การพัฒนาสินค้าและรูปแบบการบริการท่องเที่ยวของชุมชนปราสาทขอมในจังหวัดสุรินทร์
คำสำคัญ:
การผลิตสินค้า, การท่องเที่ยว, ชุมชนปราสาทขอม, จังหวัดสุรินทร์บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง “การพัฒนาสินค้าและรูปแบบการบริการท่องเที่ยวของชุมชนปราสาทขอมในจังหวัดสุรินทร์” มีวัตถุประสงค์ 3 ประเด็น คือ 1) เพื่อศึกษาต้นทุนทางสังคมและวัฒนธรรมของชุมชนปราสาทขอมในจังหวัดสุรินทร์ 2) เพื่อพัฒนาสินค้าของชุมชนปราสาทขอมในจังหวัดสุรินทร์ 3) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริการการท่องเที่ยวของชุมชนปราสาทขอมในจังหวัดสุรินทร์ โดยใช้รูปแบบการวิจัยแบบปฏิบัติการ (Action Research) และการออกแบบการวิจัยแบบพัฒนา (Research and Development) โดยศึกษาข้อมูลจากการศึกษาเอกสารวิชาการที่เกี่ยวข้อง และจากการสัมภาษณ์กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 198 รูป/คน และใช้วิธีการพรรณนาวิเคราะห์
ผลการวิจัย พบว่า 1) ต้นทุนทางสังคมและวัฒนธรรมของชุมชนปราสาทขอมในจังหวัดสุรินทร์ พบว่า : จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งเป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เป็นจังหวัดที่มีทุนทางสังคมทั้งมี 5 รูปแบบ คือ (1) จิตวิญญาณ: แบ่งออก 2 กลุ่มใหญ่ คือ (1.1) กลุ่มความเชื่อหรือศรัทธาในพระพุทธศาสนาเป็นฐาน (1.2) กลุ่มความเชื่อท้องถิ่นที่เป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน (2) ทุนทางปัญญา : ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงช้างหรือเรียกว่า คชศาสตร์, ความรู้เกี่ยวกับการสร้างปราสาทขอม, ความรู้ด้านการทำการเกษตร, ความรู้ด้านการวางผังเมือง, ความรู้ด้านการทำเครื่องปั่นดินเผ่า (3) ทรัพยากรมนุษย์: บรรพบุรุษกลุ่มชาติพันธ์ต่างๆ ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านของตนเอง จังหวัดสุรินทร์มีความหลากหลายทางชาติพันธ์ของเผ่าสุรินทร์ที่มี (4) ทุนทาง ทรัพยากรธรรมชาติ : มีที่ราบสำหรับปลูกข้าวหอมมะลิ มีแม่น้ำที่สำคัญไหลผ่าน คือ แม่น้ำมูล, แม่น้ำชี มีเทือกเขาพนมดง (5) ทุนโภคทรัพย์ คือ ปราสาทขอม ซึ่งเป็นมรดกที่บรรพบุรุษของชาวสุรินทร์ได้ร่วมกันสร้าง ทุนทางวัฒนธรรมของจังหวัดสุรินทร์ พบว่า สุรินทร์เป็นจังหวัดเก่าแก่ที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นทางศิลปวัฒนธรรมและวิถีชีวิต ระหว่าง พ.ศ. 2552-2562 และในส่วนของจังหวัดสุรินทร์นั้น มีภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่ได้รับการประกาศขึ้นบัญชี 9 รายการ ดังต่อไปนี้ คชศาสตร์ชาวกูย, เจรียง, ประเกือมสุรินทร์, ภาษาเขมรถิ่นไทยได้รับประกาศขึ้นบัญชีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมระดับชาติ ภาษากูย-กวย กะโน้บติงตอง รำตร๊ต และมะม๊วต 2) การพัฒนาสินค้าและรูปแบบการบริการการท่องเที่ยวของชุมชนปราสาทขอมในจังหวัดสุรินทร์ พบว่า จังหวัดสุรินทร์ มีภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่ได้รับการประกาศขึ้นบัญชี 9 รายการ คชศาสตร์ชาวกูย, เจรียง, กันตรีม ประเกือมสุรินทร์, ภาษาเขมรถิ่นไทย ภาษากูย-กวย กะโน้บติง รำตร๊ต และมะม๊วต 2) การพัฒนา สินค้าของชุมชนปราสาทขอมในจังหวัดสุรินทร์ คือ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีปราสาทขอมซึ่งเป็นทุนทางวัฒนธรรมที่มีอยู่ในชุมชนเป็นฐานคติทางความคิด โดยผู้วิจัยได้แบ่งผลิตภัณฑ์ เพื่อพัฒนาและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับทุนวัฒนธรรมปราสาทาขอม โดยแบ่งสินค้าใน 3 รูปแบบ คือ (1) ตราสัญลักษณ์สินค้า: ตราสัญลักษณ์สินค้าหรือโลโก้ (Logo) ของแต่ละชุมชมปราสาท โดยมีลวดลายจากปราสาทขอม ที่เป็นทุนทางวัฒนธรรมนำมาออกแบบเป็นตราสัญลักษณ์ (2) กล่องบรรจุผลิตภัณฑ์ผ้าไหม: ชน โดยใช้ฐานคติทุนทางวัฒนธรรม คือ องค์ปราสาทขอม เป็นต้นแบบการออกแบบ และ (3) แก้วน้ำลายปราสาทขอม: แก้วน้ำใส่แต่มีลวดลายปราสาทขอม ที่บ่งบอกถึงอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมอันเป็นทุนที่ทรงคุณค่า 3) การพัฒนารูปแบบการบริการการท่องเที่ยวของชุมชนปราสาทขอมในจังหวัดสุรินทร์ พบว่า การพัฒนา รูปแบบการบริการการท่องเที่ยวของชุมชนปราสาทขอมในจังหวัดสุรินทร์นั่น แบ่งรูปแบบการท่องเที่ยวออกเป็น 2 รูปแบบ คือ รูปแบบการท่องเที่ยวโดยชุมชนปราสาทขอม: รูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวโดยชุมชน 4) องค์ความรู้ที่ค้นพบ คือ รูปแบบการพัฒนาพัฒนาเชิงสร้างสรรค์ คือ “ปราสาทขอม-โมเดล หรือ Khmer Surin-Model” อันประกอบด้วย (1) K = Knowledge คือ จากภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่นานาชาติอย่างสร้างสรรค์ (2) H = Hospitality คือ การเป็นเจ้าของบ้านที่ดี พร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยวด้วยวิถีชุมชน (3) M = Morality คือ ยึดหลักสัมมาชีพในการดำเนินธุรกิจ (4) E = E-commerce คือ สร้างรูปแบบ/ช่องทางการค้าขายในโลกที่ไร้ขีดจำกัดในการเข้าถึง (5) R-Resolution คือ ความตั้งใจแน่วแน่ในตั้งการตั้งปณิธานเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น (6) S = Sincerity คือ ความจริงใจต่อลูกค้า และจริงจังในการประกอบการอย่างต่อเนื่อง (7) U = Unity คือ ความเป็นหนึ่งเดียว ความสามัคคีของคนในชุมชน (8) R = Responsibility คือ ความรับผิดชอบต่อต้นเอง สังคมและ สิ่งแวดล้อม (9) I = Internationalคือ สร้างจากภูมิปัญญาท้องถิ่นมุ่งสู่สากล และ (10) N = Noble คือ จากภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่ความเป็นอารยธรรมที่สากล
References
เกษราภรณ์ สุพรรณฝ่าย และคณะ. จิตรกรรมร่วมสมัยจากลวดลายสีสันผ้าไหมทอมือกลุ่มชาติพันธุ์ไทยเขมรจังหวัดสุรินทร์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์. ปีที่ 19 ฉบับที่ 2, 2017 : 129-140.
จารุวรรณ พึ่งเทียร. (2555). พุทธศิลป์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ทวีศักดิ์ ทองทิพย์ และคณะ. (2560). การศึกษาประวัติศาสตร์และเส้นทางการท่องเที่ยวทางศาสนาและวัฒนธรรมในอีสานใต้. รายงานการวิจัย. สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
บรรณ สวันตรัจฉ์. (2553). พงษาวดารเมืองสุรินทร์. พิมพ์ครั้งที่ 3. สุรินทร์: สำนักงานปลัดกระทรวง.วัฒนธรรม.
พระครูวัชรสุวรรณาทร และคณะ. (2562). การผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น: คุณค่าอัตลักษณ์และการสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยวัฒนธรรมชุนท้องถิ่น. รายงานการวิจัย. สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูสุจิตกิตติวัฒน์ และคณะ. (2562). นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ชุมชนโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น: กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชน กลุ่มเสื่อบ้านท่าแฉลม จังหวัดจันทบุรี. รายงานการวิจัย. สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาผดุงศักดิ์ เสสปุญฺโญ. (2561). นวัตกรรมการเรียนรู้แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาในล้านนา. รายงานการวิจัย. สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ภภพพล จันทร์วัฒนกุล (2560). 30 ปราสาทขอมในเมืองพระนคร. นนทบุรี: เมืองโบราณ.
สมเกียรติ โล่เพชรัตน์. (2549). พระพุทธรูปศิลปะสมัยอยุธยา ประวัติศาสตร์ชนชาติไทยกับปฎิมากรรมในพระพุทธศาสนา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งพับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).
สมาพร คล้ายวิเชียรและคณะ. (2550). แนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวหมู่บ้านช้างในอีสานใต้. รายงานการวิจัย. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).
สันติ เล็กสุขุม. (2547). ประวัติศาสตร์ศิลปะไทย. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.
สุพร ประเสริฐราชกิจ. (2537). รวมประวัติและลัญลักษณ์ 76 จังหวัด. พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเทพฯ: รวมสาส์น (1977) จำกัด.
สุริยา คลังฤทธิ์. อัตลักษณ์ภูมิปัญญาลวดลายผ้าไหมพื้นเมืองกลุ่มชาติพันธุ์เขมรเมืองสุรินทร์. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้. ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มิถุนายน 2562: 127-136.
อัษฎางค์ ชมดี. (2552). ร้อยเรื่อง เมืองสุรินทร์ (มาลัย 2). สุรินทร์: สำนักพิมพ์สุรินทร์สโมสร.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2022 วารสารวิจัยธรรมศึกษา

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.