลักษณะปัญหาของมนุษย์ตามกระบวนทรรศน์ปรัชญา ทุกคนมีปัญหาทั้งนั้น จากเล็กจนโต การวิเคราะห์สังคม 3 ยุค ตามกระบวนทรรศน์ปรัชญา ยุคดึกดำบรรพ์มองทุกอย่างว่า มาจากน้ำพระทัยของอำนาจลึกลับ ไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัวอยู่ร่วมกันเป็นสังคมใหญ่ กระบวนทรรศน์ยุคโบราณ เริ่ม (450-300 ก่อนคริสตกาล) แบ่งเป็นสามยุคย่อย คือ ?ยุคโบราณเริ่มต้น ยุคโบราณยุครุ่งเรือง ยุคโบราณยุคเสื่อม? กระบวนทรรศน์ปรัชญา 5 ยุค กระบวนทรรศน์ยุคดึกดำบรรพ์ เชื่อว่า มนุษย์ในยุคดึกดำบรรพ์อุบัติขึ้นมาจนถึง 2-3 ล้านปีมาแล้วชีวิตอยูตามธรรมชาติ กระบวนทัศน์โบราณ แนวคิดที่เชื่อว่า โลกมีกฎเกณฑ์การแก้ปัญหาหรือขจัดทุกข์มีกฎมีเกณฑ์ กระบวนทรรศน์ยุคกลาง เชื่อว่าโลกมีกฎเกณฑ์ แต่ยึดเอาความสุขในโลกหน้า โลกนี้จะอยู่อย่างไรไม่ค่อยเน้นความสำคัญนัก ปัญหาและรากเหง้าของปัญหาเยาวชนรุ่นใหม่ คือ ขาดการอบรมบ่มนิสัยหรือจริยธรรม และมีปัญหาทางจิตใจ วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 แนวคิดอรรถปริวรรตศาสตร์ตามกระบวนทรรศน์ปรัชญาหลังนวยุค เป็นเรื่องของการปฏิบัติแห่งการตีความมากกว่าที่จะเป็นเรื่องของปรัชญา วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 การสร้างองค์ความรู้ใหม่และรูปแบบการประยุกต์ใช้ แบ่งเป็น 4 ขั้นตอนหลักๆ คือ การสำรวจตรวจค้น การทดลอง การเรียนรู้จากการปฏิบัติ การปฏิบัติเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ วัตถุประสงค์ข้อที่ 4 วิธีประยุกต์ใช้ การยึดมั่นในหลักกรรม การชี้ให้เห็นความสำคัญญของกฎแห่งกรรม และองค์ความรู้ใหม่ คือ การบูรณาการหลักไตรสิกขา หลักขันธ์ 5 และหลักไตรลักษณ์ เข้ากับพุทธอรรถปริวรรตศาสตร์เข้ากับหลัก กรรมและกฎแห่งกรรม เพื่อการอธิบาย การเกิดขึ้นของกรรม ความใกล้ชิดของกรรมกับชีวิตคนมนุษย์ ตั้งแต่เกิดจนตาย
    5. รูปแบบการเสริมสร้างประสิทธิผลการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมของพระสงฆ์ในพื้นที่จังหวัดภาคกลางตอนบน (A Model for Enhancing The Effectiveness of Monks? Holistic Health Care in The Upper Central Province) โดย พระกิตติญาณเมธี (สมเกียรติ รามัญวงศ์) วิจิตรา ศรีสอน และ สันฐาน ชยนนท์ สาขาวิชาการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ผลการวิจัย พบว่า การบริหารจัดการต้องแบ่งออกเป็นสองส่วนคือ บริหารการสร้างพระคิลานุปัฏฐากและบริหารวัด โดยการบริหารวัดคือการบริหารตน บริหารคนและบริหารวัด โดยการบริหารตนใช้การบริหารโดยใช้วัตร 10 ประการ การบริหารคนแบ่งคนออกเป็น 2 กลุ่ม คือ บริหารคนในวัดใช้หลักทศพิธราชธรรม บริหารคนนอกวัดใช้หลักการบริหารอุบาสกอุบาสิกา 5 ประการ การบริหารวัดให้ใช้หลักการบริหารกิจการคณะสงฆ์ ตามที่มหาเถรสมาคมกำหนดไว้ 6 ด้าน
    6. การให้บริการด้านโครงสร้างพื้นฐานต่อประชาชนขององค์การบริหารส่วนตำบลศรีชมภู อำเภอโซ่พิสัย จังหวัดบึงกาฬ (Providing Infrastructure Services to the People of the Si Chomphu Subdistrict Administrative Organization So Phisai District Bueng Kan Province) โดย มณตรี ปทุมวัฒนชัย และ โกศล สอดส่อง หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยพิชญบัณฑิต ผลการวิจัย พบว่า การให้บริการด้านโครงสร้างพื้นฐานต่อประชาชนขององค์การบริหารส่วนตำบลศรีชมภู อำเภอโซ่พิสัย จังหวัดบึงกาฬ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= 3.42, S.D.= 0.63) และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือด้านถนน (= 3.55, S.D.= 0.79) รองลงมา คือด้านไฟฟ้าส่องสว่าง (= 3.48, S.D.= 0.64) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านประปา (= 3.25, S.D.= 0.76) ผลการเปรียบเทียบการให้บริการด้านโครงสร้างพื้นฐานต่อประชาชนขององค์การบริหารส่วนตำบลศรีชมภู อำเภอโซ่พิสัย จังหวัดบึงกาฬ ที่จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ โดยภาพรวม พบว่าประชาชนที่มีอายุ ระดับการศึกษาและอาชีพต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการให้บริการด้านโครงสร้างพื้นฐานขององค์การบริหารส่วนตำบลศรีชมภู แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนประชาชนที่มีเพศต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการให้บริการด้านโครงสร้างพื้นฐานขององค์การบริหารส่วนตำบลศรีชมภู ไม่แตกต่างกัน ข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาการให้บริการด้านโครงสร้างพื้นฐานต่อประชาชนขององค์การบริหารส่วนตำบลศรีชมภู ได้แก่ ควรมีการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรอย่างยั่งยืน เช่น มีการการขุดลอกแหล่งน้ำธรรมชาติเพื่อการเกษตร เป็นต้น
  • วารสารวิจัยธรรมศึกษา ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2564)
    ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 (2021)

    วารสารวิจัยธรรมศึกษา ศูนย์วิจัยธรรมศึกษา สำนักเรียนวัดอาวุธวิกสิตาราม ฉบับที่ 2 ปี พ.ศ. 2564 นี้ กองบรรณาธิการได้ดำเนินการบริหารจัดการวารสารให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน TCI เหมือนกับทุกฉบับที่ผ่านมา ดังนั้น ในเชิงการพิจารณาบทความต่างๆ เพื่อตีพิมพ์ในครั้งนี้ จึงมีความเข้มข้นเหมือนเดิม สำหรับวารสารวิจัยธรรมศึกษาฉบับนี้ได้นำเสนอผลงานของนักวิชาการจากหน่วยงานต่างๆ ที่น่าสนใจดังนี้

    1. รูปแบบกิจกรรมตามแนวคิดการศึกษาแบบใช้พื้นที่เป็นฐานผ่านกิจกรรมการเรียนภาษาอังกฤษเพื่อเสริมสร้างสำนึกรักพื้นที่ สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา จังหวัดนครนายก (ACTIVITIES MODEL BASED ON PLACE-BASED EDUCATION THROUGH ENGLISHLEARNING ACTIVITIES TO ENHANCE SENSE OF PLACE FOR SECONDARY STUDENTS IN NAKHON NAYOK PROVINCEโดย ปิยะดา จุลวรรณา ปิยลักษณ์ อัครรัตน์ และอัจฉราวรรณ จันทร์เพ็ญศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ผลการวิจัย พบว่า 1) รูปแบบกิจกรรมตามแนวคิดการศึกษาแบบใช้พื้นที่เป็นฐานผ่านกิจกรรมการเรียนภาษาอังกฤษเพื่อเสริมสร้างสำนึกรักพื้นที่ ประกอบด้วย 5 กิจกรรมตามแนวคิดการเรียนรู้แบบใช้พื้นที่เป็นฐาน 2) ผลการใช้รูปแบบกิจกรรมตามแนวคิดการศึกษาแบบใช้พื้นที่เป็นฐานผ่านกิจกรรมการเรียนภาษาอังกฤษพบว่า ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีค่าเฉลี่ย ด้านความรู้ ทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ และการมีสำนึกรักพื้นที่จังหวัดนครนายกสูงกว่าก่อนการเข้าร่วมกิจกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

    2. จริยธรรมของผู้ประกอบการโรงสีข้าวในเขตพื้นที่ภาคกลาง (Ethics of rice mill operators in the central region) โดย พชรมณ บุญแสน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก ผลการศึกษา พบว่า (1) ระดับจริยธรรมด้านการบริหารอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีการใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหาร มีการคำนึงถึงผลประโยชน์ขององค์การ มีความเป็นธรรม ยุติธรรม การเคารพในปัจเจกบุคคล มีความรับผิดชอบต่อความสำเร็จขององค์การและมีการกำหนดนโยบายในการจ้างงานอยู่ในระดับมาก มีการปฏิบัติตามกฎระเบียบขององค์?การ มีการสร้างความเข้าใจให้พนักงาน มีการรับฟังความคิดเห็น มีความเข้าใจในสิทธิและหน้าที่ของพนักงานและมีการกระจายอำนาจหรือการมอบหมายงานอยู่ในระดับปานกลาง (2) ระดับจริยธรรมด้านความรับผิดชอบต่อสังคมอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีการกำกับดูแลกิจการที่ดี มีความรับผิดชอบต่อผู้บริโภคสินค้าและมีการเคารพสิทธิมนุษยชนอยู่ในระดับมาก มีการร่วมพัฒนาชุมชนและสังคม มีการเลือกคู่ค้าและหุ้นส่วน มีความรับผิดชอบต่อชุมชนใกล้เคียง มีการคำนึงถึงสุขภาพและความปลอดภัย มีการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม มีการสร้างนวัตกรรมและการเผยแพร่และมีการจัดการทรัพยากรอยู่ในระดับปานกลาง จริยธรรมด้านการบริหารส่งผลต่อจริยธรรมด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้ประกอบการโรงสีข้าวร้อยละ 65.00 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

