ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การสื่อสารทางการตลาดกับพฤติกรรมความถี่ในการเลือกซื้อเครื่องสำอางของผู้บริโภคในจังหวัดบึงกาฬ
คำสำคัญ:
ความสัมพันธ์, การสื่อสารทางการตลาด, เครื่องสำอางบทคัดย่อ
ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การสื่อสารทางการตลาดกับพฤติกรรมความถี่ในการซื้อเครื่องสำอางของผู้บริโภคใน จังหวัดบึงกาฬ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้การสื่อสารทางการตลาด โดยศึกษาพฤติกรรมความถี่ในการซื้อเครื่องสำอางและศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การสื่อสารทางการตลาดกับพฤติกรรมความถี่ในการซื้อเครื่องสำอางของผู้บริโภค จากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 597 คน เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติความถี่ อัตราส่วนร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติ ไคสแควร์ (Chi-Square)
ผลการศึกษา พบว่า (1) ผู้บริโภคมี การรับรู้การสื่อสารทางการตลาดโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (2) พฤติกรรมความถี่ในการซื้อเครื่องสำอางที่ซื้อมากที่สุดคือยาสีฟัน รองลงมาคือ ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดใบหน้า/ โฟมล้างหน้า ครีมบำรุงผิวหน้า (3) การทดสอบสมมติฐานการรับรู้การสื่อสารทางการตลาดมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมความถี่ในการซื้อเครื่องสำอางของกลุ่มผู้บริโภคในจังหวัดบึงกาฬ อยู่ในระดับต่ำ
References
ก่องกานดา วงศ์ธีระสุต. (2550). ปัจจัยการสื่อสารการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าสำหรับสุภาพบุรุษ. รายงานโครงการเฉพาะบุคคลมหาบัณฑิต คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2558). สถิติสำหรับงานวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ธรรมสาร.
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2559). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์ธรรมสาร.
ฉัตราพร เสนอใจ. (2558). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ : บริษัท วี.พริ้นท์.
ฉัตราพร เสนอใจ และฐิตินันท์ วารีวนิช. (2559). หลักการตลาด. กรุงเทพฯ : บริษัท วี.พริ้นท์ จำกัด.
ชูชัย สมิทธิไกร. (2559). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ : บริษัท วี.พริ้นท์ (1991) จำกัด.
ณัฎฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2560). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ : บริษัท วี.พริ้นท์ (1991) จำกัด.
ดารา ทีปะปาล. (2562). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ : รุ่งเรืองสาส์นการพิมพ์.
ธีรศักดิ์ พันธุจริยา. (2552). กลเม็ด เคล็ดรวย : เครื่องสำอางทำเงิน. กรุงเทพฯ : บริษัท สยามพริ๊นท์ จำกัด.
ธีร์ธวัช ลิมปิสุข. (2550). การศึกษาทัศนคติ พฤติกรรมและปัจจัยที่มีต่อการใช้เครื่องสำอางของชายอายุ 18 – 30 ปี ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. โครงการสถิติ สาขาสถิติประยุกต์ ภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญใจ ศรีสถิตนรากูร. (2550). ระเบียบวิธีการวิจัย : แนวทางปฏิบัติสู่ความสำเร็จ. กรุงเทพฯ : บริษัท ยูแอนด์ไอ อินเตอร์มีเดีย จำกัด.
ปัทมา เตชะเกษม. (2557). พฤติกรรมการรับรู้ของผู้บริโภคกับความถี่ในการซื้อเครื่องสำอางของผู้บริโภคในอำเภอเมือง นครราชสีมา. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (การตลาด) มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี.
พรทิพย์ นิมมานนิตย์และคณะ. (2557). เครื่องสำอางในชีวิตประจำวัน. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ : ซาเร็นการพิมพ์ จำกัด.
พรพรรณ แก้วก่า. (2548). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางดูแลผิวหน้าของผู้ชายวัยทำงานในกรุงเทพมหานคร. การศึกษาค้นคว้าอิสระ ปริญญาเศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ภัทรานิษฐ์ แซ่ตั้ง. (2553). พฤติกรรมการซื้อเครื่องสำอางของกลุ่มผู้ชายเจ้าสำอางในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (การตลาด) มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
รวีวรรณ อำนวยชัย. (2550). ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์และการสื่อสารทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้ายี่ห้อ OLAY ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
รัตติยา อุบลบาน. (2548). พฤติกรรมการซื้อเครื่องสำอางเพื่อบำรุงรักษาผิวหน้าของผู้ชายในจังหวัดขอนแก่น. การค้นคว้าแบบอิสระปริญญาบริหารธุรกิจ มหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น
ศรุตา วงศ์วิเชียรชัย. (2555). Branded Male: การตลาดผู้ชายสายพันธุ์ใหม่. Marketeer Magazine.
ศุภชัย ประศิริ และ ธารินี กิตติกาญจนโสภณ. (2562). การสื่อสารทางการตลาดกับพฤติกรรมความถี่ในการซื้อเครื่องสำอางของผู้บริโภคในจังหวัดร้อยเอ็ด. การประชุมวิชาการออนไลน์ระดับชาติ สหวิทยาการวิจัย ครั้งที่ 8 - เมษายน 2563 มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี.
ษมากร คำดี. (2550). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้เครื่องสำอางบำรุงผิวของผู้ซื้อวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สุพานี สฤษฎ์วานิช. (2558). พฤติกรรมองค์การสมัยใหม่ : แนวคิดและทฤษฎี. ปทุมธานี : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สิทธิ์ ธีรสรณ์. (2558). การตลาด. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อดุลย์ จาตุรงคกุล. (2556). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อภิรดี ธรรมสรณ์. (2552). แนวโน้มเครื่องสำอางสำหรับผู้ชายในประเทศไทย. การค้นคว้าแบบอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.