ภูมิสังคม : การศึกษาเชิงวิเคราะห์ วิจักษ์ และวิธาน

ผู้แต่ง

  • เมธา หริมเทพาธิป มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ชัยโรจน์ นพเฉลิมโรจน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • วัชรารัศมิ์ สุนทรวนาเวศ ฌ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

ภูมิสังคม, หลักการทรงงาน, วิเคราะห์ วิจักษ์, วิธาน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ วิจักษ์ และวิธานหลักการทรงงานข้อภูมิสังคม วิธีการศึกษาเป็นแบบเชิงคุณภาพ โดยศึกษาค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับหลักการทรงงานในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการวิเคราะห์ พบว่า ภูมิสังคมสามารถแบ่งออกได้ 2 ส่วน คือ ภูมิศาสตร์ ได้แก่ ภูมิประเทศ ลักษณะของพื้นที่ และสังคมศาสตร์ในสังคมวิทยา ได้แก่ ลักษณะของประชากร พฤติกรรมการอยู่ร่วมกันของแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ในพื้นที่ต่าง ๆ 2. ผลการวิจักษ์ พบว่า ทำให้ทราบถึงจุดร่วมของแต่ละพื้นที่ และระหว่างพื้นที่ว่ามีความต้องการสิ่งใด ทำให้ทราบถึงจุดต่างของแต่ละพื้นที่ที่ควรมีทิศทางการพัฒนาให้สอดคล้องกับอัตลักษณ์ของแต่ละภูมิสังคม เกิดการส่งเสริมจุดแข็งของแต่ละพื้นที่สู่ความเป็นเลิศเพื่อประโยชน์สุขส่วนรวม และช่วยทำให้แต่ละภูมิสังคมเกิดความสมดุล ความพอดี เข้ากันได้กับวิถีการดำเนินชีวิตของคนซึ่งเป็นเหตุให้เกิดความสุขของคนในสังคมนั้น ๆ 3. ผลการวิธาน พบว่า แนวทางการนำหลักการทรงงานข้อนี้ไปประยุกต์ใช้ สามารถประยุกต์ใช้ได้ดังนี้ 1) สำรวจข้อมูลเชิงปริมาณและคุณภาพของสังคมนั้น ๆ 2) นำข้อมูลต่าง ๆ มาวิเคราะห์และสังเคราะห์ “แสวงหาจุดร่วม สงวนจุดต่างอย่างสร้างสรรค์” ในส่วนที่เป็นจุดร่วมนั้นให้ทุกคนนำมาปฏิบัติร่วมกันเพื่อคุณภาพชีวิตหรือความสุขมวลรวมของทุกคน

References

จรัส นวลนิ่ม, ผศ. (2540). การศึกษากับการพัฒนาประเทศ. โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

ชัยโรจน์ นพเฉลิมโรจน์. (2558). “หลักคุณภาพในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริกับปรัชญาหลังนวยุค : การศึกษาเชิงวิเคราะห์ วิจักษ์ และวิธาน”. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

________. (2564). คิดอย่างไรให้ได้นวัตกรรม. กรุงเทพฯ : ม.ป.ท.

________. (2565). “การคิดนวัตกรรมด้วยหลักการทรงงานตามหลักปรัชญาหลังนวยุค”. วารสารการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน. พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยนเรศวร. ปีที่ 15 ฉบับที่ 2. (เมษายน – มิถุนายน).

เมธา หริมเทพาธิป. (2564). สังคมแห่งการแบ่งปันตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง : การศึกษาเชิงวิเคราะห์ วิจักษ์ และวิธาน. รายงานการวิจัย. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

________. (2566). “การศึกษาตามหลักปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง : วิเคราะห์จากหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (ตอนที่ 1)”. สถาบันความพอเพียง. สืบค้นเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2566 จาก http://porpeang.net/

สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. (2560). แนวคิดและทฤษฎีการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ : หจก.อรุณการพิมพ์.

เผยแพร่แล้ว

12/31/2023