การจัดการเรียนการสอนตามหลักการไตรสิกขาตามทรรศนะปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง

ผู้แต่ง

  • ใจกลั่น นาวาบุญนิยม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • รวิช ตาแก้ว บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • กีรติ บุญเจือ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

วิธีการจัดการเรียนการสอน, ไตรสิกขา, ปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง

บทคัดย่อ

การจัดการเรียนการสอนตามหลักการไตรสิกขาเป็นการจัดการเรียนการสอนที่นำ อธิศีล  อธิจิต  อธิปัญญา มาใช้ในการจัดการสอน โดยจัดแผนการเรียนรู้ที่เริ่มต้นด้วย ศีล  การฝึกสมาธิ  และเรียกการเรียนรู้ความรู้ต่างๆ ว่า ปัญญา ซึ่งเป็นการใช้ไตรสิกขาตามแนวความคิดปรัชญานวยุคที่เชื่อและยอมรับวิธีคิดวิทยาศาสตร์ จึงทำให้หลักการไตรสิกขาที่นำมาใช้ มีความเคร่งครัดตามแบบแผน  มุ่งผลสัมฤทธิ์การเรียน ทำให้ผู้เรียนมุ่งเรียนเก่ง มุ่งแข่งขัน แต่ขาดความสุขในการเรียนรู้ หลักการของปรัชญาหลังนวยุคสายกลางเป็นไปเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต มีความยืนหยุ่น ผ่อนคลาย ยอมรับความคิดเห็นที่หลากหลาย หากนำหลักการไตรสิกขามาจัดการเรียนการสอนจะดำเนินการได้หรือไม่ การวิจัยนี้เป็นเชิงปรัชญามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการเรียนการสอนแบบไตรสิกขาตามทรรศนะปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง  ผลการวิจัยพบว่า หลักการไตรสิกขาตามทรรศนะปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง สามารถจำแนกความหมายไตรสิกขาได้คือ 1. อธิศีลสิกขา เป็นการฝึกอบรมตนให้มีศีลเป็นปกติสามารถจำแนกอธิศีลได้ 3 ระดับคือ ระดับกายคือ มีกายที่ปกติไม่ผิดในศีลและวินัย ระดับใจคือมีจิตใจสงบในขณะปฏิบัติศีลและ ระดับจิต คือมีจิตใจสงบเป็นปกติและมีความรู้ความเข้าใจว่าปฏิบัติศีลเพื่ออะไร 2. อธิจิตสิกขา เป็นการฝึกอบรมตนให้มีความสงบหรือมีสมาธิแล้วนำเอาสมาธิมาใช้ประโยชน์ในทางปัญญา จำแนกเป็น 3 ระดับคือ ระดับกายคือมีกายสงบ ระดับใจคือมีใจที่สงบ นิ่ง ว่าง และระดับจิต คือ มีความละเอียดความใส่ใจเข้าไปรู้อารมณ์ขณะประพฤติศีลแต่ละข้อ 3. อธิปัญญา การฝึกอบรมตนให้มีปัญญา จำแนกเป็น 3 ระดับคือ ระดับกายเป็นความฉลาดทางสมอง ได้แก่ความรู้ความจำของสมอง  ระดับใจเป็นความฉลาดทางอารมณ์ และระดับจิตเป็นความฉลาดทางด้านศีลธรรม รวมถึงคุณธรรมและจริยธรรม การจำแนกไตรสิกขาเพื่อการจัดการเรียนการสอนตามหลักไตรสิกขาตามกระบวนทรรศน์ปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง ผลการวิจัยสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับวัยของผู้เรียน ในการศึกษาระดับต้น ควรสอนไตรสิกขาเฉพาะระดับกาย ในระดับการศึกษาระดับที่สูงขึ้นสามารถใช้ระดับจิตใจได้ ซึ่งในการจัดการเรียนการสอนสำหรับกลุ่มที่มีความถนัดทางการคิดควรเริ่มด้วยอธิปัญญาสิกขา ส่วนผู้เรียนที่มีความถนัดทางด้านการปฏิบัติ สามารถเรียงลำดับใหม่ได้ตามความพร้อมและความสนใจของผู้เรียน ข้อเสนอแนะในการวิจัยควรนำหลักการไตรสิกขามาขยายความสู่การจัดการเรียนการสอนในแต่ละระดับชั้นเรียน

References

กีรติ บุญเจือ. (2546). ปรัชญาอรรถปริวรรตของมนุษยชาติ เล่ม 6 ในชุดปรัชญาและศาสนาเซนต์จอห์น. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น.

______. (2545). ปรัชญาหลังนวยุค แนวคิดเพื่อการศึกษาแผนใหม่. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ดวงกมล.

กุลิสรา จิตรชญาวณิช. (2563). พิมพ์ครั้งที่ 2. การจัดการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย

ทิศนา แขมมณี. (2563). พิมพ์ครั้งที่ 24. ศาสตร์การสอน.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พระธรรมปิฎก. (ป.อ. ปยุตโต). (2538) การศึกษาเพื่อสันติภาพ. กรุงเทพฯ: สหธรรมมิก.

ยุทธภัณฑ์ พินิจ, กีรติบุญเจือ และรวิช ตาแก้ว. (2564). จริยธรรมคริสเตียนกับปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง.วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(5), 157-170.

สมาคมผู้ปฏิบัติ. (2545). คั้นออกมาจากศีล. กรุงเทพฯ: ฟ้าอภัยจำกัด.

สัมมาสัมพุทธสาวก. (2526). สมาธิพุทธ. กรุงเทพฯ : มูลนิธิธรรมสันติ.

สำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. (2550). พระไตรปิฎก ประมวลคัมภีร์ และแหล่งค้นพุทธศาสตร์ ฉบับคอมพิวเตอร์ ( BUDSIR VI for Window ). CD-ROM.

IQ EQ MQ, สืบค้นเมื่อ ธันวาคม, 22, 2565, จาก hppts://www.trueplookpanya.com.

เผยแพร่แล้ว

12/31/2023