    3. ระดับจริยธรรมและการแสดงออกทางจิตสำนึกที่มีต่อการขาดวินัยของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร (ETHICS LEVEL AND CONSCIOUS EXPRESSION TO THE LACK OF DISCIPLINE IN SOCIETY IN ORDER TO FIND MEANS TO RAISE THE OF ETHICS OF UNDERGRADUATE STUDENTS IN BANGKOKโดย พชรมณ บุญแสน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก ผลการวิจัย พบว่า การแบ่งจริยธรรมในสังคมไทยแบ่งเป็น 2 ระดับ ดังนี้ 1) ระดับจริยธรรมตามหลักคำสอนทางศาสนา ได้แก่ความประพฤติตามครรลองการดำเนินชีวิตของศาสนิกเพื่อการอยู่ร่วมกันในสังคมและสิ่งแวดล้อม ที่ก่อให้เกิดประโยชน์และความสงบสุขร่วมกัน และความประพฤติที่เป็นไปตามครรลองการดำเนินชีวิตของ ศาสนิกชนเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายสูงสุดของศาสนาของแต่ละคน 2) ระดับจริยธรรมตามรูปแบบความสัมพันธ์ของการอยู่ร่วมกันในสังคม ได้แก่ ความสัมพันธ์ระหว่างปัจเจกต่อสังคมโดยรวม และสิ่งแวดล้อม แบ่งเป็น (1) ระดับที่ยึดส่วนตัวเป็นหลัก (2) ระดับที่ยึดส่วนรวมคือสังคมและสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก สาเหตุของการขาดจิตสำนึกที่ดีมาจากปัจจัยต่างๆ ทั้งด้านตัวบุคคล และสิ่งแวดล้อม กล่าวคือ ผู้ที่ขาดจิตสำนึกอาจเป็นเพราะบุคคลไม่ได้รับการสั่งสอนที่ถูกต้องจากครอบครัว ไม่ได้รับการสั่งสอนศีลธรรมที่มากพอตั้งแต่วัยเด็ก ส่งผลให้บุคคลมีจิตใต้สำนึกที่ไม่ดีและมีพฤติกรรมที่อาจเบี่ยงเบนไปจากความถูกต้องหรือเหมาะสมตามที่สังคมยอมรับ แต่ในทางกลับกันถ้าบุคคลได้รับการอบรมสั่งเรื่องศีลธรรมความดีงามอยู่เป็นประจำสม่ำเสมอ ตั้งแต่วัยเด็กจะทำให้บุคคลซึมซับความถูกผิด ดีชั่ว มีมโนธรรมในใจ มีจิตใต้สำนึกที่ดี ซึ่งจะส่งผลมาถึงการมีจิตสำนึกที่ดี ส่งผลต่อการเลือกตัดสินใจที่จะกระทำหรือไม่กระทำในสิ่งที่เป็นความถูกผิดดีชั่ว ควรทำหรือไม่ควรทำ

    4. การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านขาว อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี (PUBLIC PARTICIPATION TOWARDS THE DEVELOPMENT OF BAN KHAO SUBDISTRICT ADMINISTRATIVE ORGANIZATION MUEANG UDON THANI DISTRICT UDON THANI PROVINCEโดย ภูริชาญ สิงห์นิล และบุญเหลือ บุบผามาลา วิทยาลัยพิชญบัณฑิต ผลการวิจัย พบว่า การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านขาว อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= 3.72, S.D.= 0.72) และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ (= 3.99, S.D.= 0.51) รองลงมาคือด้านการมีส่วนร่วมประเมินผล (= 3.68, S.D.= 0.76) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือด้านการมีส่วนร่วมรับผลประโยชน์ (= 3.39, S.D.= 3.39) และการเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านขาว อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี ที่จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือน โดยภาพรวมพบว่าประชาชนที่มีเพศ ระดับการศึกษา และรายได้ต่อเดือน ที่แตกต่างกัน จะมีส่วนร่วมต่อการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านขาว อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี ที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนประชาชนที่มีอายุ และอาชีพ ที่แตกต่างกัน จะมีส่วนร่วมต่อการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านขาว อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี ที่ไม่แตกต่างกัน

    5. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยขององค์การบริหารส่วนตำบลโพนสูง อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี (PUBLIC PARTICIPATION IN DISASTER PREVENTION AND MITIGATION OF PHON SUNG SUBDISTRICT ADMINISTRATIVE ORGANIZATION, BAN DUNG DISTRICT, UDON THANI PROVINCE) โดย เจษฎาวัตร โพธิ์ชัยศรี และโกศล สอดส่อง วิทยาลัยพิชญบัณฑิต ผลการวิจัย พบว่า การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยขององค์การบริหารส่วนตำบลโพนสูง อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (= 3.48, S.D.= 0.63) และ เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือด้านการฝึกอบรม (= 3.58, S.D.= 0.71) รองลงมาคือด้านการช่วยเหลือผู้ประสบภัย (= 3.50, S.D.= 0.74) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือด้านการช่วยเหลือส่วนราชการและสังคม (= 3.35, S.D.= 0.83) ผลการเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยขององค์การบริหารส่วนตำบลโพนสูง อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี ที่จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล โดยภาพรวมพบว่า อายุและ ระดับการศึกษา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  ส่วนด้านเพศ อาชีพ และ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน พบว่าไม่แตกต่างกัน ข้อเสนอแนะ แนวทางพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยขององค์การบริหารส่วนตำบลโพนสูง อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี ได้แก่ ควรมีการสนับสนุน การพัฒนา ความรู้และทักษะของพนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในองค์การบริหารส่วนตำบลโพนสูง อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี อย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี

    6. การทำงานเป็นทีมของบุคลากรทางการแพทย์ โรงพยาบาลหนองบัวลำภู (TEAMWORK OF MEDICAL PERSONNEL NONG BUA LAMPHU HOSPITALโดย ศาสตร์ตรา สารราษฎร์ และโกศล สอดส่อง วิทยาลัยพิชญบัณฑิต ผลการวิจัย พบว่า การทำงานเป็นทีมของบุคลากรทางการแพทย์ โรงพยาบาลหนองบัวลำภู โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (= 3.49, S.D.= 0.46) และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือด้านการกำหนดภารกิจและเป้าหมายของทีมงาน (= 3.55, S.D.= 0.72) รองลงมา คือด้านการกระจายความเป็นผู้นำ (= 3.54, S.D.= 0.78) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือด้านการสื่อสารกันอย่างเปิดเผย (= 3.39, S.D.= 0.74) ผลการเปรียบเทียบการทำงานเป็นทีมของบุคลากรทางการแพทย์ โรงพยาบาลหนองบัวลำภู ที่จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน และประสบการณ์การทำงาน โดยภาพรวม พบว่า เพศ ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน และประสบการณ์การทำงาน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  ส่วนด้านอายุ พบว่าไม่แตกต่างกัน ข้อเสนอแนะ แนวทางพัฒนาการทำงานเป็นทีมของบุคลากรทางการแพทย์ โรงพยาบาลหนองบัวลำภู ได้แก่ ควรมีการพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมการอบรมเพิ่มเติมความรู้ในสายงาน หรือส่งเสริมการเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้น

    7. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลโพนสูง อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี (PUBLIC PARTICIPATION IN THE PREPARATION OF THE DEVELOPMENT PLAN OF PHON SUNG SUBDISTRICT ADMINISTRATIVE ORGANIZATION, BAN DUNG DISTRICT, UDON THANI PROVINCEโดย สุรีย์พร โพธิ์ชัยศรี และโกศล สอดส่อง วิทยาลัยพิชญบัณฑิต ผลการวิจัย พบว่า การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลโพนสูง อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= 3.82, S.D.= 0.59) และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน (= 3.88, S.D.= 0.72) รองลงมาคือด้านการบริหารงานในองค์การบริหารส่วนตำบล (= 3.85, S.D.= 0.72) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือด้านการจัดหารายได้ (= 3.73, S.D.= 0.72) ผลการเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลโพนสูง อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี ที่จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล โดยภาพรวมพบว่า เพศแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนด้านอายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน พบว่าไม่มีความแตกต่างกัน ข้อเสนอแนะ แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลโพนสูง อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี ได้แก่ ควรเปิดเผยข้อมูลข่าวสารโดยการประกาศแผนพัฒนาให้ประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ

    8. การจัดสวัสดิการสังคมให้ผู้สูงอายุในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ (Satisfaction of the elderly towards social welfare provision in the Center for Social Welfare Development Social Welfare for the Elderly) โดย งามรดา ประเสริฐสุข และพิชัยรัฐ หมื่นด้วง วิทยาลัยพิชญบัณฑิต ผลการวิจัย พบว่า 1. ระดับความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่มีต่อการจัดสวัสดิการสังคมในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ มีค่าเฉลี่ยโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านความมั่นคงทางสังคม ครอบครัว ผู้ดูแล และการคุ้มครอง ด้านการให้บริการของเจ้าหน้าที่ ด้านที่พักและศูนย์บริการ ด้านสุขภาพและการรักษาพยาบาล ด้านการศึกษา และด้านนันทนาการ ตามลำดับ 2. เปรียบเทียบระดับความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่มีต่อการจัดสวัสดิการสังคมในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ และจำแนกเพศ อายุ ระดับการศึกษา และสถานภาพ พบว่า ผลการเปรียบเทียบระดับความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่มีต่อการจัดสวัสดิการสังคมในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ โดยจำแนกตามเพศ อายุระดับการศึกษา และอาชีพ โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ และเมื่อพิจารณารายด้านพบว่า โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 3. เสนอแนะแนวทางความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่มีต่อการจัดสวัสดิการสังคมในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ ซึ่งรัฐควรเน้นการทำงานแบบมีส่วนร่วม มีการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวก ควรส่งเสริมดำเนินการให้มีการจัดตั้งชมรมหรือเครือข่ายของผู้สูงอายุ สนับสนุนให้ผู้สูงอายุมีงานทำและมีรายได้ เพิ่มเงินเบี้ยยังชีพรายเดือน

