การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลโพนสูง อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี
คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วม, แผนพัฒนา, องค์การบริหารส่วนตำบลบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลโพนสูง อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือประชาชนที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป ในเขตตำบลโพนสูง อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี โดยใช้สูตรของ Taro Yamane จำนวน 386 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถามเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล ประกอบไปด้วยเนื้อหา 3 ส่วน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือสถิติพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ T - test และ F - test สำหรับการเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลโพนสูง อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี ที่จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล
ผลการวิจัย พบว่า การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลโพนสูง อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.82, S.D.= 0.59) และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน ( = 3.88, S.D.= 0.72) รองลงมาคือด้านการบริหารงานในองค์การบริหารส่วนตำบล ( = 3.85, S.D.= 0.72) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือด้านการจัดหารายได้ ( = 3.73, S.D.= 0.72) ผลการเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลโพนสูง อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี ที่จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล โดยภาพรวมพบว่า เพศแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนด้านอายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน พบว่าไม่มีความแตกต่างกัน ข้อเสนอแนะ แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลโพนสูง อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี ได้แก่ ควรเปิดเผยข้อมูลข่าวสารโดยการประกาศแผนพัฒนาให้ประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ
References
เนตรนภา คงหอม. (2559). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทาแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลเขากะลา อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์. การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์.
บรรพต ศรีวิชัย. (2541). สภาพการดำเนินงานกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาของสถานศึกษาในจังหวัดเชียงราย. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ .
ปัญญา เฉลียวชาติ .(2560). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการวางแผนพัฒนาตำบลขององค์การ บริหาร ส่วนตำบลนครสวรรค์ออก อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์.
ประเวศ วะสี. (2549). กระบวนการนโยบายสาธารณะ. (พิมพ์ครั้งที่2). กรุงเทพฯ : มูลนิธีสาธารณสุขแห่งชาติ.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540. ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 114 ตอนที่ 55 ก, 11 ตุลาคม 2540, หน้า 1-99.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 124 ตอนที่ 47 ก, 24 สิงหาคม 2550, หน้า 1-127.
ระเบียบวาด้วยหลักเกณฑและวิธีการเสนอเรื่องตอคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2548. ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 122 ตอนที่ 23 ง, 15 มีนาคม 2548.
สุมาลี ขำจาด. (2553). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการวางแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลหนองกระโดน อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
สิทธิ์ธนัชท์ วารุณสหรัชภณ. (2559). การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการบริหารงานปกครองส่วนท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบลตลาดจินดา อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. การค้นคว้าอิสระ รัฐศาสตรมหาบัณฑิต (การเมืองการปกครอง) สาขาวิชาการเมืองการปกครองสำหรับนักบริหาร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
Yamane. (1967). Taro Statistic: An Introductory Analysis. New York: Harper &row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.