ประสิทธิผลของการคุ้มครองแรงงานต่างด้าวในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • สุรชัย ชีวบันเทิง มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • สุวรรณี แสงมหาชัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • รวิภา ธรรมโชติ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • รัชยา ศิริวัฒน์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

ประสิทธิผล, การคุ้มครองแรงงานต่างด้าว, ประเทศไทย

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้ ได้กำหนดวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลการคุ้มครองแรงงานและศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการคุ้มครองแรงงานรวมถึงเพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการคุ้มครองแรงงานต่างด้าวโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ แบบกรณีศึกษาเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ผู้ประกอบกิจการที่มีการจ้างแรงงานต่างด้าวทำงานอยู่ในสถานประกอบการในเขตพื้นที่ของสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานคร โดยคัดเลือกจากสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานคร จำนวน 3 แห่งประกอบด้วย (1) สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 3 (2) สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 4 และ (3) สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 5 ผลการวิจัย พบว่า 1. ประสิทธิผลการคุ้มครองแรงงานในกิจการที่มีการจ้างแรงงานต่างด้าวพบว่า (1) ทำให้ลูกจ้างแรงงานต่างด้าวได้รับค่าจ้างเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดมีการประกาศค่าจ้างขั้นต่ำเพื่อเป็นการคุ้มครองแรงงานอย่างเท่าเทียมกัน (2) ทำให้แรงงานต่างด้าวได้รับสวัสดิการจากนายจ้างตามที่กฎหมายกำหนด (3) ทำให้แรงงานต่างด้าวได้รับความเป็นธรรม ความยุติธรรม ไม่มีการเลือกปฏิบัติเท่าเทียมกับแรงงานไทย (4) ทำให้แรงงานต่างด้าวได้รับความปลอดภัยจากการปฏิบัติงาน ซึ่งเป็นไปตามที่นายจ้างปฏิบัติตามกฎหมายแรงงาน ตามพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (5) ทำให้ แรงงานต่างด้าวได้รับความเสมอภาคและความเท่าเทียมกับแรงงานไทย (6) ทำให้แรงงานต่างด้าวได้รับความคุ้มครองทางสังคม ด้านประกันสังคมตามกฎหมายแรงงาน 2. ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลการคุ้มครองแรงงานในกิจการที่มีการจ้างแรงงานต่างด้าวทำงาน พบว่า (1)การตรวจสอบจากภาครัฐด้านปัจจัยด้านการบังคับของหน่วยงาน เช่น ตำรวจ ทำให้แรงงานต่างด้าว ได้รับความปลอดภัยและความมั่นคง (2)การปฏิบัติตามกฎหมายของสถานผู้ประกอบการ ปัญหาอุปสรรคในการบังคับใช้กฎหมายพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พุทธศักราช 2541 ได้แก่เรื่องของการบังคับใช้นั้น เนื่องจากกระทรวงแรงงาน มีกฎหมายแรงงานมากขึ้นกระบวนการที่นายจ้างทำทุกวิถีทางเพื่อต้องการประหยัดต้นทุนของนายจ้างและ กระบวนการการบังคับใช้กฎหมายของเจ้าหน้าที่ไม่ชัดเจน การตรวจที่ไม่มีประสิทธิภาพ ทำให้แรงงานต่างด้าวไม่ได้รับการคุ้มครองแรงงานเพื่อให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด (3) ความรู้และการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของแรงงานต่างด้าวบางสัญชาติเช่น เมียนมา ทำให้แรงงานต่างด้าว มีความรู้พื้นฐานด้านสิทธิแรงงานค่อนข้างดี

References

กระทรวงแรงงาน (2553). นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานปี 2554. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดบางกอกบล๊อก.

กรมการจัดหางาน. (2555). แนวปฏิบัติการจัดระบบการจ้างแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองสัญชาติเมียนมา ลาว และกัมพูชา ปี 2555. กรุงเทพฯ: กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน.

กฤตยา อาชวนิจกุล. (2547). รายงานวิจัยเรื่องคนต่างด้าวในประเทศไทยคือใครบ้างฯ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.

กฤตยา อาชวนิจกุล และ Andy Hall.( 2554). “บทที่ 5 แรงงานข้ามชาติและสิทธิมนุษยชนในบริบทของประเทศไทย”. รายงานการย้ายถิ่นของประเทศไทย 2554. กรุงเทพมหานคร: องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน.

สุภางค์ จันทวานิช. (2561). แรงงานย้ายถิ่นข้ามชาติและทิศทางนโยบายของประเทศไทย. หนังสือประเทศไทยในความคิดของเมธีวิจัยอาวุโส, หน้า 218-247.

วารสารวิจัยธรรมศึกษา

Downloads

เผยแพร่แล้ว

12/11/2021