    9. การมีส่วนร่วมของเยาวชนในการแก้ไขปัญหายาเสพติดขององค์การบริหารส่วนตำบลเชียงพิณอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี (The participation of youth in solving the drug problem of the Organization Chiang Phin Subdistrict Administration, Mueang District Udon Thani Province) โดย บรรณารักษ์ ฝั้นสิม และโกศล สอดส่อง วิทยาลัยพิชญบัณฑิต ผลการวิจัย พบว่า 1. ระดับส่วนร่วมของเยาวชนประชาชนในการแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่ขององค์การบริหาร ส่วนตำบลเชียงพิณ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี มีค่าเฉลี่ยโดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก แต่เมื่อเรียงลำดับเป็นรายด้านจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย สามารถเรียงลำดับได้ดังนี้ ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผล ด้านการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการ และด้านการมีส่วนร่วมในผลประโยชน์ ตามลำดับ 2. เปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมของเยาวชนในการแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลเชียงพิณ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี และจำแนกเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ พบว่า ผลการเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลเชียงพิณ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี โดยจำแนกตามเพศ อายุระดับการศึกษาและอาชีพ โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ และเมื่อพิจารณารายด้านพบว่า โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 3. เสนอแนะแนวทางการมีส่วนร่วมของเยาวชนในการแก้ไขปัญหายาเสพติดขององค์การบริหารส่วนตำบลเชียงพิณ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลเชียงพิณควรสนับสนุนให้มีการจัดตั้งกลุ่มหรือองค์กรชุมชน ควรให้ความรู้ ความสำคัญ การดำเนินงานการป้องกันและจัดกิจกรรมการรณรงค์ต่อต้านเกี่ยวกับปัญหา

    10. วิเคราะห์หลักตรรกศาสตร์ในพระพุทธศาสนา (Analysis of Logic in Buddhism) โดย กฤตสุชิน พลเสน พระสุริยัน ทีปธมฺโม (ผึ่งผาย) และสิริพร ครองชีพ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย สรุปว่า การนำเสนอบทความวิชาการในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของหลักตรรกศาสตร์กับพระพุทธศาสนา ตรรกศาสตร์เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยกฎเกณฑ์การใช้เหตุผล และเป็นเครื่องมือสำคัญที่นำไปอธิบายความคิดทางปรัชญาให้มีความสมเหตุสมผล มีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น ดังนั้นตรรกศาสตร์จึงมิใช่ตัวความรู้และมิใช่ตัวความจริง แต่เป็นเครื่องมือหรือเป็นตัวนำเราไปสู่ความรู้ความจริงนั้น ผลการศึกษาคือถ้าหากปราศจากการคิดหาเหตุผลโดยวิธีการทางตรรกศาสตร์แล้ว ก็เป็นการยากอย่างยิ่งที่มนุษย์จะเข้าถึงทั้งความรู้ความจริงนี้ได้ ทั้งพระพุทธศาสนาและตรรกศาสตร์ต่างเกี่ยวข้องกับความจริงที่มนุษย์ควรแสวงหา พระพุทธศาสนาเห็นว่าชีวิตมีทุกข์ การขจัดความทุกข์ได้คือนิพพานนั่นคือการบรรลุความจริงสูงสุดของมนุษย์ ส่วนตรรกศาสตร์ทำหน้าที่วางระเบียบวิธีคิดเพื่อให้เข้าใจความจริง พระพุทธศาสนาไม่ได้ปฏิเสธว่ามนุษย์ไม่คิดแบบตรรกศาสตร์ ทั้งพระอริยบุคคลและปุถุชนต่างก็คิดแบบตรรกศาสตร์ด้วยกันทั้งหมด และการศึกษายังพบอีกว่าบางครั้งใช้ข้อแน่ใจและบางครั้งใช้ประสบการณ์เป็นฐานการคิดเช่นกัน เพราะการคิดทั้ง 2 แบบเป็นธรรมชาติหรือปกติวิสัยของมนุษย์ทุกคน ดังนั้น จะเห็นว่าทั้งพระพุทธศาสนาและตรรกศาสตร์นั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างลึกซึ้งเลยทีเดียว

  • วารสารวิจัยธรรมศึกษา

    วารสารวิจัยธรรมศึกษา ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 (มกราคม - มิถุนายน 2564)
    ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 (2021)

    พ.ศ. 2564 นับว่าเป็นปีที่ 4 ในการจัดพิมพ์วารสารวิจัยธรรมศึกษา ศูนย์วิจัยธรรมศึกษา สำนักเรียนวัดอาวุธวิกสิตาราม โดยทางกองบรรณาธิการได้บริหารจัดการวารสารให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน TCI มีการตรวจประเมินผลงานวิชาการจากผู้ทรงคุณวุฒิจากหลายหน่วยงาน กล่าวคือมีการเชิญผู้ทรงคุณวุฒิ 2 รูป/คน ประเมิน 1 บทความ เพื่อเป็นการรักษามาตรฐานทางวิชาการนั่นเอง และในโอกาสต่อไป เมื่อวารสารได้การรับรองคุณภาพจาก TCI แล้ว ก็จะเน้นการบริหารวารสารทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณให้เรียบร้อยและมีประสิทธิภาพประสิทธิผลต่อไป

    วารสารวิจัยธรรมศึกษาฉบับนี้ได้นำเสนอผลงานของนักวิชาการจากหน่วยงานต่างๆ ที่น่าสนใจดังนี้

