การวิเคราะห์การจัดการเรียนการสอนไตรสิกขาตามแนวคิดปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง

ผู้แต่ง

  • ใจกลั่น นาวาบุญนิยม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • รวิช ตาแก้ว บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • กีรติ บุญเจือ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

วิธีการจัดการเรียนการสอน, ไตรสิกขา, ปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง

บทคัดย่อ

การจัดการเรียนการสอนตามหลักไตรสิกขาที่ผ่านมาเป็นการนำคำว่า  ศีล  สมาธิ  ปัญญา  มาใช้ในการจัดการเรียนการสอน  มีวิธีการสอนที่ส่งเสริมการพัฒนาศีล  สมาธิและปัญญา  ปรัชญาหลังนวยุคสายกลางเป็นปรัชญาที่เน้นที่การพัฒนาคุณภาพชีวิตและเป็นปรัชญาที่เปิดใจกว้าง ยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่างหลากหลาย หากนำปรัชญาหลังนวยุคสายกลางมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนร่วมกับหลักการไตรสิกขา น่าจะเป็นประโยชน์ในการจัดการเรียนการสอนยิ่งขึ้น ผู้วิจัยจึงต้องการวิเคราะห์ความสอดคล้องของแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนของหลักการไตรสิกขากับปรัชญาดังกล่าว งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ  1) เพื่อวิเคราะห์แนวทางการจัดการเรียนการสอนตามหลักการไตรสิกขาที่สอดคล้องกับปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง  2) เพื่อประยุกต์ใช้ไตรสิกขาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง  การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปรัชญา (Philosophical research) โดยใช้วิธีการวิเคราะห์เอกสาร  (Document analysis) พิจารณาจำแนกหลักการไตรสิกขา วิธีการสอน แนวคิดเบื้องหลังการสอน และแนวคิดปรัชญาหลังนวยุคสายกลางที่เกี่ยวข้อง ผู้วิจัยพบว่าหลักการไตรสิกขาเมื่อนำมาการจัดการเรียนการสอนแล้ว  วิธีสอนตามหลักการไตรสิกขา มีแนวคิดเบื้องหลังที่สอดคล้องกับแนวคิดปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง ซึ่งสามารถจำแนกวิเคราะห์ตามองค์ประกอบของไตรสิกขาได้คือ การสอนศีลเพื่อพัฒนาคนให้เป็นปกติ อยู่รวมกันอย่างสงบสุข สอดคล้องกับการปรัชญาหลังนวยุคสายกลางเรื่องการเสริมสร้างสันติภาพ เอกภาพบนความหลากหลาย  การสอนสมาธิเพื่อความตั้งมั่นในความสงบใจ สอดคล้องกับปรัชญาหลังนวยุคสายกลางเรื่อง การเกิดสันติภาพภายใน การสอนปัญญาเพื่อได้ความรู้ ความทรงจำ ความเข้าใจ และสามารถเลือกตัดสินใจเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆโดยใช้หลักธรรมและคุณธรรมในการแก้ปัญหา สอดคล้องปรัชญาหลังนวยุคสายกลางคือความไม่ยึดมั่นถือมั่น เปิดรับความคิดต่างๆด้วยใจเปิดกว้าง และแสวงหาความรู้และคำตอบเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต  การประยุกต์ใช้ไตรสิกขาเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้เรียนโดยผ่านกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ วิจักษ์  และวิธาน  พัฒนาคุณภาพชีวิตของครูผู้สอนผ่านกิจกรรมการอบรมครู ผู้วิจัยได้สรุปความเข้าใจในการนำหลักการไตรสิกขามาใช้ร่วมกับปรัชญาหลังนวยุคสายกลางเป็นรูปแบบของตาราง เพื่อความสะดวกในการนำไปประยุกต์ใช้ต่อไป

References

กีรติ บุญเจือ. (2545). ปรัชญาหลังนวยุคแนวคิดเพื่อการศึกษาแผนใหม่. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ ดวงกมล.

กุลิสรา จิตรชญาวณิช. (2563). พิมพ์ครั้งที่ 2. การจัดการเรียนรู้. กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย

บรรพตี รำพึงนิตย์ม, รวิช ตาแก้ว และกีรติบุญเจือ. (2563). การพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลัก ปรัชญาปารมีตาในทรรศนะปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา. 10(4).

พจนา มาโนช. (2562). มรดกเชิงพลวัตผ่านกระบวนทรรศน์ทั้งห้ากับการแก้ไจทุจริต : การศึกษาเชิงวิเคราะห์ วิจักษ์ และวิธาน. ปริญญาดุษฎีบัณฑิต : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

สมาคมผู้ปฏิบัติ. (2545). คั้นออกมาจากศีล. กรุงเทพฯ: ฟ้าอภัยจำกัด

สำนักทดสอบทางการศึกษา สพฐ.. (2555). คู่มือประเมินสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

สำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. พระไตรปิฎก ประมวลคัมภีร์ และแหล่งค้นพุทธศาสตร์ ฉบับคอมพิวเตอร์ ( BUDSIR VI for Window ). CD-ROM, 2550.

เผยแพร่แล้ว

12/31/2023