การส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุตามหลักพุทธธรรมในจังหวัดนครราชสีมา
คำสำคัญ:
สุขภาพ, ผู้สูงอายุ, หลักพุทธธรรมบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยเรื่อง การส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุตามหลักพุทธธรรมในจังหวัดนครราชสีมา มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดการส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุตามหลักพระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาวิธีการส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุในจังหวัดนครราชสีมา และ 3) เพื่อเสนอแนวทางส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุตามหลักพุทธธรรมในจังหวัดนครราชสีมา วิธีการดำเนินการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อศึกษาแนวคิดในการส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุตามหลักพุทธศาสนา ผู้วิจัยได้ใช้วิธีเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างไว้ คือ 1) ผู้ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มประชากรเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้สูงอายุ ในวัดป่าศรัทธารวม ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ที่มีอายุ ตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป และผู้มาร่วมกิจกรรมจำนวน 30 รูป/คน ดังนี้ เจ้าอาวาสวัดป่าศรัทธารวม จำนวน 1 รูปพระสงฆ์ จำนวน 6 รูป ผู้สูงอายุ จำนวน 15 คน อสมจำนวน 5 คน ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจำนวน 3 คน
ผลการศึกษา พบว่า สุขภาวะผู้สูงอายุ คือการมีสุขภาพของผู้สูงอายุมีความสมบูรณ์ทั้งกาย และจิตใจ และอยู่ในโลกแห่งความเป็นจริงได้ สุขภาวะดังกล่าวหมายถึง ผลเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายและจิตใจของผู้สูงอายุ ในด้านร่างกายของผู้สูงอายุส่วนใหญ่ประสบปัญหาด้วยโรคต่าง ๆ เป็นปกติของสภาพร่างกายอย่างไรก็ตามผลการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายมีผลต่อสุขภาวะทางจิตถ้าใจตได้รับการส่งเสริมอย่างถูกต้องตามหลักพุทธศาสนาผู้สูงอายุจักได้รับประโยชน์ทั้งสุขภาพร่างกายแข็งแรงและจิตใจได้สัมผัสธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา สอนให้ทำจิตบริสุทธิ์ให้รู้จักใช้สติและปัญญาจากการส่งเสริมสุขภาวะทางกาย ได้แก่การส่งเสริมสุขภาวะด้วยหลักไตรสิกขา คือศีลสมาธิและปัญญาเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต การรู้จักควบคุมการพัฒนาด้าน สังคม การพัฒนาด้านจิตใจ การบำเพ็ญประโยชน์ การปฏิบัติตนโดยยึดหลักคุณธรรมจริยธรรมและพัฒนาปัญญา องค์ความรู้ที่ได้ พบว่า การส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุตามหลักพุทธธรรมเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตทั้งทางกายและจิตใจต้องคำนึงถึงแนวทางที่จะส่งเสริมให้วัด กับผู้สูงอายุได้มีกิจกรรมร่วมกันในสถานที่วัดเพราะเป็นศูนย์รวมของการส่งเสริมพัฒนาสุขภาวะพร้อมทั้งได้นำหลักธรรมมาส่งเสริมให้เกิดการกระบวนการเรียนรู้ออกพัฒนาสุขภาวะกับหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
References
ปราณี ทองพิลา. การศึกษาพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, (2541) พยาบาลศาสตร์ (การพยาบาลผู้ใหญ่).
ประเวศ วสี. (2541). บนเส้นทางใหม่การส่งเสริมสุขภาพอภิวัฒน์ชีวิตและสังคม. กรุงเทพฯ : หมอชาว.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2550). การแพทย์แนวพุทธในพฤติกรรม. นัยประสานงานทางการแพทย์และสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข.
พิศมัย จันทรวิมล. (2551). นิยามศัพท์ส่งเสริมสุขภาพ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2549). สุขภาวะองค์รวมแนวพุทธ. กรุงเทพมหานคร: บริษัท โรงพิมพ์อักษรสัมพันธ์จำกัด.
ภัทรธิรา ผลงาม. (2550). การพัฒนารูปแบบกิจกรรมเพื่อส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุในประเทศไทยและญี่ปุ่น. มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.