    1. การศึกษาเชิงวิเคราะห์เรื่องพุทธจิตวิทยาการสอนในพุทธปรัชญาเถรวาท (An Analytical Study of the Buddha?s Pedagogical Psychology in Theravada Buddhist Philosophy) โดย ธรรมศักดิ์ กาญจนบูรณ์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ผลการศึกษาวิเคราะห์ พบว่า 1) จิตวิทยาการสอนของนักปรัชญาและนักจิตวิทยาแต่ละท่านมีพัฒนาการมาหลายช่วงยุคสมัยตามระบบสังคมที่แปรเปลี่ยนไปซึ่งนักจิตวิทยาแต่ละท่านจะมีทรรศนะในการใช้จิตวิทยาการสอนที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งนักจิตวิทยาแต่ละท่านจะมีแนวคิดที่มุ่งเน้นในด้านที่ตนเองค้นคว้า จึงทำให้เกิดแนวคิดของนักจิตวิทยากลุ่มต่างๆออกมามากมาย  นักจิตวิทยาบางกลุ่มจะมุ่งเน้นในด้านจิตนิยม บางกลุ่มจะมุ่งไปที่พฤติกรรมนิยม และบางกลุ่มจะกำหนดสภาพแวดล้อมเพื่อเป็นปัจจัยในการเรียนรู้ แม้ว่าในแต่ละกลุ่มจะมีแนวทางปฏิบัติที่ไม่เหมือนกันแต่ก็มีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือเพื่อทำความเข้าใจของพฤติกรรมการเรียนรู้ของบุคคลในแต่ละบุคคลรวมถึงสามารถกำหนดพฤติกรรมการเรียนรู้ให้สำเร็จตามคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 2) พุทธจิตวิทยาการสอนที่ปรากฏในพุทธปรัชญาเถรวาทนั้นมีรูปแบบและแนวทางปฏิบัติที่เป็นแบบแผนมาแต่อดีตยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง แม้ว่าจะเป็นเรื่องที่ผ่านมานานแล้วก็ตาม แต่มีโครงสร้างที่ลึกซึ้ง ละเอียด และครอบคลุมในหลายด้าน ซึ่งจะมีทั้งลีลาการสอนที่มีลักษณะแตกต่างกันออกไป ทั้งยังกล่าวถึงเรื่องของจริต ทั้ง 6 ที่จะมามีบทบาทในการหาความเหมาะสมของเรื่องที่จะสอนว่าสอดคล้องกับจริตประจำตัวของผู้ฟังหรือไม่ รวมถึงเรื่องราวของคำสอนที่เกี่ยวกับนวังคสัตถุศาสน์ ที่มีรูปแบบการสอนที่เป็นแนวทางซึ่งได้กำหนดไว้อย่างเป็นขั้นเป็นตอนเข้าใจได้ง่ายและแบ่งได้หลายระดับตามแต่ผู้ที่เข้ามาฟังธรรมเทศนา โดยที่สามารถนำมาใช้ได้กับสังคมยุคปัจจุบันได้เป็นอย่างดี 3) พุทธจิตวิทยาการสอนที่ปรากฏในพุทธปรัชญาเถรวาท แม้ว่าจะผ่านมานานแล้วก็ตาม แต่ก็ยังสามารถนำมาปรับใช้ในสังคมปัจจุบันได้เป็นอย่างดี แม้ว่าหลักจิตวิทยาการสอนของนักจิตวิทยาจะมีการปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัย แต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อการนำไปใช้ในด้านการเรียนการสอนของสังคมสมัยใหม่ ซึ่งการสอนในรูปแบบหลักสูตรที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนั้น ยังไม่สามารถสร้างเสริมการเรียนรู้ของเด็กให้ตรงตามจุดประสงค์เท่าที่ควร และเมื่อได้ศึกษาหลักคำสอนตามแนวพุทธศาสนาก็พบว่า มีหลักการ รูปแบบ และวิธีการ ที่น่านำมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของครูผู้สอนเป็นอย่างยิ่ง เรื่องของพุทธจิตวิทยาการสอนจึงเป็นเรื่องของวิธีการ รูปแบบ ลีลาการสอน โดยไม่ได้มุ่งประเด็นไปที่เรื่องที่ทรงสอนว่าสอนเรื่องอะไร แต่จะมองไปที่วิธีการที่พระพุทธองค์ทรงสอนว่า มีหลักในการเลือกใช้วิธีการสอนอย่างไรบ้าง และแต่ละบุคคลควรสอนอย่างไร วิธีการอะไร มีอุบายอย่างไรมากกว่า
    2. ศึกษาความรู้เรื่องความตายของชาวพุทธในยุคปัจจุบัน : ศึกษาเฉพาะกรณีหมู่บ้านมหามงคล 2 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม (A Study of Modern Buddhists? Knowledge in Death : A Case Study of Mahamongkol Village 2 Salaya, Buddhamonthon District, Nakhon Pathom Province) โดย สุรพงษ์ กุมาร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย และ พูนศักดิ์ กมล มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ผลการวิจัย พบว่า 1. ความรู้เรื่องความตายของชาวพุทธหมู่บ้านมหามงคล 2 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ความหมายความตาย รองลงมาได้แก่ อารมณ์ของผู้ใกล้ตาย สาเหตุของความตาย ประโยชน์ที่เกิดจากการพิจารณาความตาย ประเภทของความตาย ปรากฏการณ์ก่อนตาย และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดได้แก่ วิธีพิจารณาความตาย ตามลำดับ 2. ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า เพศ อายุ วุฒิการศึกษาทางโลก และวุฒิการศึกษาทางธรรม ของชาวพุทธหมู่บ้านมหามงคล 2 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ไม่มีความสัมพันธ์กับความรู้เรื่องความตาย 3. ข้อเสนอแนะ พบว่า การตายเป็นเรื่องปกติ ชีวิตเกิดมาก็ย่อมต้องตาย ไม่มีสิ่งใดอยู่ได้ โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง และไม่มีผู้ใดไม่เป็นทุกข์ เมื่อความตายมาถึง ดังนั้น จึงควรทำความดีตามแนวคำสอนของพุทธศาสนา จึงไม่ควรกลัวที่จะตายจงพร้อม และทำจิตใจให้สงบเมื่อวาระแห่งความตายมาถึง
    3. วิเคราะห์ธรรมชาติของสสาร (Analyzing the Nature of Matter) โดย วิธวินท์ ภาคแก้ว พระครูจารุสารธรรม นักวิชาการอิสระ และ มนัสวี ศรีนนท์ สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล สรุปได้ว่า ธรรมชาติของสสารนั้นสามารถนำมาปรับใช้กับการดำเนินชีวิตได้ทั้งทางด้านครอบครัว ประเทศชาติ ไม่เฉพาะแต่ในฝั่งตะวันตกหรือตะวันออกเท่านั้น หากแต่ยังใช้ได้กับฝั่งเอเชียและทั่วทั้งโลกอีกด้วย จึงนับว่าเป็นทางอันจะนำไปสู่สังคมโลกที่สงบ สันติ และยั่งยืนต่อไป
    4. วิเคราะห์การใช้ยาตามพุทธานุญาตกับรสยาตามคัมภีร์แพทย์แผนไทย (Analysis of the Drug Use According to the Buddha?s Permission and the Taste of Drugs Based on the Thai Traditional Medicine Scriptures) โดย นภาพร กิตติศักดิ์ไพรัช นักวิชาการอิสระ สรุปว่า การวิเคราะห์การใช้ยาตามพุทธานุญาตกับรสยาตามคัมภีร์แพทย์แผนไทยเรื่องนี้ ผู้เขียนได้ทำการศึกษาโดยการเทียบกับรสยาในคัมภีร์เวชศึกษาเป็นหลัก คือ รสยา 10 รส เพราะรสยา 10 รส เป็นรสที่การแพทย์แผนไทยนำมาใช้ในการรักษาโรค ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า พระพุทธานุญาตเภสัชที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้สามารถบ่งบอกรสยาได้จากสรรพคุณของเภสัชนั้น ๆ ได้ เพราะเภสัชต่าง ๆ ที่ตรัสมีไว้เพื่อรักษาการอาพาธของภิกษุผู้เป็นสาวกและเพื่อรักษาพระองค์เองด้วยนั่นเอง
    5. บทวิจารณ์หนังสือเรื่อง ?ปริศนาปรัชญาธรรมในประเพณีบำเพ็ญกุศลศพ? เขียนโดย สุขพัฒน์ อนนท์จารย์ (Review of the Book on "Mystery of Philosophy in the Funeral Tradition" Written by Sukaphat Anonchan) โดย ศิริเพ็ญ ชัยสนิท โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม และ พระมหามฆวินทร์ ปุริสุตฺตโม ศูนย์วิจัยธรรมศึกษา สำนักเรียนวัดอาวุธวิกสิตาราม สรุปว่า หนังสือเรื่อง ?ปริศนาปรัชญาธรรม ในประเพณีบำเพ็ญกุศลศพ? ผู้เรียบเรียง : ดร.สุขพัฒน์ อนนท์จารย์ เป็นหนังสือที่เกี่ยวกับปริศนาในงานศพโดยเฉพาะ ผู้เขียนได้รวบรวมปริศนาธรรมทางพระพุทธศาสนาไว้ในเล่มเดียวกัน และได้รวบรวมขึ้นมาในโอกาสที่ผู้เขียนได้สูญเสียบุคคลสำคัญในชีวิตไป เฉพาะเรื่องปริศนาปรัชญาธรรมใน งานศพ เคยตีพิมพ์ไปแล้วครั้งหนึ่ง แต่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของหนังสือปริศนา ปรัชญาธรรม เนื้อหาไม่มากนัก โดยสำนักพิมพ์ ลูก ส.ธรรมภักดี จัดพิมพ์ เมื่อปี พ.ศ. 2546 ได้รับการตอบรับจากผู้สนใจเป็นอย่างดียิ่ง ผู้เขียนจึงได้รวบรวม หนังสือเล่มนี้ขึ้นมาใหม่ต่างหาก เอาเฉพาะเนื้อหาที่เป็นปริศนาปรัชญาธรรม ในประเพณีการบำเพ็ญกุศลศพเท่านั้น และได้เพิ่มเติมเนื้อหาบางส่วน สำหรับเล่มนี้มีข้อมูลทางบรรณานุกรมหอสมุดแห่งชาติ สำนักพิมพ์ ลูก ส. ธรรมภักดี, 2552 จำนวน 75 หน้า ข้าพเจ้าสนใจ จึงยกบางประเด็นขึ้นมาวิจารณ์
  • วารสารวิจัยธรรมศึกษา

    วารสารวิจัยธรรมศึกษา ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2563)
    ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 (2020)

    ปี พ.ศ. 2563 เป็นปีที่ 3 ในการจัดพิมพ์วารสารวิจัยธรรมศึกษา ศูนย์วิจัยธรรมศึกษา สำนักเรียนวัดอาวุธวิกสิตาราม ฉบับที่ 1 โดยกองบรรณาธิการดำเนินการให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน TCI ซึ่งมีการตรวจประเมินผลงานวิชาการอย่างรอบด้านจากผู้ทรงคุณวุฒิจากหลายหน่วยงาน เป็นผลงานที่ไม่ละเมิดจริยธรรมทางวิชาการ มีการเชิญผู้ทรงคุณวุฒิ 2 รูป/คน ประเมิน 1 บทความ และผู้ทรงคุณวุฒิ 1 รูป/คน จะประเมินบทความได้เพียง 1 บทความเท่านั้นในวารสารแต่ละฉบับ เพื่อรักษามาตรฐานทางวิชาการ

    วารสารวิจัยธรรมศึกษาฉบับนี้ได้นำเสนอผลงานของนักวิชาการจากหน่วยงานต่างๆ ที่น่าสนใจดังนี้

    1. วิเคราะห์ปรากฏการณ์วิทยาของฮุสเซิร์ล (Analyzing the phenomenology of Husserl) โดย พระจาตุรงค์ ชูศรี สรุปว่า เอดมุนด์ ฮุสเซิร์ล [Edmund Husserl] เป็นนักปรัชญาทางด้านปรากฏการณ์วิทยา โดยเสนอวิธีการหาความรู้แบบปรากฏการณ์วิทยา อยู่ที่การตั้งคำถามหรือชวนสงสัยกับสิ่งที่เราคุ้นเคย เคยชิน หรือยอมรับ ด้วยวิธีการใส่วงเล็บของอคติ [Bracketing] ต่อโลก ปรัชญาปรากฏการณ์วิทยาของ ฮุสเซิร์ลยังมุ่งการอธิบายเรื่องสำนึกว่าการสำนึกนั้นต้องสำนึกถึงอะไรบางอย่าง อย่างไรก็ตาม การสำนึกรู้นั้นทำให้แนวคิดของฮุสเซิร์ลมีท่าทีทำให้เกิดการปิดตัวเองอยู่ในโลกของมโนคติมาก  จนอาจปฏิเสธถึงความมีอยู่ของสิ่งภายนอกตัวของบุคคล เพราะสิ่งต่างๆ เป็นสิ่งที่มีอยู่ได้นั้นก็ล้วนต้องอิงอาศัยกันและกันตามเงื่อนไขของเวลาและสถานที่รวมทั้งบริบท(Context)
    2. การทำวิทยานิพนธ์อย่างมืออาชีพ : เนื้อหามีคุณภาพและอ้างอิงอย่างมีจรรยาบรรณ (Professional thesis: quality content and ethical references) โดย มนัสวี ศรีนนท์ และ พระมหามฆวินทร์ ปุริสุตฺตโม สรุปว่า การทำวิทยานิพนธ์หรือการทำวิจัยตามที่รู้จักกันโดยทั่วไปนั้นเป็นเรื่องเกี่ยวกับการศึกษาของนักศึกษาและเป็นเรื่องการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพโดยสถาบันการศึกษา ทั้งนี้ วิทยานิพนธ์หรืองานวิจัยที่นักศึกษาทำจะจัดว่าเป็นงานที่มีคุณภาพได้นั้น นักศึกษาจะต้องสนใจใคร่รู้ต่อเนื้อหาวิชาที่เกี่ยวข้องกับประเด็นของวิทยานิพนธ์หรืองานวิจัยเป็นเบื้องต้น ตลอดจนนักศึกษาต้องมีจรรยาบรรณต่อการทำวิจัยในมนุษย์ด้วย เพราะหากการดำเนินการทำวิทยานิพนธ์โดยปราศจากกระบวนการดังกล่าวแล้ว วิทยานิพนธ์ที่จัดทำขึ้นย่อมเป็นผลงานที่ละเมิดคุณธรรมจริยธรรมได้ ดังนั้น วิทยานิพนธ์จะมีคุณภาพและมีจรรยาบรรณได้ นักศึกษาจะต้องทำวิทยานิพนธ์ให้ถูกต้องตามหลักวิชาการและมีกระบวนการวิจัยที่ไม่ละเมิดจริยธรรมวิจัยในมนุษย์
    3. การนำนโยบายไปปฏิบัติ (Policy implementation) โดย จักรี ศรีจารุเมธีญาณ และ ชุติมา ศรีจารุเมธีญาณ สรุปว่า ปัญหาเกี่ยวกับการนำนโยบายไปปฏิบัตินั้นสัมพันธ์กับปัจจัยต่างๆมากมายอย่างแยกไม่ออก โดยเฉพาะอย่างยิ่งส่งผลต่อความสำเร็จและความล้มเหลวของนโยบายด้วย การจะบอกว่านโยบายหนึ่งๆ มีปัญหาตอนนำไปปฏิบัติหรือไม่ ถ้ามีปัญหานั้นมีอย่างไร ไม่สามารถอธิบายได้ในลักษณะเดียว แต่ต้องพิจารณาเป็นรายกรณี ประกอบกับความเข้าใจในแนวคิดและกระบวนนโยบาย ตลอดจนโครงสร้างการบริหารงานภาครัฐเป็นอย่างดี
    4. การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาประวัติศาสตร์ เรื่อง พัฒนาการของอาณาจักรอยุธยา โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบวัฎจักรการเรียนรู้ (4 MAT) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (THE LEARNING DEVELOPMENT ON ACHIEVEMENT IN HISTORY OF THE AYUTTHAYA KINGDOM BY USING CYCLE MODEL LEARNING (4 MAT) FOR MATTHAYOM 2 STUDENTS) โดย ชัยรัตน์ ตั๋นสกุล วีระ วงศ์สรรค์ และ รสรินทร์ อรอมรรัตน์ ผลการวิจัย พบว่า (1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาประวัติศาสตร์โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบวัฎจักรการเรียนรู้ (4MAT) สูงกว่านักเรียนที่ใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ (2) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบวัฎจักรการเรียนรู้ (4MAT) วิชาประวัติศาสตร์ เรื่อง พัฒนาการของอาณาจักรอยุธยา นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2โดยภาพรวมมีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด
    5. การพัฒนาความสามารถทางการเรียนวิชาวัดละเอียดด้วยเทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยวิธีแบ่งกลุ่มตามผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (STAD) (Learning Achievement in Detailed Measurement Course Using STAD Cooperative Learning Technique) โดย อุทัย ซุ่นใช้ วีระ วงศ์สรรค์ และ ธนาดล สมบูรณ์ ผลการวิจัย พบว่า 1. นักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยวิธีแบ่งกลุ่มตามผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (STAD) มีคะแนนเฉลี่ยความสามารถทางการเรียนมากกว่านักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2. นักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยวิธีแบ่งกลุ่มตามผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (STAD) มีคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจมากกว่านักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
  • วารสารวิจัยธรรมศึกษา

