รูปแบบกิจกรรมตามแนวคิดการศึกษาแบบใช้พื้นที่เป็นฐานผ่านกิจกรรมการเรียนภาษาอังกฤษ เพื่อเสริมสร้างสำนึกรักพื้นที่ สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา จังหวัดนครนายก

ผู้แต่ง

  • ปุณณพร ชินบุรารัตน์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

คำสำคัญ:

แนวคิดพอดีพอควร, การจัดการศึกษาแบบพอดีพอควร, กิจกรรมการเรียนรู้แนวคิดพอดีพอควร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาองค์ความรู้เกี่ยวกับระบบการจัดกิจกรรมการเรียนในห้องเรียนของครูโรงเรียนเอกชนในปัจจุบัน 2) เพื่อพัฒนากรอบแนวคิดสำหรับระบบการพัฒนาการบริหารวิชาการด้าน การจัดกิจกรรมการเรียนในห้องเรียนตามแนวคิดพอดีพอควร 3) เพื่อพัฒนาระบบบริหารวิชาการด้านการจัดกิจกรรมการเรียนในห้องเรียนตามแนวคิดพอดีพอควร สำหรับโรงเรียนเอกชนภาคใต้ตอนบน 4) เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของระบบการพัฒนาการบริหารวิชาการด้านการจัดกิจกรรมการเรียนในห้องเรียนตามแนวคิดพอดีพอควร สำหรับโรงเรียนเอกชนภาคใต้ตอนบน 5) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของผู้ปกครองหลังจากการพัฒนาตามระบบการพัฒนาการบริหารวิชาการด้านการจัดกิจกรรมการเรียนในห้องเรียนตามแนวคิดพอดีพอควร สำหรับโรงเรียนเอกชนภาคใต้ตอนบน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มประชากรมี 2 กลุ่มคือ ประชากรที่เป็นกลุ่มตัวอย่างที่เป็นครูโรงเรียนภูบดินทร์พิทยาลัย จำนวน 80 คน และ กลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 291 คน 
การพัฒนาครูในการจัดกิจกรรมการเรียนในห้องเรียน ด้วยเครื่องมือการพัฒนาตามแนวทางระบบการพัฒนาการบริหารวิชาการด้านการจัดกิจกรรมการเรียนในห้องเรียนตามแนวคิดพอดีพอควร สำหรับโรงเรียนเอกชนภาคใต้ตอนบน มีค่าความเที่ยงตรง 0.84 และมีประสิทธิภาพ 81.88/ 81.31 ครูโรงเรียนเอกชนที่ได้รับการพัฒนาตามแนวทางระบบการพัฒนาการบริหารวิชาการด้านการจัดกิจกรรมการเรียนในห้องเรียนตามแนวคิดพอดีพอควร สำหรับโรงเรียนเอกชนภาคใต้ตอนบนแล้ว มีระดับการปฏิบัติการจัดกิจกรรมการเรียนในห้องเรียนในระดับดีมากที่สุด (gif.latex?\mu = 4.58, gif.latex?\sigma = 0.54) สูงกว่าระดับการปฏิบัติการก่อนครูได้รับการพัฒนาการจัดกิจกรรมเรียนในห้องเรียน ซึ่งอยู่ใน ระดับปานกลาง (gif.latex?\mu = 3.12, gif.latex?\sigma = 0.60) โดยวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามการวิจัย  เรื่องระดับการปฏิบัติการจัดกิจกรรมเรียนของครูในห้องเรียน มีค่าความเที่ยงตรง 0.81 มีค่าความเชื่อมั่น 0.92    การศึกษาระดับความพึงพอใจของผู้ปกครองต่อการจัดกิจกรรมเรียนในห้องเรียนของครูโรงเรียนเอกชนตามแนวทางระบบการพัฒนาการบริหารวิชาการด้านการจัดกิจกรรมการเรียนในห้องเรียนตามแนวคิดพอดีพอควร สำหรับโรงเรียนเอกชนภาคใต้ตอนบน โดยใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเที่ยงตรง 0.80 มีค่าความเชื่อมั่น 0.95 พบว่า ผู้ปกครองมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมเรียนในห้องเรียนของครูสูงขึ้นหลังจากที่ครูได้รับการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนในห้องเรียนของครูโรงเรียนเอกชนตามแนวทางระบบการพัฒนาการบริหารวิชาการด้านการจัดกิจกรรมการเรียนในห้องเรียนตามแนวคิดพอดีพอควร สำหรับโรงเรียนเอกชนภาคใต้ตอนบน ผู้ปกครองมีความพึงพอใจระดับมากที่สุด ( gif.latex?\bar{x}= 4.78, S.D = 0.50) สูงกว่าระดับความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมเรียนในห้องเรียนของครูก่อนที่ครูจะได้รับการพัฒนา ซึ่งผู้ปกครองมีความพึงพอใจในระดับมาก  (gif.latex?\bar{x} = 3.58, S.D = 0.50)

References

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.อภิชัย พันธเสน และคณะ. (2558). การสังเคราะห์งานวิจัยว่าด้วยปัญหาและข้อเสนอแนะในกระบวนการจัดการศึกษาไทย: ประเด็นปัญหาคุณภาพการศึกษา (2535-2558). สถาบันการจัดการเพื่อชนบทและสังคม มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุน การวิจัย (สกว.).

Balle, M., Jones, D., Chaize, J., & Fiume, O. (2017). The Lean Strategy: Using lean to create competitive advantage, unleash innovation, and deliver sustainable growth. New York: McGraw-Hill Education.

Womack, J. P., & Jones, D. T. (1990). The Machine That Changed the World. New York: Simon and Schuster.

วารสารวิจัยธรรมศึกษา

Downloads

เผยแพร่แล้ว

12/11/2021