การพัฒนาคุณค่าและจริยศาสตร์การพัฒนาของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจังหวัดนครราชสีมา
คำสำคัญ:
การพัฒนา, คุณค่า, จริยศาสตร์, วิสาหกิจชุมชนบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยเรื่อง การพัฒนาคุณค่าและจริยศาสตร์การพัฒนาของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จังหวัดนครราชสีมา มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาจริยศาสตร์ตะวันตกและตะวันออก 2) เพื่อศึกษาแนวคิดคุณค่าและจริยศาสตร์การประกอบอาชีพวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดนครราชสีมา และ 3) เพื่อวิเคราะห์คุณค่าทางและจริยศาสตร์ของวิสาหกิจชุมชนกับการประกอบอาชีพวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดนครราชสีมา เป็นการวิจัยแบบมีส่วนร่วม โดยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ
ผลการวิจัย พบว่า จริยศาสตร์ เป็นศาสตร์ว่าด้วยความดี ว่าด้วยความประพฤติหรือศาสตร์แห่งความประพฤติ ข้อที่ควรประพฤติปฏิบัติ อะไรควรเว้น อะไรควรทำ อะไรผิด อะไรถูก อะไรดี อะไร สำหรับจริยศาสตร์ตะวันออกที่ผู้วิจัยศึกษาได้แก่ พุทธจริยศาสตร์นั้นเป็นหลักเกณฑ์ทางจริยธรรมซึ่งท่านผู้รู้มีพระพุทธเจ้าเป็นต้นได้ทรงวางไว้ จริยศาสตร์ของพระพุทธศาสนาแบ่งออกเป็น 3 ระดับคือ พุทธจริยศาสตร์เบื้องต้นได้แก่ศีล 5 พุทธจริยศาสตร์ระดับกลาง กุศลกรรมบถ 10 พุทธจริยศาสตร์ระดับสูงหลักปฏิบัติเพื่อบรรลุธรรมระดับสูง อันเป็นอุดมคติชีวิตของมนุษย์คือ มรรคมีองค์ 8 หรือมัชฌิมาปฏิปทา ทางสายกลาง หลักจริยศาสตร์ตะวันตก ได้มีแนวคิดหลายกลุ่มแต่หลัก ๆ จริยศาสตร์ตะวันตกมีกลุ่มแนวคิดได้แก่ 1. สุุขนิยม (Hedonism) นักจริยศาสตร์ในสำนักนี้มีทรรศนะว่า ความสุขเป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่มนุษย์ควรแสวงหา 2. อสุขนิยม (Non-hedonism) มีทรรศนะตรงกันข้ามกับสุขนิยม คือมีทรรศนะว่าสิ่งที่มีค่าสูงสุดที่มนุษย์ควรแสวงหานั้นไม่ใช่ความสุข 3. มนุษย์นิยม มีความเชื่อว่า มนุษย์เป็นสิ่งหนึ่งในธรรมชาติ มีศักดิ์ศรีและมีความสามารถที่จะพัฒนาตัวเองโดยอาศัยเหตุผลและวิทยาศาสตร์4. ประโยชน์นิยม ที่ถือเอาประโยชน์สุขเป็นเกณฑ์ตัดสินความผิดถูก ชั่วดี กล่าวคือ การกระทำที่ก่อให้เกิดประโยชน์มากที่สุด 5. เอ็กซิสเทนเชียลลิสม์ มีหลักการสำคัญซึ่งเป็นหัวใจของปรัชญาสำนักนี้ ประการแรกคือ มุ่งให้ความสนใจเรื่องสภาพการมีอยู่ของมนุษย์ แนวคิดคุณค่าและจริยศาสตร์การประกอบอาชีพวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดนครราชสีมา เหตุผลหลักในการเห็นคุณค่าการประกอบอาชีพวิสาหกิจชุมชนคือ 1. ทำเพื่อเป็นการอนุรักษ์สิ่งที่บรรพบุรุษถ่ายทอดไว้ 2.ทำเพื่อประกอบอาชีพซึ่งเห็นว่าเป็นอาชีพที่สุจริตและเลี้ยงชีวิตได้ 3.ทำเพื่อสิ่งที่ตนเองรักและมีความสุข แนวทางการเสริมสร้างและพัฒนาของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจังหวัดนครราชสีมา ขั้นที่ 1 ขั้นพัฒนาแนวคิด ขั้นพัฒนาแนวคิดเป็นขั้นแรกที่จะต้องทำเพราะเป็นพื้นฐานหรือรากฐานที่สำคัญ ขั้นที่ 2 ขั้นสร้างแรงจูงใจและค่านิยมเพื่อเกิดความเข้มแข็ง การสร้างแรงจูงใจและค่านิยมก็เป็นสิ่งที่สำคัญในลำดับต่อมาเนื่องจากปัญหาที่พบจากการวิจัยจะเห็นได้ว่ามีวิสาหกิจชุมชนบางท่านรู้สึกเบื่อหน่ายในการประกอบอาชีพตลอดทั้งไม่เห็นความสำคัญของการประกอบอาชีพแบบดั้งเดิมตามวิถีชาวบ้าน โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่นที่ไม่เห็นความสำคัญของอาชีพวิสาหกิจชุมชน ขั้นที่ 3 ขั้นลงมือปฏิบัติตามหลักการ ขั้นลงมือปฏิบัติขั้นนี้เป็นขั้นสุดท้ายการลงมือปฏิบัติแบบได้ผลและเกิดการพัฒนาคุณค่าและจริยศาสตร์ได้อย่างมีประสิทธภาพ
References
กีรติ บุญเจือ. (2551). คู่มือจริยศาสตร์ตามหลักวิชาสากล. นนทบุรี : เซน ปริ้นติ้ง.
ชัยวัฒน์ อัตพัฒน์. (2550). จริยศาสตร์ (ethics). กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน. (2548). พระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ. (2548). กรุงเทพมหานคร : กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
รัชนี รูปหล่อ และคณะ. (2560). แนวทางการพัฒนาสู่ความยั่งยืนและเจริญเติบโตของวิสาหกิจชุมชน. วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร ฉบับพิเศษ การประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ครั้งที่ 5.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.