    วารสารวิจัยธรรมศึกษา ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 (มกราคม - มิถุนายน 2563)
    ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 (2020)

    ปี พ.ศ. 2563 เป็นปีที่ 3 ในการจัดพิมพ์วารสารวิจัยธรรมศึกษา ศูนย์วิจัยธรรมศึกษา สำนักเรียนวัดอาวุธวิกสิตาราม ฉบับที่ 1 โดยกองบรรณาธิการดำเนินการให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน TCI ซึ่งมีการตรวจประเมินผลงานวิชาการอย่างรอบด้านจากผู้ทรงคุณวุฒิจากหลายหน่วยงาน เป็นผลงานที่ไม่ละเมิดจริยธรรมทางวิชาการ มีการเชิญผู้ทรงคุณวุฒิ 2 รูป/คน ประเมิน 1 บทความ และผู้ทรงคุณวุฒิ 1 รูป/คน จะประเมินบทความได้เพียง 1 บทความเท่านั้นในวารสารแต่ละฉบับ เพื่อรักษามาตรฐานทางวิชาการ

    วารสารวิจัยธรรมศึกษาฉบับนี้ได้นำเสนอผลงานของนักวิชาการจากหน่วยงานต่างๆ ที่น่าสนใจดังนี้

    1. วิเคราะห์ปรากฏการณ์วิทยาของฮุสเซิร์ล (Analyzing the phenomenology of Husserl) โดย พระจาตุรงค์ ชูศรี สรุปว่า เอดมุนด์ ฮุสเซิร์ล [Edmund Husserl] เป็นนักปรัชญาทางด้านปรากฏการณ์วิทยา โดยเสนอวิธีการหาความรู้แบบปรากฏการณ์วิทยา อยู่ที่การตั้งคำถามหรือชวนสงสัยกับสิ่งที่เราคุ้นเคย เคยชิน หรือยอมรับ ด้วยวิธีการใส่วงเล็บของอคติ [Bracketing] ต่อโลก ปรัชญาปรากฏการณ์วิทยาของ ฮุสเซิร์ลยังมุ่งการอธิบายเรื่องสำนึกว่าการสำนึกนั้นต้องสำนึกถึงอะไรบางอย่าง อย่างไรก็ตาม การสำนึกรู้นั้นทำให้แนวคิดของฮุสเซิร์ลมีท่าทีทำให้เกิดการปิดตัวเองอยู่ในโลกของมโนคติมาก  จนอาจปฏิเสธถึงความมีอยู่ของสิ่งภายนอกตัวของบุคคล เพราะสิ่งต่างๆ เป็นสิ่งที่มีอยู่ได้นั้นก็ล้วนต้องอิงอาศัยกันและกันตามเงื่อนไขของเวลาและสถานที่รวมทั้งบริบท(Context)
    2. การทำวิทยานิพนธ์อย่างมืออาชีพ : เนื้อหามีคุณภาพและอ้างอิงอย่างมีจรรยาบรรณ (Professional thesis: quality content and ethical references) โดย มนัสวี ศรีนนท์ และ พระมหามฆวินทร์ ปุริสุตฺตโม สรุปว่า การทำวิทยานิพนธ์หรือการทำวิจัยตามที่รู้จักกันโดยทั่วไปนั้นเป็นเรื่องเกี่ยวกับการศึกษาของนักศึกษาและเป็นเรื่องการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพโดยสถาบันการศึกษา ทั้งนี้ วิทยานิพนธ์หรืองานวิจัยที่นักศึกษาทำจะจัดว่าเป็นงานที่มีคุณภาพได้นั้น นักศึกษาจะต้องสนใจใคร่รู้ต่อเนื้อหาวิชาที่เกี่ยวข้องกับประเด็นของวิทยานิพนธ์หรืองานวิจัยเป็นเบื้องต้น ตลอดจนนักศึกษาต้องมีจรรยาบรรณต่อการทำวิจัยในมนุษย์ด้วย เพราะหากการดำเนินการทำวิทยานิพนธ์โดยปราศจากกระบวนการดังกล่าวแล้ว วิทยานิพนธ์ที่จัดทำขึ้นย่อมเป็นผลงานที่ละเมิดคุณธรรมจริยธรรมได้ ดังนั้น วิทยานิพนธ์จะมีคุณภาพและมีจรรยาบรรณได้ นักศึกษาจะต้องทำวิทยานิพนธ์ให้ถูกต้องตามหลักวิชาการและมีกระบวนการวิจัยที่ไม่ละเมิดจริยธรรมวิจัยในมนุษย์
    3. การนำนโยบายไปปฏิบัติ (Policy implementation) โดย จักรี ศรีจารุเมธีญาณ และ ชุติมา ศรีจารุเมธีญาณ สรุปว่า ปัญหาเกี่ยวกับการนำนโยบายไปปฏิบัตินั้นสัมพันธ์กับปัจจัยต่างๆมากมายอย่างแยกไม่ออก โดยเฉพาะอย่างยิ่งส่งผลต่อความสำเร็จและความล้มเหลวของนโยบายด้วย การจะบอกว่านโยบายหนึ่งๆ มีปัญหาตอนนำไปปฏิบัติหรือไม่ ถ้ามีปัญหานั้นมีอย่างไร ไม่สามารถอธิบายได้ในลักษณะเดียว แต่ต้องพิจารณาเป็นรายกรณี ประกอบกับความเข้าใจในแนวคิดและกระบวนนโยบาย ตลอดจนโครงสร้างการบริหารงานภาครัฐเป็นอย่างดี
    4. การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาประวัติศาสตร์ เรื่อง พัฒนาการของอาณาจักรอยุธยา โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบวัฎจักรการเรียนรู้ (4 MAT) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (THE LEARNING DEVELOPMENT ON ACHIEVEMENT IN HISTORY OF THE AYUTTHAYA KINGDOM BY USING CYCLE MODEL LEARNING (4 MAT) FOR MATTHAYOM 2 STUDENTS) โดย ชัยรัตน์ ตั๋นสกุล วีระ วงศ์สรรค์ และ รสรินทร์ อรอมรรัตน์ ผลการวิจัย พบว่า (1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาประวัติศาสตร์โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบวัฎจักรการเรียนรู้ (4MAT) สูงกว่านักเรียนที่ใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ (2) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบวัฎจักรการเรียนรู้ (4MAT) วิชาประวัติศาสตร์ เรื่อง พัฒนาการของอาณาจักรอยุธยา นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2โดยภาพรวมมีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด
    5. การพัฒนาความสามารถทางการเรียนวิชาวัดละเอียดด้วยเทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยวิธีแบ่งกลุ่มตามผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (STAD) (Learning Achievement in Detailed Measurement Course Using STAD Cooperative Learning Technique) โดย อุทัย ซุ่นใช้ วีระ วงศ์สรรค์ และ ธนาดล สมบูรณ์ ผลการวิจัย พบว่า 1. นักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยวิธีแบ่งกลุ่มตามผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (STAD) มีคะแนนเฉลี่ยความสามารถทางการเรียนมากกว่านักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2. นักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยวิธีแบ่งกลุ่มตามผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (STAD) มีคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจมากกว่านักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
  • วารสารวิจัยธรรมศึกษา

    วารสารวิจัยธรรมศึกษา ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2562)
    ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (2019)

