การมีส่วนร่วมของเยาวชนในการแก้ไขปัญหายาเสพติด ขององค์การบริหารส่วนตำบลเชียงพิณอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • บรรณารักษ์ ฝั้นสิม วิทยาลัยพิชญบัณฑิต
  • โกศล สอดส่อง วิทยาลัยพิชญบัณฑิต

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วม, เยาวชน, ปัญหายาเสพติด

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของเยาวชนในการแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลเชียงพิณ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี 2) เปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมของเยาวชนในการแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่ ขององค์การบริหารส่วนตำบลเชียงพิณ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี และจำแนกเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ 3) เสนอแนะแนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ไขปัญหายาเสพติดขององค์การบริหารส่วนตำบลเชียงพิณ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากเยาวชน ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลเชียงพิณ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี เยาวชนที่อายุ 18 ปี ถึง 20 ปี คือ แบบเจาะจง จำนวน 379 คน ทั้งหมด เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น การวิเคราะห์ข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติ One – Way ANOVA หรือ F-test ค่า t-test
ผลการวิจัย พบว่า 1. ระดับส่วนร่วมของเยาวชนประชาชนในการแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่ขององค์การบริหาร ส่วนตำบลเชียงพิณ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี มีค่าเฉลี่ยโดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก แต่เมื่อเรียงลำดับเป็นรายด้านจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย สามารถเรียงลำดับได้ดังนี้ ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผล ด้านการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการ และด้านการมีส่วนร่วมในผลประโยชน์ ตามลำดับ 2. เปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมของเยาวชนในการแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลเชียงพิณ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี และจำแนกเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ พบว่า ผลการเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลเชียงพิณ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี โดยจำแนกตามเพศ อายุระดับการศึกษา และอาชีพ โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ และเมื่อพิจารณารายด้านพบว่า โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 3. เสนอแนะแนวทางการมีส่วนร่วมของเยาวชนในการแก้ไขปัญหายาเสพติดขององค์การบริหารส่วนตำบลเชียงพิณ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลเชียงพิณควรสนับสนุนให้มีการจัดตั้งกลุ่มหรือองค์กรชุมชน ควรให้ความรู้ ความสำคัญ การดำเนินงานการป้องกันและจัดกิจกรรมการรณรงค์ต่อต้านเกี่ยวกับปัญหา

References

คนึงนิจ ศรีบัวเอี่ยว และคณะ. (2555). รายงานการวิจัยแนวทางการเสริมสร้างประชาธิปไตยการมีส่วนร่วมทางรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ปัญหาอุปสรรคและทางออก. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า.

ชวนชัย เชื้อสาธุชน. (2555). ปัจจัยเชิงเหตุและผลที่เกี่ยวกับการใฝ่เรียนรู้คู่ความดีของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎ. รายงานการวิจัยโครงการวิจัยแม่บท: การวิจัยและพัฒนาระบบพฤติกรรมไทย, กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

นัยนา ปานศาสตร. (2552). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น: กรณีศึกษาเทศบาลตำบลในเขตอำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราไพพรรณี.

พูนศักดิ์ วาณิชวิเศษกุล. (2552). การปกครองท้องถิ่นและพื้นฐานการพัฒนาประชาธิปไตย กรณีศึกษาสภาตำบลบ้านม่วง อำเภอบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ลิขิต ธีรเวคิน. (2553). การเมืองการปกครองไทย. กรุงเทพฯ : คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักพัฒนาการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด. (2553). ความรู้และแนวทางการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติด. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด.

สำนักพัฒนาการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด. (2554). ความรู้และแนวทางการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติด. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด.

สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์ความมั่นคง กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (สนย. กอ. รมน.). (2553). คู่มือประกอบการใช้หลักสูตรฝึกอบรมด้านความมั่นคง. กรุงเทพฯ: กองอานวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร.

Cohen, J. M. & Uphoff, N. T. (1980). Effective Behavior in Organization. New York : Richard Irwin Inc.

วารสารวิจัยธรรมศึกษา

Downloads

เผยแพร่แล้ว

12/11/2021