การทำงานเป็นทีมของบุคลากรทางการแพทย์ โรงพยาบาลหนองบัวลำภู
คำสำคัญ:
การทำงานเป็นทีม, บุคลากรทางการแพทย์, โรงพยาบาลบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาการทำงานเป็นทีมของบุคลากรทางการแพทย์โรงพยาบาลหนองบัวลำภู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือบุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาลหนองบัวลำภู โดยใช้สูตรของ Taro Yamane คำนวณ ได้จำนวน 270 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถามเกี่ยวกับการทำงานเป็นทีมของบุคลากรทางการแพทย์ ประกอบไปด้วยเนื้อหา 3 ส่วน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือสถิติพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสำหรับข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ T - test และ F - test สำหรับการเปรียบเทียบการทำงานเป็นทีมของบุคลากรทางการแพทย์ โรงพยาบาลหนองบัวลำภู ที่จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน และประสบการณ์การทำงาน
ผลการวิจัย พบว่า การทำงานเป็นทีมของบุคลากรทางการแพทย์ โรงพยาบาลหนองบัวลำภู โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.49, S.D.= 0.46) และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือด้านการกำหนดภารกิจและเป้าหมายของทีมงาน ( = 3.55, S.D.= 0.72) รองลงมา คือด้านการกระจายความเป็นผู้นำ ( = 3.54, S.D.= 0.78) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือด้านการสื่อสารกันอย่างเปิดเผย ( = 3.39, S.D.= 0.74) ผลการเปรียบเทียบการทำงานเป็นทีมของบุคลากรทางการแพทย์ โรงพยาบาลหนองบัวลำภู ที่จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน และประสบการณ์การทำงาน โดยภาพรวม พบว่า เพศ ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน และประสบการณ์การทำงาน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนด้านอายุ พบว่าไม่แตกต่างกัน ข้อเสนอแนะ แนวทางพัฒนาการทำงานเป็นทีมของบุคลากรทางการแพทย์ โรงพยาบาลหนองบัวลำภู ได้แก่ ควรมีการพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมการอบรมเพิ่มเติมความรู้ในสายงาน หรือส่งเสริมการเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้น
References
ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์ และคณะ. (2546). การสร้างทีมงานที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ทจำกัด.
ฐิตารีย์ สุขบุตร . (2562). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะการทำงานเป็นทีมของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญ. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
มัลลิกา วิชชุกรอิงครัต. (2553). การทำงานเป็นทีมของพนักงานครูเทศบาลสังกัดเทศบาลเมืองชลบุรี.วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.
ยุพดี โสตถิพันธุ์ และคณะ. (2549). กระบวนการความร่วมมือในการปฏิบัติงานระหว่างบุคลากรทีมสุขภาพในการบริการผู้ป่วยผ่าตัดโรงพยาบาลทั่วไปภาคใต้. สงขลานครินทร์เวชสาร, 24(6),484-491.
สุนันทา เลาหนันทน์. (2549). การสร้างทีมงาน. กรุงเทพฯ: แฮนด์เมดสติกเกอร์-แอนด์ดีไซน์.
สัมมนา สีหมุ่ย. (2553). การศึกษาประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมของบุคลากร องค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
สิระยา สัมมาวาจ. (2540). สิทธิผู้ป่วย. วารสารพยาบาลสาร, 24(1), หน้า 6-22.
Larson, E. (1999). The Impact of Physician-Nurse Interaction on Patient Care. Holistic Nursing Practice, 13, 38-46.
Yamane. (1967). Taro Statistic: An Introductory Analysis. New York: Harper &row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.