    วารสารวิจัยธรรมศึกษา ศูนย์วิจัยธรรมศึกษา สำนักเรียนวัดอาวุธวิกสิตาราม ฉบับที่ 2  ในปี พ.ศ. 2562 นี้ ทางกองบรรณาธิการได้ดำเนินการให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน TCI ดังเช่นที่เคยทำมา  พร้อมทั้งได้พยายามสรรหาบทความวิชาการจากส่วนงานต่างๆ มาร่วมสร้างสรรค์เป็นผลงานวิชาการให้มีความหลากหลายมากขึ้น ทั้งนี้ ก็ยังรักษามาตรฐานทางวิชาการอีกต่อไป

    วารสารวิจัยธรรมศึกษาฉบับนี้ได้นำเสนอผลงานของนักวิชาการจากหน่วยงานต่างๆ ที่น่าสนใจดังนี้

    1. เรื่องไร้สาระในคัมภีร์พระพุทธศาสนา (Nonessential in the text of Buddhism) โดย พระจาตุรงค์ ชูศรี ผู้เขียนนำเสนอประเด็นว่าด้วยคำว่า ?ไร้สาระ? จากการสืบค้นคำในพระไตรปิฎก ฉบับ มจร โดยได้พบเนื้อความเบื้องต้น 8 ประเด็นที่ชี้ให้เห็นว่าเป็นอย่างไรคือ 1. ความเชื่อว่าขาดสูญเป็นคำพูดที่ไร้สาระ 2.ความเชื่อในไตรเพท 3. ความรู้ชัดในสิ่งที่ดีงาม  4. การไม่ให้ผลของทาน  5. ทานที่ให้แล้วไม่มีผล  6. ว่าด้วยการกล่าวคำที่ไร้สาระ  7. ว่าด้วยการกล่าวคำที่ไร้สาระ และ 8. เรื่องกายที่ไร้สาระ
    2. วิเคราะห์คุณค่าทางปรัชญาในประเพณีวันสงกรานต์ (Analyzing Philosophical Values in the Songkran Festival) โดย พระมหาอนันต์ อนุตฺตโร บทความนี้กล่าวถึงคุณค่าทางปรัชญาที่อยู่ในประเพณีวันสงกรานต์ โดยการคิดค้นของบรรพชนที่มีการถ่ายทอดและสืบต่อ ๆ กัน ทำให้สังคมไทยมีลักษณ์ที่โดดเด่น ประเพณีสงกรานต์นี้ เป็นปรัชญาที่มากด้วยคุณค่า จริยศาสตร์ที่เป็นปรัชญา สร้างคุณค่าอันเป็นกิจวัตรให้กับมนุษย์ในการดำเนินชีวิต กิจกรรมที่เกิดขึ้นในวันสงกรานต์ สร้างความรักระหว่างครอบครัว ญาติ พี่น้อง มิตรสหาย ศาสนา อันเป็นคุณค่าทางปรัชญาที่ปรากฏอยู่ในประเพณีวันสงกรานต์ และคู่สังคมไทยจนถึงปัจจุบัน
    3. พระพุทธศาสนากับสังคมไทย (Buddhism and Thai society) โดย พระราชรัตนมงคล สรุปว่า พระพุทธศาสนามีแหล่งกำเนิดอยู่ที่ประเทศเนปาล-อินเดีย และได้เผยแผ่เข้าสู่ประเทศไทยประมาณ 2300 ปีมาแล้ว หลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนาจึงได้เป็นรากฐานสำคัญทางด้านภาษา ศิลปวัฒน ธรรม ประเพณีของไทยมาจนถึงปัจจุบัน เช่น ชายไทยต้องบวชเป็นพระภิกษุในระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งประเพณีนี้สืบเนื่องมาจากในสมัยกรุงสุโขทัยเป็นเมืองหลวงเมื่อ 735 ที่ผ่านมา ในครั้งนั้นพระมหากษัตริย์ได้ผนวชในพระพุทธศาสนา ดังนั้น จึงเป็นประเพณีที่ยังคงปฏิบัติสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน การส่งเสริมพระพุทธศาสนาของไทยมีสถาบันสำคัญ 3 สถาบัน ได้แก่ บ้าน วัด โรงเรียน จึงทำให้พระพุทธศาสนามีความมั่นคง พระพุทธศาสนาในประเทศไทยได้เผยแผ่ไปทั่วโลก ทั้งนี้ เพราะเป็นศาสนาแห่งสันติภาพ ทำให้ผู้ปฏิบัติเข้าถึงความสงบทางจิตใจอย่างแท้จริง ดังนั้น จึงมีชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาศึกษาพระพุทธศาสนาและปฏิบัติธรรมในประเทศไทยเพิ่มมากยิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง
    4. ความเป็นมาและพัฒนาการของลัทธิเต๋า (History and development of Taoism) โดย พนมกร คำวัง สรุปว่า เต๋าคือดำเนินชีวิตให้สอดคล้องกลมกลืนกับธรรมชาติ ดำรงชีวิตอย่างเรียบง่าย ตัดความฟุ้งเฟ้อ เลิกละการศึกษาเล่าเรียน หยุดสร้างวัฒนธรรมและอารยธรรมต่างๆ หากมนุษย์กลับเข้าหาเต๋า ก็ย่อมจะมีความสงบสุขอย่างดื่มด่ำ ลัทธิเต๋าสอนให้มนุษย์ดำเนินชีวิตไปตามธรรมชาติ ให้เรียนรู้ธรรมชาติและวิธีปฏิบัติให้สอดคล้องและกลมกลืนกับธรรมชาติ ไม่ขัดขืนหรือฝ่าฝืนต่อธรรมชาติ ดังนั้น คำสอนของลัทธิเต๋าจึงคล้ายคลึงกับคำสอนของพุทธศาสนาในแง่อุดมคติชีวิตหรือจุดหมายสูงสุดของชีวิต หมายความว่าสภาวะของเต๋าคล้ายกับสภาวะของนิพพานในพุทธศาสนานั่นเอง สรุปแล้ว เล่าจื๊อสอนให้เอาเต๋าเป็นอุดมคติชีวิต ทั้งในด้านเศรษฐกิจการเมือง การปกครอง และสังคม เพื่อให้ทุกอย่างดำเนินไปอย่างสมดุลหรือเป็นทางสายกลาง
    5. ศึกษาพระพุทธศาสนามหายานในโลกตะวันตก : อดีตถึงปัจจุบัน (A Study of Mahayana Buddhism In the western world: Past to Present) โดย จารุวรรณ นุแรมรัมย์ และคณะ สรุปว่า สิ่งที่มนุษย์ใช้เป็นหลักยึดเหนี่ยว นับถือ และศรัทธา คือ ?ศาสนา? อนึ่ง ศาสนาทุกศาสนาล้วนสอนให้คนเป็นคนดีทั้งสิ้น ส่วนพระพุทธศาสนาซึ่งเป็นหนึ่งในศาสนาที่มีความเก่าแก่และมีหลักคำสอนที่มีความสมเหตุสมผลและสามารถพิสูจน์ได้ จึงมีผู้คนที่นับถือพระพุทธศาสนามายมาย อิทธิพลของพระพุทธศาสนานั้นได้เจริญรุ่งเรืองตลอดมา และยังได้เผยแผ่ไปยังนานาประเทศในตะวันออก ระยะต่อมาช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง พระพุทธศาสนาได้เริ่มเป็นที่ดึงดูดใจของชาวตะวันตกมากขึ้น โดยพระพุทธศาสนาดังกล่าวนั้นก็คือนิกายมหายาน จวบจนถึงปัจจุบัน พระพุทธศาสนามหายานก็เจริญเติบโตในฝั่งตะวันตกเรื่อยมา
  • วารสารวิจัยธรรมศึกษา

    วารสารวิจัยธรรมศึกษา ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มกราคม - มิถุนายน 2562)
    ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (2019)

    ปี พ.ศ. 2562 เป็นปีที่ 2 ของวารสารวิจัยธรรมศึกษา ศูนย์วิจัยธรรมศึกษา สำนักเรียนวัดอาวุธวิกสิ   ตาราม กองบรรณาธิการได้ดำเนินการวารสารให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน TCI มาอย่างต่อเนื่อง โดยได้ตรวจประเมินผลงานวิชาการจากผู้ทรงคุณวุฒิจากหลายหน่วยงานเช่นเคย ทั้งนี้ เพื่อรักษามาตรฐานทางวิชาการนั่นเอง

    วารสารวิจัยธรรมศึกษาฉบับนี้ได้นำเสนอผลงานของนักวิชาการจากหน่วยงานต่างๆ ที่น่าสนใจดังนี้

