วิเคราะห์วาทกรรม “ทำดีได้ดีมีที่ไหน ทำชั่วได้ดีมีถมไป” ด้วยหลักกาลามสูตร
คำสำคัญ:
วาทกรรม, ทำดีได้ดีมีที่ไหน, ทำชั่วได้ดีมีถมไปบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์วาทกรรม “ทำดีได้ดีมีที่ไหน ทำชั่วได้ดีมีถมไป” ด้วยหลักกาลามสูตร วิธีการศึกษาเป็นแบบเชิงคุณภาพเชิงปรัชญา โดยศึกษาค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลจากพระไตรปิฎก เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้ที่เชื่อว่า “ทำดีได้ดีมีที่ไหน ทำชั่วได้ดีมีถมไป” นั้น ตีความคำว่าดีในความหมายของผลประโยชน์เชิงวัตถุและการตอบสนองทางอารมณ์เป็นหลัก 2. คำว่า ทำดีได้ดี ในทางพุทธปรัชญานั้น หมายถึง ดีในทางกุศลจิต ไม่ใช่ดีเชิงวัตถุหรือการตอบสนองทางอารมณ์ของกิเลส 3. ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นจริง ส่วนทำดีได้ดีมีที่ไหน ทำชั่วได้ดีมีถมไป เป็นเพียงวาทกรรมเชิงระบายทางอารมณ์ที่ไม่สมหวังจากความคาดหวังในเรื่องผลผลประโยชน์เชิงวัตถุและการตอบสนองทางอารมณ์เท่านั้น
References
กระทรวงศึกษาธิการ, กรมการศาสนา. (2521). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2566). ผลวิจัย มจร พบชาวไทยเชื่อทุจริตลดทอนกรรมได้ด้วยการทำบุญบริจาค. สืบค้นเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2566. สืบค้นจาก https://www.mcu.ac.th/news/detail/9255
เมธา หริมเทพาธิป, ผศ.ดร. (2566). เอกสารประกอบการสอนรายวิชาปรัชญาและจริยศาสตร์หลังนวยุค (PHE 9104). สาขาปรัชญาและจริยศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
พระภาวนา วิริยะคุณ (2566). “จริงหรือ ทำดีได้ดีมีที่ไหน ทำชั่วได้ดีมีถมไป”. สืบค้นเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2566. สืบค้นจาก https://www.kalyanamitra.org/u-ni-boon/aug47/c23.htm
นัฏกร อาชะวะบูล. (2545). “ศึกษาหลักกรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาทที่ปรากฏในละครโทรทัศน์ : เฉพาะกรณีเรื่อง เจ้ากรรมนายเวร”. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยธรรมศึกษา

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.