ศึกษาวิเคราะห์การกระทำอัตวินิบาตกรรมของพระภิกษุในสมัยพุทธกาล
คำสำคัญ:
อัตวินิบาตกรรม, พระพุทธศาสนาเถรวาท, จริยศาสตร์บทคัดย่อ
การกระทำอัตวินิบาตกรรมของพระภิกษุในสมัยพุทธกาลที่ปรากฏในพระไตรปิฎกและคัมภีร์ชั้นรองนั้นอาจกล่าวได้ว่ามีทั้งสิ้นอย่างน้อย 4 กรณี โดยแต่ละเหตุการณ์ก็เกิดขึ้นด้วยวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันไป เหตุการณ์ทั้งหมดมีทั้งที่เป็นเหตุการณ์ซึ่งส่งผลลัพธ์สุดท้ายในทางดีและไม่ดี แต่อย่างไรก็ดีไม่พบว่ามีหลักการในทางพระพุทธศาสนาใดที่บ่งชี้ว่าตัวการกระทำอัตวินิบาตกรรมเป็นการกระทำที่เป็นอกุศลร้ายแรง
จากการศึกษา พบว่า พระพุทธศาสนาเถรวาทมิได้มีการประเมินคุณค่าของการทำอัตวินิบาตกรรมเอาไว้ โดยถือว่าเป็นเพียงการกระทำหนึ่งที่มีคุณค่าในทางจริยศาสตร์อย่างเป็นกลาง ๆ การจะประเมินคุณค่าในทางพุทธจริยศาสตร์ย่อมต้องอาศัยเงื่อนไขในทางจิตใจของผู้กระทำอันได้แก่แรงจูงใจหรือมูลในการกระทำและสภาวะของจิตในขณะที่สิ้นชีวิต กล่าวได้ว่าในสำหรับเรื่องอัตวินิบาตกรรมแล้วพุทธจริยศาสตร์ยึดถือเอาสภาวะของจิตใจเป็นสิ่งที่มีคุณค่าเหนือรูปแบบของการกระทำนั่นเอง
References
ชัยวัฒน์ อัตพัฒน์ และ พระมหามฆวินทร์ ปุริสุตฺตโม. (2561). ทฤษฎีและปัญหาจริยศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 13. กรุงเทพฯ: บริษัท คอมม่า ดีไซน์แอนด์พริ้นท์ จำกัด.
เทียมจิตร์ พ่วงสมจิตร. (2561). ความย้อนแย้งของการฆ่าตัวตายว่าด้วยทัศนะทางวิชาการเชิงพุทธกับความเชื่อของคนไทยและพุทธทัศนะ. วารสารไทยคดีศึกษา ปีที่ 15 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม), 209 – 248.
พระสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ. (2525). ปรมัตถโชติกะ มหาอภิธัมมัตถสัคหฎีกา ปริเฉทที่ 5 เล่ม 2. กรุงเทพฯ: สุทธิสารการพิมพ์.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2559). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 27. มูลนิธิการศึกษาเพื่อสันติภาพพระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตฺโต). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พระพุทธศาสนาของธรรมสภา.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
John Keown. (2004). Euthanasia, Etics and Public Policy an argument against legislation. Cambridge: Cambridge University Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.