    1. ข้อยืนยันสาระสำคัญของอภิปรัชญาเชน (The essential testimony of the Jainism Metaphysic) โดย พระจาตุรงค์ ชูศรี สรุปว่า อภิปรัชญาเชนมี 2 ประเด็น คือ 1) ทฤษฎีอเนกันตวาท ที่มีสำคัญมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ 1. ปรัชญาเกี่ยวกับความจริงที่รู้กันได้โดยสามัญสำนึก 2.ปรัชญาเกี่ยวกับความจริงที่รู้กันได้หลายแง่มุม โดยชี้ให้เห็นว่า อภิปรัชญาของเชนมีลักษณะเป็นพหุสัจนิยม (Pluralistic realism) หรือ สัมพัทธนิยม (Relativistic realism) และ 2) เชนถือว่า ทรัพยะ(Substance) หรือสสารหรือความจริงแท้มี 9 อย่าง แต่เมื่ถอประมวลความแล้วมีนัยเป็น 2 คือสสารและอสาร
    2. ธรรมะกับการทำงาน : ทำงานอย่างไรให้มีความสุข (Dharma and Work: How to Work Happily) โดย มนัสวี ศรีนนท์ และ พระมหามฆวินทร์ ปุริสุตฺตโม ผลการศึกษา พบว่า ธรรมะกับการทำงานนั้นเป็นไปด้วยกันได้ เพราะธรรมะช่วยทำให้งานที่ทำสำเร็จได้ พร้อมกันนี้ ธรรมะยังช่วยทำให้ผู้ทำงานไม่เกิดความเบื่อหน่ายในงานและเกิดความปรารถนาที่จะทำงานให้บรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ ส่วนการทำงานให้มีความสุขนั้นต้องเป็นทำงานที่ประกอบด้วยหลักอิทธิบาท 4 เมื่องานสำเร็จแล้ว ผู้ทำงานย่อมเกิดความพอใจในงาน และเมื่องานสำเร็จแล้วย่อมได้ประโยชน์และอานิสงส์
    3. มองมุมใหม่เพื่อความเข้าใจจารวาก (Examining for a new aspect to understanding Carvaka) โดย อานนท์ อุ่นธง สรุปว่า แนวคิดของปรัชญาอินเดียทุกระบบ นอกจากแนวคิดของจารวากแล้วล้วนถือเอาความหลุดพ้นเป็นจุดหมายสูงสุดของชีวิต และจารวากก็ถือเอาความเพลิดเพลินทางกามารมณ์ ความสุขทางกามารมณ์ และความสนุกสนานเพลิดเพลิน เป็นอุดมคติของชีวิตและเป็นยอดของความปรารถนาของมนุษย์ โดยหากมนุษย์ไม่แสวงหาความสุขทางประสาทสัมผัสขณะเมื่อยังมีชีวิตอยู่ การเกิดมาเป็นมนุษย์จะมีประโยชน์อะไร
    4. ม่อจื่อ : ผู้ปรารถนาโลกแห่งภราดรภาพ (Mo Zhi : Who aspire the world of fraternity) โดย พนมกร คำวัง สรุปว่า ม่อจื่อเป็นนักปฏิบัตินิยม ชอบดำรงตนตามแบบวิถีปรัชญาแห่งตน และเขาชอบขวางกั้นกระแสวัฒนธรรมแบบเดิม แต่ก็ไม่สามารถทำได้ เพราะคนในสังคมมีความเชื่อบางอย่างฝังรากมานาน ส่วนภราดรภาพในแบบของม่อจื่อนั้นคือการที่เขามีแนวคิดที่เป็นปฏิปักษ์ต่อการทำสงครามอย่างชัดเจน ถึงแม้ในยุคสมัยของเขานั้นจะหลีกเลี่ยงสงครามไม่ได้ก็ตาม ดังนั้น ม่อจื่อจึงอยากเห็นสงครามที่ยุติธรรม และเขาเองก็ต่อต้านสงครามที่เป็นไปในลักษณะปลาใหญ่กินปลาเล็ก รัฐเข้มแข็งรังแกรัฐอ่อนแอ
    5. วัฒนธรรมองค์การที่มีผลต่อการปฏิบัติงาน (The effect of organization culture to working performances) โดย จักรี ศรีจารุเมธีญาณ และ ชุติมา ศรีจารุเมธีญาณ สรุปว่า วัฒนธรรมองค์การเน้นความสัมพันธ์ที่ส่งผลถึงระดับประสิทธิผล ของการปฏิบัติงานภายในองค์การ เนื่องจากมีความเชื่อและค่านิยมของบุคลากรนั้นสามารถส่งผลได้จากการนำความเชื่อมั่นในระดับสูงภายในองค์การ และความไว้วางใจต่อพันธกิจ ค่านิยม และความเชื่อ ซึ่งส่งผลต่อการสร้างความร่วมมือระหว่างบุคลากรในองค์การ นำความเชื่อมั่น ความคิด ค่านิยมไปปฏิบัติตามกรอบแนวคิดที่องค์การได้วางไว้โดยเฉพาะความเชื่อและค่านิยมหลักที่มีความสอดคล้องกับนโยบายและการปฏิบัติงานภายในองค์การ ซึ่งความสัมพันธ์ที่ทำให้เกิดการปฏิบัติงานต่อการสร้างประสิทธิผลในการทำงานขององค์การ ได้แก่ การนำวิสัยทัศน์ ของผู้ก่อตั้งองค์การไปสู่การปฏิบัติให้สามารถเกิดขึ้นได้จริง รวมถึงการสร้างและพัฒนาวัฒนธรรมขึ้นมาเพื่อให้มีความแข็งแกร่ง อันจะส่งผลต่อพฤติกรรมการทำงานของบุคลากรในองค์การนั้นๆที่แสดงออกมาให้ความสอดคล้องกับสิ่งที่องค์การได้วางไว้อันจะนำไปสู่การปฏิบัติงานที่ได้ผล ทำให้องค์การมีการปฏิบัติงานได้ดีขึ้น
  • วารสารวิจัยธรรมศึกษา ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2561)
    ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 (2018)

    การจัดพิมพ์วารสารวิจัยธรรมศึกษา ศูนย์วิจัยธรรมศึกษา สำนักเรียนวัดอาวุธวิกสิตาราม ฉบับที่ 2 ในปี พ.ศ. 2561 ปีที่ 1 นี้ กองบรรณาธิการได้ดำเนินการให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน TCI เช่นที่ดำเนินการมาแล้วในฉบับที่ 1 โดยมีการตรวจประเมินผลงานวิชาการอย่างรอบด้านจากผู้ทรงคุณวุฒิจากหลายหน่วยงาน เป็นผลงานที่ไม่ละเมิดจริยธรรมทางวิชาการ มีการเชิญผู้ทรงคุณวุฒิ 2 รูป/คน ประเมิน 1 บทความ และผู้ทรงคุณวุฒิ 1 รูป/คน จะประเมินบทความได้เพียง 1 บทความเท่านั้น

    วารสารวิจัยธรรมศึกษาฉบับนี้ได้นำเสนอผลงานของนักวิชาการจากหน่วยงานต่างๆ ที่น่าสนใจดังนี้

    1. ทัศนะเรื่องคุณค่าทางสังคมในประเพณีสารทเดือนสิบ (The Perceptions of Social Value in Sard Deun Sib Festival) โดย พระอนุพงษ์  ธนปาโล (คำเอี่ยม) สรุปว่า บทความนี้มีชื่อว่า ทัศนะเรื่องคุณค่าทางสังคมในประเพณีสารทเดือนสิบ (ชิงเปรต) ในการศึกษาทัศนะเรื่องคุณค่าทางสังคมในประเพณีสารทเดือนสิบ (ชิงเปรต) ซึ่งถือว่าเป็นประเพณี ที่มีนานนับตั้งแต่สมัยยุคของราชวงศ์สุโขทัย ตามที่ปรากฏหลักฐานในหนังสือนางนพมาศ เนื่องจากศาสนาพราหมณ์แพร่เข้ามาในประเทศไทย คนไทยจึงรับประเพณีวันสารทมาจากศาสนาพราหมณ์ด้วย ดังปรากฏหลักฐานในหนังสือพระราชพิธีสิบสองเดือน ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นประเพณีสำคัญที่จัดขึ้นเพื่อทำบุญอุทิศแก่บรรพบุรุษผู้ล่วงลับไปแล้ว พระยาอนุมานราชธนได้กล่าวไว้ในสารานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานว่าการชิงเปรตที่ปฏิบัติกันในประเพณีสารทเดือนสิบนี้ มีลักษณะคล้ายกับการทิ้งกระจาดของจีน แต่การทิ้งกระจาดของจีนมีเป้าหมายตรงกับการตั้งเปรต-ชิงเปรตเพียงบางส่วนเท่านั้น กล่าวคือการทิ้งกระจาดของจีนเป็นการทิ้งทานให้แก่พวกผีไม่มีญาติ ส่วนการชิงเปรตของไทยเป็นการอุทิศส่วนกุศลไปให้ทั้งผี (เปรต) ที่เป็นญาติพี่น้องของตนเอง และที่ไม่มีญาติด้วย
    2. วิเคราะห์หลักสุนทรียศาสตร์ในประเพณีตักบาตรเที่ยงคืน (Analyze of Aesthetic Principles in the Midnight Giving Alms Tradition) โดย พระประสาน ชยาภิรโต สรุปว่า ประเพณีตักบาตรเที่ยงคืนเป็นประเพณีเก่าแก่ที่สืบทอดกันมานานกว่าร้อยปี โดยมีความเชื่อทางพุทธศาสนาเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งประวัติความเป็นมาที่แท้จริงเกิดขึ้นเมื่อใด และอย่างไรไม่สามารถสืบค้นได้ เพียงแต่พุทธศาสนิกชาวเหนือได้สืบทอดความเชื่อกันมาอย่างยาวนานและถือปฏิบัติกันอย่างแพร่หลายในภาคเหนือของประเทศไทย บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงความเชื่อประเพณีการตักบาตรเที่ยงคืนของพุทธศาสนิกชาวเหนือว่าเป็นอย่างไร อาศัยอะไรเป็นเหตุความเชื่อ ความศรัทธาในประเพณีนี้ และได้วิเคราะห์ตามหลักสุนทรียศาสตร์ในประเพณีตักบาตรเที่ยงคืนไว้เพื่อเป็นความรู้แก่ผู้สนใจ
    3. การศึกษาวิเคราะห์เรื่องผู้บริหารในแนวคิดและทฤษฎีของพุทธปรัชญา (An Analytical Study of Concepts and Theories of the Administrator based on the Buddhist Philosophy) โดย พระสุพัฒน์ ปุญญมโน สรุปว่า แนวคิดและทฤษฎีของพุทธปรัชญาเป็นหลักคำสอนที่พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อตรัสรู้แล้ว ก็ได้นำออกมาเผยแผ่แก่ประชาชน พร้อมกันนี้ พระองค์ได้ทรงใช้หลักพุทธปรัชญาในการบริหารจัดการคณะสงฆ์ตั้งแต่อดีตเป็นต้นมา จึงทำให้หลักคำสอนของพระพุทธองค์เป็นที่ยอมรับเรื่อยมา แต่จากสถานการณ์ในยุคปัจจุบัน การพัฒนาด้านเทคโนโลยีได้รับการเน้นมากกว่าด้านอื่นๆ จนทำให้เกิดการมองข้ามศีลธรรมจริยธรรม และทำให้เกิดปัญหาสังคมตามมาอย่างมากมาย ตลอดทั้งการบริหารองค์กรต่างๆ ก็ขาดประสิทธิภาพ ประสบความล้มเหลว ผู้บริหารและบุคลากรไร้คุณธรรมจริยธรรมด้วย ดังนั้น แนวคิดและทฤษฎีของพุทธปรัชญาจึงมีความจำเป็นที่ผู้บริหารองค์กรควรที่จะได้นำมาใช้ในองค์กร เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่องค์กรและส่วนรวมนั่นเอง
    4. ศึกษาวิเคราะห์ผู้บริหารในแนวคิดและทฤษฎีตะวันตกและตะวันออก (An Analytical Study on Concepts and Theories of Administrator in the Western and the Eastern) โดย  พระมหาสุขชาน ชาครธมฺโม สรุปว่า แนวคิดทั้ง 2 นั้นมีแนวทางที่ตรงข้ามกัน ได้แก่ ผู้บริหารตามแนวคิดแบบตะวันตกเน้นการมีอำนาจและวิสัยทัศน์ เป็นการบริหารแบบแยกส่วนและให้ความสำคัญเรื่องระบบงานตามหลักวิทยาศาสตร์ และมุ่งการเติบโตขององค์กรแบบก้าวกระโดด ส่วนผู้บริหารแบบตะวันออกมักมองการทำงานแบบองค์รวม   ยึดค่านิยมทางสังคมเป็นบรรทัดฐาน เน้นระบบการทำงานแบบประนีประนอม และมุ่งให้ความสำคัญกับสมาชิกในองค์กร พร้อมกับการเจริญเติบโตขององค์กรอย่างยั่งยืนและมั่นคง
    5. ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับพุทธปรัชญาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (The Philosophy of Sufficiency Economy and Buddhist Philosophy for Sustainable Development) โดย มนัสวี ศรีนนท์ และ พระมหามฆวินทร์ ปุริสุตฺตโม ผลการศึกษา พบว่า ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนั้นเป็นการนำเสนอถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล และมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี ส่วนพุทธปรัชญาที่เกี่ยวข้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คือ สันโดษ 3 ได้แก่ ยถาลาภสันโดษ (ยินดีตามที่ได้) ยถาพลสันโดษ (ยินดีตามกำลัง) และ ยถาสารุปปสันโดษ (ยินดีตามสมควร) ฆราวาสธรรม 4 ได้แก่ สัจจะ (ความจริง) ทมะ (การฝึกฝน) ขันติ (ความอดทน) จาคะ (ความเสียสละ) เมื่อได้ดำเนินชีวิตตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและพุทธปรัชญาทั้ง 2 หลักดังกล่าวแล้ว ย่อมทำให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนได้อย่างแน่นอน
  • วารสารวิจัยธรรมศึกษา

