แก้ปัญหาที่จุดเล็ก : การศึกษาเชิงวิเคราะห์ วิจักษ์ และวิธาน

ผู้แต่ง

  • เมธา หริมเทพาธิป มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ชัยโรจน์ นพเฉลิมโรจน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • วัชรารัศมิ์ สุนทรวนาเวศ ฌ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

แก้ปัญหาที่จุดเล็ก, หลักการทรงงาน, วิเคราะห์ วิจักษ์, วิธาน

บทคัดย่อ

   

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ วิจักษ์ และวิธานหลักการทรงงานข้อแก้ปัญหาที่จุดเล็ก วิธีการศึกษาเป็นแบบเชิงคุณภาพ โดยศึกษาค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับหลักการทรงงานในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการวิเคราะห์ พบว่า “จุดเล็ก” ในบริบทของการทำงาน คือ ส่วนประกอบของความสำเร็จที่เราวางไว้ แม้ว่าแต่ละองค์ประกอบจะเกิดขึ้นจากจุดเล็ก ๆ ที่เป็นองค์ประกอบย่อยมารวมกัน แต่ทุกองค์ประกอบนั้นล้วนสำคัญในหน้าที่แห่งตน หากองค์ประกอบส่วนใดส่วนหนึ่งเกิดความบกพร่องเสียหายไป ย่อมส่งผลต่อองค์กระกอบอื่น ๆ ตามไปด้วย 2. ผลการวิจักษ์ พบว่า การแก้ปัญหาที่จุดเล็กช่วยลดความเสี่ยงในการปฏิบัติงาน และได้มีโอกาสทบทวนรายละเอียดของประเด็นหลักและประเด็นรองในระดับโครงสร้างย่อย ส่งเสริมให้เกิดการคิดอย่างมีเหตุผล สร้างนิสัยความใส่ใจในรายละเอียด ช่วยลดความเสี่ยงในการรื้อทำลายโครงสร้างงานทั้งหมดโดยไม่จำเป็น 3. ผลการวิธาน พบว่า แนวทางการนำหลักการทรงงานข้อนี้ไปประยุกต์ใช้ อาจสามารถประยุกต์ใช้ได้ดังนี้ 1) วางใจไม่คาดหวัง 2) ถอดส่วนประกอบ และ 3) สำรวจจุดอ่อน นอกจากนี้ การแก้ปัญหาที่จุดเล็กยังมีประโยชน์ต่อการนำไปต่อยอดทางความคิดเพื่อสร้างนวัตกรรมในการแก้ปัญหาอื่น ๆ ต่อไปได้

References

ชัยโรจน์ นพเฉลิมโรจน์. (2558). “หลักคุณภาพในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริกับปรัชญาหลังนวยุค : การศึกษาเชิงวิเคราะห์ วิจักษ์ และวิธาน”. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

________. (2564). คิดอย่างไรให้ได้นวัตกรรม. กรุงเทพฯ : ม.ป.ท.

________. (2565). “การคิดนวัตกรรมด้วยหลักการทรงงานตามหลักปรัชญาหลังนวยุค”. วารสารการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน. พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยนเรศวร. ปีที่ 15 ฉบับที่ 2. (เมษายน – มิถุนายน).

เมธา หริมเทพาธิป. (2564). สังคมแห่งการแบ่งปันตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง : การศึกษาเชิงวิเคราะห์ วิจักษ์ และวิธาน. รายงานการวิจัย. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

________. (2566). “การศึกษาตามหลักปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง : วิเคราะห์จากหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (ตอนที่ 1)”. สถาบันความพอเพียง. สืบค้นเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2566 จาก http://porpeang.net/

สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. (2560). แนวคิดและทฤษฎีการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ : หจก.อรุณการพิมพ์.

เผยแพร่แล้ว

12/31/2023