การอำนวยการของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2

ผู้แต่ง

  • ปาริชาต ปุงคานนท์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การอำนวยการ, ผู้บริหาร, ประสิทธิผล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาการอำนวยการของผู้บริหาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 2) ศึกษาประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 และ 3) ศึกษาการอำนวยการของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครปฐม เขต 2 กลุ่มตัวอย่างผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย 1) ผู้บริหารสถานศึกษา 2) หัวหน้าฝ่าย และ3) ครู จำนวน 328 คน เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการอำนวยการของผู้บริหาร และประสิทธิผลของโรงเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมุติฐาน ใช้การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise multiple regression analysis)

ผลการวิจัย พบว่า

1. การอำนวยการของผู้บริหารสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และรายด้านอยู่ในระดับมาก และปานกลาง เรียงจากมากไปหาน้อย ดังนี้ คือ ด้านการติดต่อสื่อสาร ด้านการเป็นผู้นำ และด้านการจูงใจ ตามลำดับ

2. ประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านอยู่ระดับมากและมากที่สุด เรียงจากมากไปหาน้อย ดังนี้ คือ ด้านความสามารถในการพัฒนานักเรียนให้มีทัศนคติทางบวก ด้านความสามารถในการแก้ปัญหาภายในโรงเรียน ด้านความสามารถในการปรับเปลี่ยน และพัฒนาสถานศึกษา และด้านความสามารถในการผลิตนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ตามลำดับ

3. การอำนวยการของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครปฐม เขต 2 โดยภาพรวม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สามารถทำนายประสิทธิผลในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 ได้ร้อยละ 84.6

References

จริญญา ดวงเกิด. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยพะเยา. สารนิพนธ์ ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบายสาธารณะ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยพะเยา.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแหงชาติ พุทธศักราช 2542 และแกไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2545. สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.

กนกอร ยศไพบูลย์. (2546). ภาวะผู้นำทางการศึกษา. ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

นงนุช วงษ์สุวรรณ. (2544). การบริหารทรัพยากรมนุษย์, จันทบุรี: สถาบันราชภัฏรำไพพรรณี.

บรรยงค์ โตจินดา. (2542). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ: อมรการพิมพ์.

บรรยงค์ โตจินดา. (2550). การบริหารงานบุคคล. กรุงเทพฯ: อมรการพิมพ์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสาหรับการวิจัย เล่ม 1 (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

พัธรา นักรำ. (2550). กลยุทธ์การสื่อสารที่ใช้ในการบริหารการเปลี่ยนแปลงของธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน). วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประชาสัมพันธ์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รักเกียรติ หงส์ทอง. (2559). ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ในบริบทการนำการเปลี่ยนแปลง. วารสารมนุษยสังคม ปริทัศน์, 18(2)

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2548). ผู้บริหารโรงเรียน: สามมิติการพัฒนาวิชาชีพสู่ความเป็นผู้บริหารที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: ทิพย์วิสุทธิ์.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขนพนฐาน. (2548). การศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหารเกี่ยวกับแนวโน้มการจัดการศึกษาที่มีประสิทธิภาพตามหลักสูตรการศึกษา ขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544. รายงานการวิจัย. กรุงเทพฯ: ร.ส.พ.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3).

McCurtain, B. L. (1989). Elementary school principle competencies and school Effectiveness instructional staff perception. Dissertation Abstracts International,18(1).

เผยแพร่แล้ว

06/27/2024