    วารสารวิจัยธรรมศึกษา ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (มกราคม - มิถุนายน 2561)
    ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (2018)

    ปี พ.ศ. 2561 ปีที่ 1 ในการจัดพิมพ์วารสารวิจัยธรรมศึกษา ศูนย์วิจัยธรรมศึกษา สำนักเรียนวัดอาวุธ  วิกสิตาราม กองบรรณาธิการดำเนินนการให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน TCI โดยมีการตรวจประเมินผลงานวิชาการอย่างรอบด้านจากผู้ทรงคุณวุฒิจากหลายหน่วยงาน เป็นผลงานที่ไม่ละเมิดจริยธรรมทางวิชาการ มีการเชิญผู้ทรงคุณวุฒิ 2 รูป/คน ประเมิน 1 บทความ และผู้ทรงคุณวุฒิ 1 รูป/คน จะประเมินบทความได้เพียง1 บทความเท่านั้นในวารสารแต่ละฉบับ เพื่อรักษามาตรฐานทางวิชาการ

    วารสารวิจัยธรรมศึกษาฉบับนี้ได้นำเสนอผลงานของนักวิชาการจากหน่วยงานต่างๆ ที่น่าสนใจดังนี้

    1. ศึกษาวิเคราะห์เรื่องคุณธรรมจริยธรรมในแนวคิดและทฤษฎีตะวันตกและตะวันออก (An Analytical Study of Virtue and Ethics in Western and Eastern Concepts and Theories) โดย พระศรณรินทร์ สนฺติกโร สรุปว่า คุณธรรมจริยธรรมในแนวคิดและทฤษฎีตะวันตกและตะวันออกมีแนวความคิดที่ต่างกันคือนักปรัชญาตะวันตกสร้างทฤษฎีคุณธรรมจริยธรรมขึ้นบนสมมุติฐานที่ยอมรับธรรมชาติของมนุษย์ที่ว่ามนุษย์เป็นสัตว์ที่มีเหตุผล ส่วนคุณธรรมและจริยธรรมตามทัศนะของตะวันออกมีที่มาจากศรัทธาและปัญญา โดยคุณธรรมและจริยธรรมคือศรัทธามักยึดโยงอยู่กับสัจธรรมของพระเจ้า คุณธรรมและจริยธรรมจากปัญญายึดโยงอยู่กับสัจธรรมตามกฎธรรมชาติ
    2. ศึกษาวิเคราะห์ภาวะผู้นำกับหลักธรรมาภิบาลในการบริหารการศึกษา (An Analytical Study of Leadership and Good Governance in Educational Administration) โดย น้ำอ้อย คำชื่น  สรุปว่า มนุษย์เกิดมาพร้อมกับภาวะผู้นำ ภาวะผู้นำขึ้นอยู่กับการได้รับการศึกษาในระบบและนอกระบบ ประสบการณ์การเรียนรู้ ตำแหน่งหน้าที่การงาน ส่วนผู้นำทางการบริหารงานการศึกษาจะต้องเป็นผู้นำที่ได้รับการแต่งตั้งให้มาบริหารจัดการองค์การให้บรรลุเป้าหมาย และการที่จะทำให้องค์การบรรลุเป้าหมายได้ ผู้บริหารการศึกษาต้องแสดงภาวะผู้นำ
    3. ทฤษฎีความรู้ทางจิตวิทยาศาสนา (The Theory of Knowledge in Psychology of Religion) โดย วิรัตน์ กางทอง สรุปว่า ในเบื้องต้นนี้ นักปรัชญาจิตวิทยานั้นมีทัศนะว่า  สาร หมายถึง สิ่งที่มีภาวะอยู่โดยตัวเองไม่ได้ เป็นจริงเพราะสิ่งอื่น โสเครตีสได้แยกหลักศีลธรรมออกจากศาสนา สอนให้รักษาดวงวิญญาณของตนเอง วิญญาณเป็นที่ตั้งแห่งบุคลิกภาพและปัญญาความรอบรู้ของมนุษย์ ส่วนเพลโต้เป็นนักปรัชญาจิตวิทยาสำคัญของโลกและเป็นนักการศึกษาคนแรกของยุโรป เป็นนักปรัชญาจิตวิทยาคนแรกที่สร้างระบบปรัชญาจิตวิทยาให้สมบูรณ์ก่อนใครๆ ทั้งหมด สืบเนื่องจากว่าปรัชญาจิตวิทยาก่อนหน้านี้ส่วนใหญ่เป็นไปในลักษณะของความคิด ข้อแนะนำ โดยถือเอาอัตตาหรือทัศนคติของตนเป็นหลัก
    4. จักกวัตรสูตรและการสังเคราะห์สังคมไทยที่พึงปราถนา (Cakkavatti Sutra and Synthesis of the Thai Perfection Society) โดย ศรุตานนท์ ชอบประดิษฐ์ สรุปว่า บทความเรื่องนี้มีความมุ่งหมายวิเคราะห์จักกวัตรสูตรที่ปรากฏในคัมภีร์ พระไตรปิกฎ เพื่อนำมาสังเคราะห์สังคมไทยที่พึงปราถนาซึ่งผู้เขียนขอนำเสนอใน 2 ประเด็น คือ 1) ความหมายและความสำคัญของจักกสูตรจักกวัตติสูตรเป็นพระสูตรสำคัญที่พระพุทธองค์ทรงตรัสเกี่ยวกับการปกครองหมู่คณะที่เป็นเหตุสนับสนุนให้สังคมเจริญขึ้นหรือเสื่อมถอยลง เพราะคุณค่าของจักกวัตติสูตรมี 2 ประการใหญ่ ๆ คือ 1) คุณค่าในการบรรลุเป้าหมายสูงสุดในทางพระพุทธศาสนาด้วยการทำตนให้เป็นที่พึ่ง และ 2) คุณค่าในการปกครองโดยใช้หลักจักรวรรดิวัตร 12 ประการ เพื่อใช้แก้ปัญหาของสังคมใน 3 ระดับ คือ (1) ระดับปัจเจกบุคคล (2) ระดับสังคมครอบครัว และ (3) ระดับสังคมโดยรวม และ 2) การสังเคราะห์สังคมไทยที่พึ่งปรารถนานั้นคือวิถีทางเข้าสู่สังคมอุดมคติ เพราะคุณธรรมนั้นจะทำให้สังคมเข้มแข็งและธรรมชาติของมนุษย์แก้ไขได้ยากมนุษย์จะต้องถูกควบคุมด้วยความกลัวการถูกลงโทษ โดยการจัดรูปแบบสังคมใหม่ให้มีองค์อธิปัตย์เป็นผู้คอบควบคุมและลงโทษผู้ละเมิดสัญญา ซึ่งจะช่วยบรรเทาให้มนุษย์ประพฤติชั่วน้อยลงและจำกัดความอยากลงได้บ้าง ดังนั้น จึงเป็นสิ่งที่เชื่อมโยงระหว่างจักกวัตรสูตรกับการสังเคราะห์สังคมไทยในปัจจุบัน
    5. วิเคราะห์ปรากฏการณ์กับความจริง (An Analysis of Phenomena and Reality)   โดย สิริมิตร สิริโสฬส สักชาติ ศรีสุข และ สิริพร ครองชีพ สรุปว่า ปรากฏการณ์ มาจากภาษากรีกว่า Phenomenon หมายถึง การปรากฏขึ้น คำที่เกี่ยวข้องกับ ?จริง? ในปรัชญาตะวันตกเทียบกับข้อความของพุทธเถรวาทได้ 4 คำ คือ ข้อเท็จจริง ความจริง ความเป็นจริง ความเป็นจริงสูงสุด ความรู้ความเข้าใจในสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริงในระดับสูงสุดนั้น เพื่อให้เกิดรู้จักสิ่งทั้งหลายตามที่เป็นจริง รู้เท่าทัน ไม่หลงยึดมั่นถือมั่นสิ่งทั้งหลาย หลุดพ้นจากความทุกข์ และมองโลกตามความเป็นจริง